รัฐบาลจีนมีแผนทำลายล้างองค์ทะไลลามะ เสียงสะท้อนจาก....พระเกเช ดัมดุล นัมเกียล

รัฐบาลจีนมีแผนทำลายล้างองค์ทะไลลามะ เสียงสะท้อนจาก....พระเกเช ดัมดุล นัมเกียล

 

 

 

 

 

 


เรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง   ภาพ :  ประเสริฐ  เทพศรี

 

รัฐบาลจีนมีแผนทำลายล้างองค์ทะไลลามะ

เสียงสะท้อนจาก....พระเกเช ดัมดุล นัมเกียล

 

พระเกเช ดัมดุล นัมเกียล พระอาจารย์ชาวทิเบตจากสถาบันกลางทิเบตศึกษาขั้นสูง (ก่อตั้งโดยองค์ทะไล ลามะ) ณ เมืองสารนาถ ประเทศอินเดีย โดยเดินทางมาบรรยาย พุทธศาสนาสายวัชรยาน ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ให้กับ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "ความเข้าใจเรื่องศูนยตาและอิทัปปัจจยตาในพุทธศาสนาสายวัชรยาน" และภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม เรื่อง " ปณิธานโพธิสัตว์ในยุคสมัยปัจจุบัน"ได้ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ พระพุทธศาสนาในธิเบต พร้อมบอกเล่าถึง สงครามกลางเมือง (The Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีน และพรรคก๊กมินตั๋ง สิ้นสุดลงในปี พ.ศ.๒๔๙๒ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยจบลงด้วยการที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน

 

นอกจากนี้ พระเกเช ดัมดุล นัมเกียล ในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๒ เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การปกครองในสมัยของเหมานั้น เข้มงวดและกวดขัน แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของประชาชน และเป็นที่มาของการต้องการเข้าไปยึดครองธิเบตตั้งแต่บัดนั้น จนวันนี้รัฐบาลจีนกำลังทำลายล้างองค์ทะไลลามะ

 

-สถานการณ์พุทธศาสนาในธิเบตตอนนี้เป็นอย่างไรครับ?

ศาสนาพุทธในธิเบตคนภายนอกคนทั่วโลกอาจมองว่าดีขึ้น แต่ถ้ามองกันภายในธิเบตศาสนาพุทธยังยังแย่มาก เนื่องจากรัฐบาลจีนส่งเสริมให้สร้างวัดในธิเบตขึ้นมาใหม่ก็จริง แต่รัฐบาลจีนไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัด เพียงแค่ใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว กีดกันไม่ให้มีการเรียนหรือศึกษาพระธรรม พร้อมออกคำสั่งว่า วัดหนึ่งมีพระสงฆ์จำวัดได้กี่องค์เท่านั้น และยังมีการควบคุมการทำกิจกรรมทางศาสนา เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลจีนยังได้ส่งทหารจีนเข้าไปในธิเบต เพื่อล้างสมองชาวธิเบตให้ต่อต้านองค์ทะไลลามะ

 

-ตรงนี้มีการต่อต้านรุนแรงแค่ไหน?

นอกจากทหารจีนแล้วยังมีพลเรือนของจีนได้เข้าไปรวบรวมพระตามวัดต่างๆ มารวมกันแล้วให้พูดต่อต้าน สร้างบรรยากาศให้เกลียดชัง องค์ทะไลลามะ การกระทำเช่นนี้ทำให้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งที่ไม่ยอมพูดต่อต้าน ในที่สุดก็ได้ฆ่าตัวตาย วันนี้อาตมาอยากบอกว่า คนทั่วโลกอาจมองว่ารัฐบาลจีนเข้าไปแก้ปัญหาในธิเบตไปในทิศทางดีกว่าในอดีตนั้น ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนจัดฉากสร้างภาพแทบเท่านั้น เพราะจริงๆ รัฐบาลจีนต้องการทำลายล้างองค์ทะไลลามะ

 

พระราชวังโบตาลา และลาซา เกี่ยวกับศาสนาพุทธเหล่านี้ ที่รัฐบาลจีนทำไปก็เพื่อต้องการเงินตราต่างประเทศ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเท่านั้น ขณะเดียวรัฐบาลจีนยังส่งคนให้มาสอดส่องติดตามนักท่องเที่ยว สกัดไม่ให้มีการศึกษาพระธรรม ขนาดลามะรูปที่เชื่อกันว่ากลับชาติมาเกิด ระลึกชาติได้ ที่รองจากท่านองค์ทะไลลามะตอนนี้ก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน เพราะสมัยที่อพยพท่านไม่ได้หนีตามออกมา รัฐบาลจีนพยายามใช้ท่านทุกอย่างเพื่อหวังผลทางการเมือง เมื่อท่านไม่ยอมก็จับขังคุก จนบัดนี้ทุกคนก็ไม่รู้ว่าชะตาชีวิตของท่านจบอย่างไร เพราะบางคนบอกว่าท่านถูกวางยาพิษที่ไม่ยอมจำนนให้กับรัฐบาลจีน

 

-วันนี้ธิเบตยังถูกต่อต้านจากรัฐบาลจีน ท่านองค์ทะไล ลามะ ทรงตรัสไว้อย่างไรบ้าง?

ท่าน องค์ทะไล ลามะ ได้ยืนยันในเรื่องของ การเดินสายกลาง ทางสายกลางในที่นี้ทั้งจีนและธิเบตต่างก็จะได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ท่านได้เสนอแนวทางที่เรียกร้องก็คือ ขอยกเลิกที่จะเป็นประเทศอิสระ เพียงแต่เรียกร้องขอเป็นประเทศในการปกครองตัวเองอย่างสมบูรณ์ อยู่ในประเทศจีน โดยที่กิจการด้านต่างประเทศก็ยังอยู่กับอำนาจของรัฐบาลจีน

ส่วนภายในธิเบตก็ให้ชาวธิเบตปกครองกันอย่างอิสระภาพ ตัดสินใจเองทุกอย่าง ซึ่งท่าน องค์ทะไล ลามะ ได้เสนอเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบจากจีนเป็นที่น่าพอใจสักเท่าไหร่ คำเรียกร้องตรงนี้ถือเป็นคำยืนยันยึดมั่นของชาวธิเบต ขณะเดียวกันชุมชนในธิเบตเอง ก็ยังมีกลุ่มองค์กรเอกชน พวกเอ็นจีโอ แล้วก็เป็นขบวนการเยาวชนที่ร่วมเรียกร้องให้ธิเบตเป็นการปกครองตนเองอย่างอิสระ

 

-สิ่งที่ท่าน องค์ทะไล ลามะ เรียกร้องคิดว่าจะใช้เวลาอีกนานไหม?

อาตมาคิดว่าขึ้นอยู่กับมุมมอง เพราะว่า มุมมองจากนอกธิเบตเป็นเหมือนผู้ลี้ภัยอยู่ตอนนี้ ก็รู้สึกว่ายังมีความหวัง ยังมีชีวิตชีวาที่จะขับเคลื่อนข้อเรียกร้องเหล่านี้ต่อไปได้ ซึ่งเมื่อครั้งออกมาตั้งมั่นอยู่ที่อินเดีย หลายๆ คนก็วิจารณ์กันว่า วันหนึ่งเรื่องธิเบตจะต้องถูกลืม หรือสาบสูญหายไปอย่างแน่นอน แต่ปรากฎว่าได้รับความช่วยเหลือ และได้รับความสนใจจากชาวโลก ทำให้อาตมามีความรู้สึกว่าการเรียกร้องของชาวธิเบตที่อยู่นอกประเทศจีนยังคงมีความหวังว่า ข้อเรียกร้องจะได้การยินยอมจากจีน

วันนี้หากมองย้อนกลับไปมองธิเบตที่อยู่ในเมืองจีน ค่อนข้างจากโศกเศร้าและหดหู่มาก เนื่องจาก จีนได้ทำทุกวิถีทางที่จะเข้ายึดครองธิเบต ล่าสุดได้ตัดทางรถไฟเข้าไป ซึ่งการตัดทางรถไฟเป็นที่เปิดเผยรู้กันดีอยู่แล้วว่าเพื่ออะไร จริงๆ ก็เพื่อที่ต้องการขนส่งคน เพราะจีนมีประชากรเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลจีนต้องการโยกย้ายคนให้มาอยู่ในธิเบตที่อุดมไปด้วยป่าธรรมชาติ ทำให้วันนี้คนธิเบตจึงเป็นคนส่วนน้อยในดินแดนของตัวเอง ตรงนี้เขาได้ถูกคนจีนเข้าไปเจือจางกันเยอะ ดังนั้น ประเทศธิเบตจะสูญหายไปไหม ในส่วนที่อยู่ในเมืองจีนเองก็กำลังเร่งกำจัดคนเหล่านี้ ไม่แตกต่างจากการกำจัดชาวมองโกเลียในอดีต

 

-แสดงว่าหากชาวธิเบตไม่ออกมาเรียกร้อง วันหนึ่งธิเบตอาจสูญหาย?

ใช่! อาตมาอยากบอกว่า ถ้าให้มองจากภายนอกธิเบตเรายังมีความหวังว่า ประเทศธิเบตจะกลับคืนมา จะช้าจะเร็วจะได้ประเทศคืน แต่ถ้ามองในตัวธิเบตเองรู้สึกว่าถ้าไม่ได้ทำอะไรตอนนี้ เราก็จะไม่มีธิเบตอีกแล้ว ในที่สุดชาวธิเบตก็จะถูกจีนกลืนไปในที่สุด

-สาเหตุที่จีนต้องการครอบครองธิเบต เพราะอะไร?

แรกเริ่มของปัญหาของการต้องการที่จะยึดครองธิเบตมาตั้งแต่รัฐบาล เหมาเจ๋อตุง ประเด็นแรก เหมาเจ๋อตุงเองก็ไม่เชื่อเรื่องศาสนา เขาไม่นับถือศาสนา และไม่สนใจในวัฒนธรรมเก่าๆทั้งสิ้น ความเป็นพุทธหรือไม่ก็ไม่ได้อยู่ในความคิดของ เหมาเจ๋อตุง เหมาเจ๋อตุง เองมีความตั้งใจที่จะขยายอาณาจักรของจีนออกไป โดยต้องการที่จะยึดครองประเทศที่อยู่รอบๆจีน เหมาเจ๋อตุง จึงเริ่มต้นจากธิเบต เพราะธิเบตอยู่บนที่สูง ถ้ามองในยุทธศาสตร์เป็นพื้นที่สำคัญที่จะบุกยึดประเทศเพื่อนบ้านได้ ในปี ๑๙๖๒ ก็ได้มีการลองไปบุกอินเดียด้วย

-นอกจากนี้อยากทราบว่าพระอาจารย์ทำไมถึงบวชครับ?

ตอนนี้อาตมาอายุ ๔๖ ปี(๑๙๕๙) บวชมาเป็นพรรษาที่ ๒๗ แล้ว ก่อนหน้านี้อาตมาเกิดที่ธิเบตใกล้กับภูเขาไกรลาสที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ของชาวธิเบต พอเกิดได้ ๓ เดือน ก็ต้องอพยพเข้ามาในอินเดีย พอโตก็ได้ไปเรียนในโรงเรียนของผู้อพยพตามปกติที่ชิมลา เป็นเมืองภูเขาทางเหนือของประเทศอินเดีย จนถึงอายุ ๑๑ ปี แล้วต้องการที่อยากจะได้เล่าเรียนต่อจึงได้บวชเป็นเณรเป็นเวลา ๘ ปี และได้อุปสมบทโดยท่านองค์ทะไล ลามะ เป็นผู้บวชให้

 

-พระอาจารย์เริ่มเรียนตอนไหน?

หลังจากเข้าบวชได้ไปเรียนในโรงเรียนพระพุทธศาสนาแห่งแรกคือ สถาบันกลางทิเบตศึกษาชั้นสูง สูง (ก่อตั้งโดยองค์ทะไล ลามะ) ณ เมืองสารนาถ ประเทศอินเดีย ที่สถานศึกษาที่ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ของธิเบตได้เรียนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากรัฐบาลอินเดียให้งบประมาณ ทำให้ปัจจุบันอาตมาทำหน้าที่เป็นอาจารย์อยู่นี่นี้ด้วย สถาบันแห่งนี้เปิดโอกาสให้เฉพาะชาวธิเบตไม่ว่าจะเป็นพระ แม่ชี ฆราวาส ได้มาเรียนรู้เรื่องวรรณคดีของธิเบต รวมทั้งได้มีการสอนเศรษฐศาสตร์ พุทธศาสนา ปรัชญา ภาษาสันสฤต ภาษาธิเบต พร้อมการเรียนดาราศาสตร์ของธิเบต เรียนจนจบ ดร.ได้ และยังมีนักเรียน ๕ มหาวิทยาลัยในอเมริกา จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศาสนาพุทธ รวมทั้งนักศึกษา นักวิจัยในประเทศออสเตรเลียก็มาศึกษาศาสนาพุทธด้วย

 

-ระยะแรกของการบวชเป็นอย่างไร?

๓ ปีแรกของการบวช อาตมารู้สึกสับสน ระหว่างโลกธรรม กับโลกของฆราวาสจะเริ่มอย่างไรดี ทำให้รากฐานของธรรมยังไม่มั่นคง แต่พอได้ศึกษาพระธรรมนานวันขึ้นทำให้หยั่งลึกในธรรมะมากขึ้น ทำให้จิตใจสงบ นิ่งขึ้น ตรงนั้นก็ทำให้เชื่อมั่นในเส้นทางธรรมมากขึ้น

-ทำไม

ตรงนี้ถือเป็นพระธรรมวินัยของ พุทธศาสนาสายวัชรยาน เพราะเมื่อเวลาตั้งใจที่จะบวชตลอดชีวิต ก็ต้องบวชตลอดชีวิต แต่ก็มีบางกรณีเหมือนกันที่ยกเว้นในพระธรรมวินัย ที่ระบุว่า คนใดที่ถือศีลของพระได้ครบถ้วนไม่มีด่างพร้อย หรือไม่เคยบกพร่อง เมื่อมีเหตุสำคัญ หรือมีกรณีสำคัญจริงๆ หรือต้องทำเพื่อพระพุทธศาสนาเพราะความอ่อนแอของตัวเอง ก็สามารถคืนศีลบริสุทธิ์ทั้งหมดให้ครูบาอาจารย์ไป หากวันหนึ่งพร้อมที่จะกลับเข้ามาก็สามารถมารับศีลดังกล่าวกลับเข้ามาใหม่ได้ และการคืนไปพร้อมรับกลับสามารถทำได้ถึง ๗ ครั้ง ในพระธรรมวินัยได้ระบุไว้ว่าทำได้ ตามเหตุผลสมควร แต่จริงๆ ในทางปฏิบัติเขาจะไม่ทำกัน คือน้อยมาก เพราะสังคมเขาไม่ค่อยยอมรับกัน

 

-ครั้งแรกมาบรรยายธรรมในประเทศไทยอยากบอกอะไรชาวพุทธทั่วโลก?

ส่วนตัวเป็นคนที่มีความประทับใจในผลงาน ของ ท่านอาจารย์ ส.ศิวลักษณ์ ที่พยายามเอาพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน และชีวิตประจำวัน ซึ่งจริงๆ แล้วพระพุทธศาสนาแบบธิเบต หรือพระพุทธศาสนาแบบใดก็ตาม สะระสำคัญคือต้องการกลับนำหลักพระพุทธศาาสนามาใช้กับชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้ไม่ใช่วิถีชีวิตปักเจกชนเท่านั้นที่จะต้องนำพระพุทธศาสนาเข้ามา รวมไปถึงบรรษัท ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องใช้พระพุทธศาสนาให้มีจิตวิญญาณอยู่ในใจตัวเองด้วยไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม

วันนี้ตัวศาสนาจะต้องกลับเข้ามามีบทบาท มีอิทธิพลสำคัญกับสังคมมนุษย์ จริงๆ พระพุทธศาสนาก็เหมือนกับศาสนาอื่นเช่นกัน ที่จะนำศาสนาเข้ามาประสานกับวิถีชีวิตในทุกมุมมองไม่ว่าจะเป็นอาชีพธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งการทำสงครามตอนนี้ คงต้องมีหัวใจกันบ้าง เพื่อทำให้โลกเราวันนี้มีอนาคตต่อไปในวันข้างหน้า ไม่เช่นนั้นเราจะอยู่กันไม่ได้

 

-มาถึงวันนี้แล้ว พระอาจารย์ยังอยากทำอะไรอีก?

อาตมาเองอยากศึกษาธรรมะใน ๓ ขั้นตอน อันแรกคือการศึกษา อันที่สอง คือ การใคร่ครวญแบบวิปัสสนากรรมฐาน และสามจะพยายามปฏิบัติธรรมให้มาอยู่ในเนื้อในตัว เมื่อพื้นฐานธรรมทั้ง ๓ แข็งแกร่งแล้วก็สามารถไปช่วยคนอื่น และช่วยเหลือสังคมได้ อาตมาอยากมีส่วนร่วมกับสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ตั้งความหวังไว้สูง อาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติเกี่ยวกับธุรกิจ ปฏิวัติในนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงได้จริงและปฏิบัติได้ ถ้าอาตมาปฏิบัติธรรมเฉพาะส่วนตัว แยกออกไปจากโลก โลกก็ยังวิ่งไปหมุนไปเรื่อยๆ แต่อาตมาอยากนำธรรมเข้าไปเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริง

 

-สุดท้ายพระอาจารย์อยากให้ธรรมะข้อไหนกับผู้อ่าน

อาตมาอยากจะเน้นว่า ประเด็นแรก ทุกสิ่งทุกอย่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่หลายคนไม่ได้ใส่ใจ ว่า การพูด การคิด และการกระทำมันเชื่อมโยงกัน เราทำกับคนอื่นไว้อย่างไร วันหนึ่งก็ต้องมีผลกระทบกับเรา ดังนั้น คนเราไม่ว่าจะคิด จะพูด หรือทำอะไรต้องให้ถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งด้วย เพราะไม่มีอะไรที่จะหลีกหนีขอบเขตของความเชื่อมโยงของกันและกันได้

ประเด็นสอง พยายามทำความเข้าใจว่า สรรพสิ่งทั้งหลายต้องการความสุขไม่ได้ต้องการความทุกข์ แม้ว่าการแสวงหาความสุขแตกต่างกัน บางคนอาจทำอะไรที่ผิดศีลให้ได้มาซึ่งความสุข แต่ว่าความคิดด้วยพื้นฐาน คนต้องการความสุข โดยไม่ต้องการความทุกข์ ดังนั้น จึงอยากให้ทุกคนใคร่ครวญและให้ความสำคัญกับสรรพสิ่งที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน

"คนทั่วโลกอาจมองว่ารัฐบาลจีนเข้าไปแก้ปัญหาในธิเบตไปในทิศทางดีกว่าในอดีตนั้น ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนจัดฉากสร้างภาพ"

 

องค์ทะไลลามะประมุขแห่งประชาชน และคณะสงฆ์ธิเบต

องค์ทะไลลามะประสูติ

เริ่มการศึกษา เมื่อชนมายุได้ ๖ พรรษา ทรงสอบมหาวิทยาลัย เมื่อทรงพรรษาได้ ๒๔ และเมื่ออายุได้ ๒๕ พรรษา ทรงจบปริญญาเอก ทางปรัชญาของธิเบต ชื่อ เกเช ลารามปา (Geshe Lharampa Degree) ทรงได้รับตำแหน่ง และอำนาจทางการเมือง อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้นำประมุขของชาติ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๕๐

หลังจากที่ กองทหารจีน ได้บุกเข้าโจมตีธิเบต พระองค์ได้เดินทาง ไปปักกิ่งในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ (พ.ศ. ๒๔๙๗) เพื่อเจรจาสันติภาพ กับเหมา เจ๋อ ตุง และผู้นำอื่น ๆ ของประเทศจีน เช่น โจว เอินไหล และ เติ้ง เสี่ยว ผิง ๒ ปี ถัดมาได้เดินทาง ไปอินเดียเพื่อเข้าร่วมงาน ฉลอง "๒๕๐๐ ปี พุทธชยันตี" และได้ปรึกษา กับนายกรัฐมนตรีเนรู ถึงสถานการณ์ทิเบต ที่เลวร้ายลง

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ.๒๕๐๒) ได้เกิด การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ทิเบต ที่ลาซา เมืองหลวงของธิเบต ผู้ประท้วงชาวธิเบต จำนวนมาก ถูกกองทหารจีน จับกุมและสังหาร องค์ทะไล ลามะได้เดินทางลี้ภัย ไปประเทศอินเดีย โดยมีชาวทิเบต ประมาณ ๘๐,๐๐๐ คนติดตาม พระองค์ไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒) พระองค์ได้พำนักอาศัย ที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ปัจจุบัน พระองค์มีพระชนมายุได้ ๗๐ พรรษา

ทะไลลามะ หรือทะไล ลามะ คือพระสงฆ์ ผู้เป็นผู้นำสูงสุดของชาวธิเบต ฐานะทางบ้านเมือง เท่ากับตำแหน่งในเมืองไทยเรา คือ พระเจ้าแผ่นดิน ฐานะทางศาสนา เท่ากับตำแหน่งในเมืองไทยเรา คือตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช คณะสงฆ์ธิเบต แม้จะแบ่งเป็น ๔ กลุ่มใหญ่ คือ

๑.นิกายณยิงมาปา หรือนิกายหมวกแดง 
๒.นิกายคากิว มีผู้สืบทอดที่โด่งดังคือโยคีมิลาเรปะ 
๓.นิกายสักยะ หรือนิกายหลายสี
๔.นิกายเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง เป็นนิกายที่องค์ทะไล ลามะ เป็นผู้นำ

อย่างไรก็ตาม คณะสงฆ์นิกายอื่น ๆ ก็เคารพ และนับถือพระองค์ ในฐานะผู้นำทางศาสนาด้วย และประชาชนทั่วไปสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณสุมาลัย/คุณลภาพรรณ ศุภมันตา โทรศัพท์ ๐๙-๔๕๑-๙๖๑๙, ๐๙-๑๕๐-๘๐๘๔ อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เว็บไซต์ http://www.semsikkha.org

เมื่อวันที่ ๖ ก.ค. ค.ศ.๑๙๓๕ (พ.ศ. ๒๔๗๘) ที่ "ตักเซอร์" (Taktser) หมู่บ้านเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของธิเบต และทรงถูกค้นพบ ด้วยวิธีการ ตามประเพณีของธิเบต เมื่ออายุได้ ๒ พรรษากว่า ว่าเป็นองค์ทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ กลับชาติมาประสูติ พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นผู้นำประเทศ ธิเบต เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๔๐ (พ.ศ. ๒๔๘๓) พุทธศาสนาสายวัชรยาน ต้องบวชตลอดชีวิต?

ประเด็นที่สอง จะเป็นเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากชาวธิเบตให้ความเคารพในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นอย่างดี จะไม่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่จำเป็น พอจีนเข้ามาก็ต้องการทรัพยากรธรรมชาติของธิเบต แต่ตอนที่จีนบุกเข้ามาได้อ้างว่า ต้องการปลดปล่อยประชาชน อาตมาคิดว่า ถ้าต้องการปลดปล่อยจริงๆ การเข้ามาครั้งแรกน่าจะเป็นคน เช่น ให้การศึกษา ปรับปรุงเรื่องสุขภาพให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ผลปรากฎว่า เมื่อจีนเข้ามาก็ไม่ได้ทำในสิ่งเหล่านี้เลย มาถึงสิ่งที่ทำก็คือการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมทั้งขุดเอาแร่ธาตุในดินออกไปเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันพระพุทธรูปในวัดต่างๆ ก็นำออกไปละลายทิ้งเกือบทั้งหมด ส่วนเสาใหญ่ๆ ของวัดก็เอาล่องกลับเมืองจีนไป

ประเด็นที่สาม พื้นที่ธิเบตเป็นพื้นที่โล่งๆ อุดมไปด้วยธรรมชาติ ประชากรเบาบางไม่หนาแน่น ทำให้มีพื้นที่ว่างอยู่อีกมาก ประกอบกับทางจีนเองก็ต้องการระบายคน เนื่องจากประเทศจีนมีประชากรเป็นจำนวนมาก จึงต้องการระบายคนมาอยู่ในธิเบตแทน จึงหาพื้นที่ให้ประชาชนได้มากอาศัย นี่เป็นหลักๆ ที่รัฐบาลจีนต้องการเข้าไปครอบครองธิเบต จึงมีเรื่องเกี่ยวข้องอีกไม่ว่าจะเป็น สงคราม ทรัพยากร หาดินแดน