ซีพีเอฟ สร้างอาชีพ “เถ้าแก่เล็กเนื้อหมูตู้เย็นชุมชน” ทั้งในและต่างประเทศ เตรียมต่อยอดสู่ “ตู้หมูออนไลน์”

ซีพีเอฟ สร้างอาชีพ “เถ้าแก่เล็กเนื้อหมูตู้เย็นชุมชน” ทั้งในและต่างประเทศ เตรียมต่อยอดสู่ “ตู้หมูออนไลน์”

 

 

  

 

 

 


 

 

ซีพีเอฟ สร้างอาชีพ “เถ้าแก่เล็กเนื้อหมูตู้เย็นชุมชน” ทั้งในและต่างประเทศ เตรียมต่อยอดสู่ “ตู้หมูออนไลน์”

 


นายสมพร เจิมพงศ์รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟดำเนินโครงการสร้างงานสร้างอาชีพที่มั่นคงมีรายได้ที่แน่นอนแก่ผู้ประกอบการรายย่อยในลักษณะ “เถ้าแก่เล็ก” ในโครงการเนื้อหมูตู้เย็นชุมชน-CP Pork Shop กระจายในชุมชนต่างๆในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมือง เพื่อส่งต่อเนื้อหมูที่สด สะอาด ปราศจากสารเร่งเนื้อแดง และผลิตภัณฑ์ต่างๆของซีพีเอฟ อาทิ ไข่ เนื้อไก่ อาหารแปรรูปต่างๆ ถึงมือผู้บริโภคในชุมชน ขณะเดียวกันในเมืองและชุมชนขนาดใหญ่ ร้าน CP Pork Shop ได้กลายเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่ต้องการเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัยเช่นกัน


“ตลอด 2 ปีที่ซีเอฟสนับสนุนอาชีพนี้แก่คนในชุมชนโดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุน้อยที่ต้องการมีอาชีพอิสระเป็นของตนเอง ต่างได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากทั้งเถ้าแก่เล็กที่สนใจร่วมโครงการ และกลุ่มลูกค้าที่มั่นใจในผลิตภัณฑ์ของบริษัท ปัจจุบันซีพีเอฟได้นำโมเดลความสำเร็จนี้ไปต่อยอดในต่างประเทศที่บริษัทเข้าไปลงทุน ในเวียดนามมีจุดขาย CP Pork Shop 398 แห่งในชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ส่วนลาวที่เพิ่งเปิดตัวโครงการขณะนี้มีจุดขาย 18 แห่ง และบริษัทวางแผนที่จะทำโครงการนำร่องในประเทศอื่นๆอีก เพื่อสนับสนุนอาชีพแก่คนในประเทศและให้พวกเขาได้เป็นเครือข่ายในการส่งมอบเนื้อสัตว์ปลอดภัยให้กับผู้บริโภคในชุมชนของตนเอง” นายสมพรกล่าว


นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังเล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาด E-Commerce ของประเทศไทย ที่เติบโตเฉลี่ยถึงกว่าร้อยละ 13 ต่อปี จึงมีแนวความคิดในการต่อยอดความสำเร็จของ CP Pork Shop ด้วยการพัฒนาระบบการสั่งซื้อออนไลน์ ผ่านเว็ปไซต์ CP SMART ORDER เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางการจำหน่ายเนื้อหมู ชิ้นส่วนหมู และผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยปัจจุบันลูกค้าเถ้าแก่เล็ก CP PORK SHOP สามารถสั่งสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้100% ช่วยเพิ่มความสะดวกแก่กลุ่มลูกค้าเป็นอย่างมาก และในอนาคตจะขยายผลไปยังช่องทาง HORECA และร้านอาหารอิสระต่อไป


ซีพีเอฟมุ่งผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานตลอดการผลิตและตรวจสอบย้อนกลับได้ 100% ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสุกรของบริษัทและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกร ที่ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) ซึ่งเป็นมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม รวมถึงได้มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ต้องผ่านโรงชำแหละที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) จากนั้นจะส่งผลิตภัณฑ์หมูคุณภาพมาจำหน่ายยังจุดจำหน่ายตู้เย็นชุมชน : CP Pork Shop ที่ทุกแห่งเข้าร่วม “โครงการเนื้อสัตว์ปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค : ปศุสัตว์ OK” เพื่อร่วมยกระดับมาตรฐานร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค ที่ได้รับการตรวจสอบและผ่านการรับรองจากปศุสัตว์ในพื้นที่ว่าเนื้อสัตว์ปลอดยาปฏิชีวนะตกค้าง 100% เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคต่อเนื้อสุกรปลอดภัยของซีพีเอฟ.