CHANGE ท่องแดนธรรม

เยี่ยมชม “โครงการชูชัยบุรี ศรีอัมพวา”

 

 

เยี่ยมชมโครงการชูชัยบุรีศรีอัมพวา

สมาคมประชาสัมพันธ์โรงแรมแห่งประเทศไทยนำโดยเอิร์ธ สายสว่าง นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ

จัดกิจกรรมท่องเที่ยวแบบวันเดย์ทริป

เยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอัมพวาโครงการชูชัยบุรี ศรีอัมพวาโดยได้รับเกียรติจาก ชูชัย ชัยฤทธิเลิศ ประธานกรรมการบริหารโครงการฯ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและนำเยี่ยมชมภายในโครงการฯ ซึ่งประกอบไปด้วย อาคารชินบัญชร, อาคาพรหมพิมาน, อาคารชัยนครา,อาคารมั่งมีศรีสุขและเรือนไทยไชยราฏราช 200 ปี รวมถึงลานแห่งศรัทธาที่ได้นำเทวรูป พระแม่อุมาเทวี, พระศิวะ, พระพิษเนศวร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้ขอพรและชมการแสดงประกอบแสงสีเสียงสุดอลังการ

นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรม ไหว้พระทางน้ำวัดชื่อดังของอัมพวา อาทิ วัดภุมรินทร์กุฎีทอง, วัดบางกุ้ง โดยมีสมาชิกสมาคมฯและสื่อมวลชนร่วมเดินทางกว่า 80 ท่านที่ โครงการชูชัยบุรี ศรีอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโครงการชูชัยบุรี ศรีอัมพวา ที่โทร. 034-129-900034-129-900อีเมล์ : chuchaiburisriamphawa.com

หรือ เยี่ยมชมที่เว็บไซต์ :www. chuchaiburi.com

 

อ่านเพิ่มเติม...

ร่วมบุญใหญ่ “ทอดกฐินเงินล้านแสนกอง

ท่องแดนธรรม  เรื่อง : สุทธิคุณ  กองทอง   ภาพ : ยอดชาย กองทอง

 

ร่วมบุญใหญ่ “ทอดกฐินเงินล้านแสนกอง

ณ วัดวาลุการาม

 

 

สมัยนี้ การสร้างวัด ต้องอาศัยกำลังทรัพย์และกำลังคนมหาศาล เพราะต้องสร้างวัดให้เพียบพร้อมด้วยสถานที่ร่มรื่น มีอาคารโรงเรือนมากมาย โดยเฉพาะมีโรงอุโบสถ หรือโบสถ์ สถานที่ที่จะต้องใช้ เพื่อการทำสังฆกรรมสำคัญๆหลายอย่าง อาทิ การให้การอุปสมบทแก่กุลบุตร การสวดทำอัพภานกรรม การสวดญัตติทุติยกรรมวาจา การสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา ฯลฯ ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

เนื่องจากโบสถ์ ที่สร้างขึ้นทุกวันนี้ คณะสงฆ์สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้หลายอย่างคือ เป็นอาคารอเนกประสงค์ รวมทั้งใช้เป็นที่ประชุมที่แสดงธรรม ที่ฝึกอบรมสมาธิภาวนา ที่สวดมนต์ ทำวัตรเช้าค่ำ และที่พักอาศัยชั่วคราว สำหรับต้อนรับพระอาคันตุกะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่สร้างโบสถ์ถวายพระสงฆ์ จึงได้บุญกุศลมากมาย ทั้งชาตินี้และชาติหน้า กล่าวคือ

ชาตินี้ ผู้มีศีลเป็นพื้นฐาน ที่ถวายโรงอุโบสถ ย่อมได้ความปลื้มปีติสุขอย่างสูง เมื่อได้ทราบว่า พระสงฆ์ได้ใช้โรงอุโบสถที่ตนสร้างถวายอย่างคุ้มค่า เกียรติคุณของผู้ถวายย่อมฟุ้งขจรไกล ผู้ถวายย่อมได้ สดับพระธรรมเทศนา เพิ่มพูน ศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้จิตใจสะอาด สว่าง สงบสุขได้มากขึ้น แม้จะสิ้นชีพก็ไม่หลงทำกาลกิริยา(ตาย) ย่อมมีอารมณ์ยึดมั่นในกุศล เป็นอาสันนกรรมที่ดี

ชาติหน้า ถ้าผู้ถวายโรงอุโบสถ ยังมีกิเลสอยู่ถึงแก่กรรมลง เขาย่อมได้ไปเกิดในกำเนิดที่ดี มีความสะดวกสบายที่เรียกว่า สุคติโลกสวรรค์ อันเพียบพร้อมด้วยสิ่งที่ประเสริฐ ที่พึงพอใจ อันเป็นฝ่ายโลกิยสมบัติและจะได้บรรลุคุณธรรมต่างๆ อาทิ ฌาน อภิญญา อริยมรรค อริยผล และกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานเป็นที่สุด ...ทั้งหมดนี้เป็นอานิสงส์ของการสร้างอุโบสถ

ในโอกาสนี้ขอเชิญพุทธศาสนิกชนหรือผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินแสนกอง ณ วัดวาลุการาม  ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร .อุบลราชธานี เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่มีขนาดเล็ก ทรุดโทรมและได้ยกให้เป็นมรดกโลกไปแล้ว

อุโบสถหลังใหม่เป็นอุโบสถ 2 ชั้น ชั้นล่างใช้ประกอบพิธีศาสนกิจในวันสำคัญต่างๆ เริ่มก่อสร้างมาช้านานกว่า 10 ปี ปัจจุบันได้เปิดใช้งานแล้ว แต่สภาพอุโบสถยังไม่แล้วเสร็จ โดยพื้นภายในชั้น 1 ยังไม่ได้ปูกระเบื้อง ผนังภายนอกชั้น 1 ยังไม่ได้ติดกระเบื้องดินเผา ส่วนทางเดิน ลานบุญ ศาลาสมใจนึก และพื้นองค์พระประธาน สมใจนึกจำลองก็ปูพื้นด้วย EPOXY  คาดว่าต้องใช้งบประมาณอีก 2 ล้านบาท จึงจะแล้วเสร็จทั้งหมด

นอกจากนี้ คุณปัทมพร วารสิน ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน  “ในฐานะเป็นบ้านเกิดตัวเอง จึงอยากเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาได้มาร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพทอดกฐินเงินล้านแสนกอง กองละสิบเพราะต้องการให้ทุกระดับชั้นได้มีโอกาสร่วมบุญใหญ่ในครั้งนี้  โดยจะจัดขึ้นในปี 2559  กำหนดการจะแจ้งในใบฏีกาให้ได้ทราบภายหลัง หากทุกคนได้มาร่วมบุญใหญ่ในครั้งนี้ยังจะได้เป็นเหมือนเสบียงบุญให้กับตัวเราและครอบครัวได้พบและเจอแต่สิ่งที่ดีๆในชาตินี้และภพหน้า”

 

 

พุทธศาสนิกชนหรือผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินแสนกอง  สอบถามรายระเอียดได้ที่

วัดวาลุการาม  ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร .อุบลราชธานี 34110 โทรศัพท์ 08-9117-954708-9117-9547

    

อ่านเพิ่มเติม...

หนังสือ สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์

 

 

 

เปิดตัว....หนังสือ สมเด็จพระสังฆราช
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์
\
ในโอกาส นิตยสาร CHANGE into ครบรอบ 2 ปี ร่วมกับ 30 องค์กร จัดทำ หนังสือ สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ พร้อมประวัติประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และประวัติผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่นำเสนอพระวรคติธรรม คติธรรม ข้อคิดของแต่ละพระองค์ รวมทั้งวัดประจำรัชกาลต่างๆ อัดแน่นเนื้อหาจำนวน 600 หน้า พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมัน 4 สี ทั้งเล่ม ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี พร้อมกล่องใส่อย่างสวยงาม

สั่งจองด่วน จำนวนจำกัด (เล่มละ 1,999 บาท) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งจองได้ที่ บริษัท เชนจ์ มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 394/39 ดี65 คอนโด อาคาร A สุขุมวิท 65 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
พร้อมชำระผ่านธนาคาร กรุงศรีอยุธยา สาขา เอ็กเชน ทาวเวอร์ ชื่อบัญชี บริษัท เชนจ์ มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่บัญชี 6770000703 กระแสรายวัน หรือ โทรศัพท์ 0-2714 1435,09-5115-7836,09-9416-9952,08-4546-5405


พร้อมเรียนเชิญพุทธศาสนิกชน/สื่อมวลชน ร่วมงานแถลงข่าว เปิดตัว หนังสือ สมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ โดยมี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันอังคารที่ 8 มีนาคม เวลา 13.00 -15.00 น. ณ ห้องธาราเทพ ฮอลล์ ชั้น 2 โรงแรม เจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก และดำเนินรายการโดย แก้ม-ขวัญชนก วุฒิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอทูซี คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด และผู้ดำเนินรายการ “เงินทองต้องรู้”


ส่วนแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานครั้งนี้ ประกอบด้วย พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ พ,.ต.ต.อังกูร อาทรไผทจริญญา หาญณรงค์ เกียรติ สิทธีอมร กนกพรรณ เหตระกูล ม.ล.ปุญยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา ขวัญจิตร์ อุดมสุขนิรันดร วันเพ็ญ เจิมประไพ เอิร์ธ สายสว่าง ยุวเรต กังสถาน รสนา โตสิตระกูล รังสิมา รอดรัศมี อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ กิตติศักดิ์ กันดิศาคุณานนท์ อ.นพเก้า ไชยะบุรินทร์ (ธรรมทายาทรุ่นที่ 3 ของคุณแม่สิริ) กุ้ง เขมมิกา ณ สงขลา ฐิติพงศ์ ล้อประเสริฐ ร.ต.อ.มงคลรักษ์ จุฑานนท์ พนอ ฉาบสุวรรณ ฐิติพงศ์ ล้อประเสริฐ ร.ต.อ.มงคลรักษ์ จุฑานนท์ พนอ ฉาบสุวรรณ กนกลักษณ์ วุ่นทางบุญ กนกลักษณ์ วุ่นทางบุญ แม่อร ณัญย์ฐิกา แสงสุขเอี่ยม ปิยะพร ตันติกรกุลฯลฯ


โครงการจัดทำหนังสือสมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราช คือ ประมุขสูงสุดของศาสนจักรในประเทศไทย ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความเจริญก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาในทุกๆ ด้าน สมเด็จพระสังฆราช ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีทั้งหมด ๑๙ พระองค์ ด้วยกัน และมีประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะบันทึกประวัติและผลงานต่างๆ ของพระสังฆราชทั้งหมดไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้
บทบาทของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการความเจริญก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน เช่น การปกครองคณะสงฆ์ไทย การศึกษาของคณะสงฆ์ไทย รวมถึงการส่งพระสงฆ์ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศด้วย
นอกจากนั้นแล้ว สมเด็จพระสังฆราช ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ แต่ละพระองค์ทรงมีพระจริยวัตรที่งดงาม เป็นแบบอย่างให้กับชาวพุทธในการดำรงตนอยู่ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
หนังสือ สมเด็จพระสังฆราช นี้ จึงเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ายิ่ง ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และทางด้านจิตใจของชาวพุทธ ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ยังได้เห็นแบบอย่างที่ดีงามที่ควรน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลดีกับชีวิตของตนด้วย

วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อรวบรวมเรียบเรียงประวัติ และพระกรณียกิจสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป ให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาเรียนรู้
๒. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ ในฐานะที่เป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย และทรงอุทิศพระองค์เพื่อปกป้อง คุ้มครอง และเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน
๓. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมถึงพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ได้ถวายความอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาด้วยดีเสมอมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
๔.เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้กับพุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้วิวัฒนาการของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในการบริหารกิจการต่างๆ ของคณะสงฆ์
๕. เพื่อบันทึกเป็นประวัติศาสตร์แห่งวงการพระพุทธศาสนา ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และนำไปเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติให้เกิดความดีงามกับชีวิตยิ่งๆ ขึ้นไป
๖.เพื่อสนับสนุนการทำงานของ องค์กรด้านการกุศล มูลนิธิ สมาคม ชมรม โรงพยาบาล โรงเรียน สถานศึกษา เป็นต้น ในการหาทุนทรัพย์ เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา สาธารณกุศล และด้านสาธารณประโยชน์ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ชาติ บ้านเมือง

 

 

 

 

อ่านเพิ่มเติม...

แดนมหัศจรรย์ วัดพระธาตุผาเงา

ท่องแดนธรรม  เรื่อง : สุทธิคุณ  กองทอง   ภาพ : ยอดชาย กองทอง
 
แดนมหัศจรรย์ วัดพระธาตุผาเงา
 
นิตยสาร เชนจ์ อินทู CHANGE into Magazine
http://changeintomag.com/index.php/change

วัด
พระธาตุผาเงา วัดพระธาตุผาเงาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก
ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ 3 กิโลเมตร  ร่วมกันสักการะ
พระธาตุโบราณ 3 องค์ เนินเขาข้างล่าง เป็นที่ตั้งของพระธาตุผาเงา
ที่สร้างไว้บนหินก้อนใหญ่ ถัดจากนั้นสูงขึ้นไป 300 เมตร เป็นซากเจดีย์
สูงประมาณ 5 เมตร ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุจอมจัน
ส่วนที่สูงที่สุดของเนินเป็นที่ตั้งของซากเจดีย์อีกองค์หนึ่ง สูงประมาณ 5
เมตรเช่นกัน ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุเจ็ดยอด
ต่อมาทางวัดได้สร้างพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ครอบองค์พระธาตุเจดีย์เดิมไว้
แต่ก็ยังสามารถมองเห็นซากของพระเจดีย์เจ็ดยอดได้
ย้อนกลับไปจากวัดร้าง
เป็นวัดปกติ เมื่อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทางกรมการศาสนาจึงได้ประกาศยกเลิกฐานะวัดร้างให้เป็นวัดปกติทั่วไปที่มีพระ
ภิกษุสงฆ์สามเณรอยู่จำพรรษา ตั้งแต่ วันที่ 22 ตุลาคม 2522 มีเจ้าอาวาสรวม 3
รูป คือ 1. พระอาจารย์คำแสน คมฺมภีโร 2. พระอาจารย์วัณชัย สีลวณฺโณ
3.พระพุทธิญาณมุนี  เจ้าอาวาสองค์ที่ 3
ท่านเป็นพระนักพัฒนาและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
ท่านได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาวัดที่ท่านเจ้าอาวาสองค์แรกได้ถือปฏิบัติมา
ตั้งแต่ต้น
 
พระพุทธิญาณมุนี เล่าว่า จากพงศาวดารโยนกบอกว่า
ขุนผาพิงหรือขุนพิง (พระองค์พิง) ผู้ครองนครโยนก องค์ที่ 23 ช่วงปี พ.ศ.
494-512 เป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้บนหินก้อนใหญ่ที่เชิงเขาดอยจันทร์
ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึงพระธาตุผาเงาในวัดนี้
พระธาตุผาเงาได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก คาดว่าน่าจะมีการบูรณะมาบ้าง
เพราะพระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่ที่ลาดต่ำสุดของภูเขา
ซึ่งง่ายต่อการดูแลซ่อมแซม

ต่อมาภายหลัง
เมื่อขุนลังได้ขึ้นครองเมือง "เวียงเปิกสา" (เมืองเชียงแสนปัจจุบันนี้)
ช่วงปี พ.ศ. 996-1007
พระองค์ได้ชักชวนไพร่บ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอย
คำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าตอดจันทร์
เจดีย์ที่ว่านี้หมายถึงพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด เจดีย์ทั้ง 2
องค์นี้ถูกภัยธรรมชาติทำลาย
เช่นถูกแดด-ฝนและลมพัดทำลายมานับพันปีจนเหลือแต่ซากฐานไว้ประมาณ 5 เมตร
ประกอบกับช่วยนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจจะฝืดเคืองจนทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งศาสนาขาด
การดูแลเอาใจใส่และที่ฐานองค์พระเจดีย์ทั้งสองก็มีรอยขุดเจาะ
อาจจะเป็นฝีมือของพวกนักสะสมของเก่าเสาะแสวงหาโบราณวัตถุก็เป็นได้

ส่วน
ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของพระธาตุผาเงา ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่
คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน)
หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และให้ร่มเงาได้ดีมาก
ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "พระธาตุผาเงา" ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่
เดิมมีชื่อว่า "วัดสบคำ" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งน้ำได้พังทลายลง
ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธา
จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

ตอนแรก
สันนิฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็กๆ ลูกนี้
ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่
เพราะได้พบซากโบราณวัตถุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2519
จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำเรียกว่า "ถ้ำผาเงา"
ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน
ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารกชัฎเต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่
กลาดเกลื่อนเต็มไปหมด มีชิ้นส่วนใหญ่อยู่ชิ้นหนึ่งเป็นพระพุทธรูปครึ่งองค์
ช่วงล่างหน้าตักกว้าง 4 วา เชื่อว่าเป็นพระประธานในวิหาร
คณะศรัทธาจึงตั้งใจบูรณะปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์เหมือนเดิม

วันที่ 28
กุมภาพันธ์ 2519 นายจันทรา พรมมา
หนึ่งในคณะศรัทธาทั้งหมดที่เริ่มบุกเบิกแผ้วถางป่า
ได้นอนหลับและฝันในเวลากลางคือว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่ง รูปร่างสูง-ดำ
มาบอกว่า "ก่อนที่จะยกชิ้นส่วนองค์พระประธานที่เหลือครึ่งองค์ออก
ให้ไปนิมนต์พระมา 8 รูป ทำพิธีสวดถอนเสียก่อน
แล้วจะได้พบสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งกว่านี้" วันที่ 1 มีนาคม 2519
จึงมีการทำพิธีสวดถอนทันที
กระทั่งวันที่ 17 มีนาคม 2519 เวลา 14.00 น.
เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างตื่นเต้นและปิติยินดี
เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน) มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้
เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก (แผ่นทึบ) ก่อกั้นไว้ เมื่อเอาหน้ากากออก
จึงได้พบพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญโบราณวัตถุ
วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี
คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อผาเงา"
และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพระธาตุผาเงา" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


พระนักอนุรักษ์ผืนป่า
พระ
พุทธิญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา และเจ้าคณะอำเภอเชียงแสน
ในวัยหนุ่มอายุ 24 ปี ชื่อ ประเสริฐ สินสอน ซึ่งเกิดและเติบโตที่บ้านสบคำ
หมู่ 5 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้บวชตามประเพณี วันที่ 25 มิถุนายน
พ.ศ.2525 เพื่อเป็นผลบุญแก่พ่อผูและแม่ปิน ณ พัทธสีมา วัดผ้าขาวป้าน
ต.เวียง อ.เชียงแสน ได้ฉายาว่า "ปัญญาวชิโร"
เมื่อท่านได้ศึกษาพระ
ไตรปิฎก เข้ากรรมฐาน และเดินธุดงค์ในผืนป่าอันหนาทึบในเขต อ.เชียงแสน
เชียงของ และเวียงแก่น ท่านอธิษฐานที่จะเดินเท้าเปล่า
อุ้มบาตรและแบกกลดตลอดการธุดงค์
โดยทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งพระสงฆ์ไปอยู่ในป่า
เหมือนที่พระองค์ทรงหนีออกจากวังไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาวิโมกขธรรม

เมื่อ
โยมพ่อ โยมแม่มาตามให้สึกไปช่วยทำงาน ท่านยิ่งหลีกหนี จาริกไปในป่านานนับปี
เดินตั้งแต่เช้าตรู่จนค่ำมืด จนฝ่าเท้าแตก บวมเป่ง เจ็บก็เจ็บ หนักก็หนัก
ได้รู้ถึงความทุกข์อย่างยิ่ง เกิดความกตัญญูต่อแม่ที่อุ้มท้องนาน 9-10
เดือน กว่าบุตรจะคลอด และรู้คุณของพ่อซึ่งทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูลูก
การ
ธุดงค์ในป่าทำให้ได้เห็นธรรมชาติ เห็นการเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ
ท่านจึงตัดสินใจที่จะบวชต่อ
เพราะคิดว่าชีวิตนักบวชทำประโยชน์มากกว่าชีวิตฆราวาส
และในที่สุดก็มาจำพรรษาที่วัดพระธาตุผาเงา  อีกทั้งหากไม่ได้เดินธุดงค์
ปฏิบัติกรรมฐานในป่าจะไม่รู้รสชาติของการบวชอย่างแท้จริง
การไม่มีอะไรทำให้ชีวิตเบาสบาย
สมบัติที่มนุษย์มีอยู่ขณะนี้ล้วนเป็นส่วนเกินทั้งสิ้น
ทุกครั้งที่เห็น
ป่าไม้สูญเสียไปเพราะการขยายตัวของชุมชน
ผืนป่าและสัตว์ที่มีคุณค่าถูกทำลายลงมาก
ท่านรู้สึกสลดใจตั้งใจอยู่ในสมณเพศอย่างต่อเนื่อง ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร
ไม่ใส่รองเท้า เป็นเวลา 10 กว่าปี
มุ่งมั่นใช้ธรรมะสอนให้ชาวบ้านเคารพธรรมชาติ
ท่านคิดว่าถ้าไม่มีการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติไว้ คงต้องเกิดภัยพิบัติแก่ชุมชนและรุ่นลูกหลานเป็นแน่
ดังนั้น
จึงใช้บทบาทพระสงฆ์และวัดดึงคนให้มีศรัทธาในพระรัตนตรัย
ให้เข้าถึงวัดสร้างวัดให้มีความร่มรื่นด้วยธรรมชาติ ให้วัดเป็นที่พึ่งทางใจ
เป็นแสงสว่างแห่งปัญญา สามารถพลิกฟื้นผืนป่าดอยจันแห่งนี้
ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกวาระหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาต่างๆในชุมชน
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล
มีความสุขตามอัตภาพจนถึงรุ่นลูกหลาน  พระพุทธิญาณมุนี 
กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “อย่าทิ้งศีลและทิ้งธรรม ศีลธรรมทิ้งไม่ได้ 
เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราพ้นทุกข์ อย่าจมอยู่กับความทุกข์
ยิ่งได้สวดมนต์ก็ยิ่งทำให้คนเรามีสติ สิ่งสำคัญเราต้องรู้จักคำว่า พอเพียง
ด้วย ปฏิปฐา.....”
 
วัดพระธาตุผาเงา 391 หมู่ 5 บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 57150 โทรศัพท์  05-377-1151

อ่านเพิ่มเติม...

สักการะ..พระธาตุจอมไทย

 

ท่องแดนธรรม  เรื่อง : ปราริชาติ ปลื้มจิตต์ตระกูล  ภาพ : ชวกรณ์  สะอาดเอี่ยม

 

 

 

สักการะ..พระธาตุจอมไทย

 

ไหว้ขอพรหลวงพ่อแช่ม..วัดฉลอง ไข่มุกอันดามัน

 

                                                                        

 

     คณะของเราเดินทางจากกรุงเทพฯ ตอนเช้า ๆ โดยเครื่องบินมุ่งหน้าสู่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งถูกขนานนามว่า เป็นเมืองไข่มุกแห่งอันดามัน จากนั้นโดยสารรถตู้ที่เช่าเหมาไว้เพื่อใช้ในการเดินทาง และสถานที่สำคัญที่จะต้องไปนั้น เพื่อให้สมกับที่คนถิ่นฐานในจังหวัดบอกกับเราว่า “การมาจังหวัดภูเก็ต หากไม่ได้ไป...วัดฉลอง...เขาบอกว่า เรามาไม่ถึงภูเก็ต”

 

 

อ่านเพิ่มเติม...