ธนาคารกรุงศรีมองเศรษฐกิจโลกTrade warกดดันตลาด ยังไม่จบ คาดเงินบาทแข็งทะลุ 30 บาท ย้ำ การส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว
ธนาคารกรุงศรีมองเศรษฐกิจโลกTrade warกดดันตลาด ยังไม่จบ คาดเงินบาทแข็งทะลุ 30 บาท ย้ำ การส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว
นาย ตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรี กล่าวว่า บรรยากาศตลาดโลกอยู่ในช่วงขาลงในปี61โลกมองเศรษฐกิจเป็นขาขึ้นแต่ปี62 สถานการณ์ กลับทิศจากเดิม ตลาดการเงินเคยเชื่อว่าสหรัฐรับมือกับสงครามการค้าได้ดีกว่าตลาดเปิดใหม่เพราะที่ป่านมาเราคาดว่า เฟดจะขึ้นเลยสร้างความไม่แน่ใจให้ลูกค้าเพราะ เฟด กลับทาทีจากเดิมจะขึ้นดอกเบี้ย 1-2ครั้ง แต่ตอนนี้ คงดอกเบี้ยเดิม ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดจะลงดอกเบี้ยในปี2561เฟดขึ้นดอกเบี้ย4ครั้งแม้ทรัมป์เปิดฉากสงครามการค้า
แนวโน้มในไตรมาส 1/2563 มองว่า ค่าเงินบาทอาจจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 29.75-31.25 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะนี้เงินบาทแข็งค่าแล้วกว่า 6.32 % โดยการแข็งค่าจะถูกจำกัดจากภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก การส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว รวมถึงแนวทางการดูแลค่าเงินบาทของทางการ ขณะเดียวกัน ต้องระวังในเรื่องของกระแสเงินทุนเคลี่อนย้ายที่มีโอกาสกลับทิศอย่างรวดเร็วจากความไม่แน่นอนของนโยบายสหรัฐฯ ทั้งนี้ให้ติดตามนโยบายการค้า และการต่างประเทศของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐและจีน การสรรหาประธานอีซีบีคนใหม่ การเจรจาถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษ ก่อนเส้นตายวันที่ 31 ตุลาคม 2562 รวมถึงความตึงเครียดในตะวันออกกลางและราคาน้ำมัน ที่กำลังมีข้อพิพาทอยู่ในเวลานี้ด้วย
สำหรับประเด็นสำคัญที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนคือ สหรัฐฯมีแนวโน้มจะลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจของสหรัฐฯเริ่มมีการชะลอตัว เป็นผลเสียมาจากสงครามทางการค้าที่ยืดเยื้อมากขึ้น โดยท่าทีของธนาคารกลางหลักแห่งอื่นๆธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) เล็งลดดอกเบี้ยเช่นกัน ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) จะยังคงรักษานโยบายการเงินแบบผ่อนคลาดต่อไป ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ แม้เดิมความว่าคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75 % แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ และมองว่า กนง. มีขีดความสามารถในการทำนโยบายเงินที่ค่อนข้างจำกัด หรือมีกระสุนน้อยนัดสุดท้ายในการดำเนินนโยบายการเงิน
นอกจากนี้ นางสาวรุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการ ผู้บริหารกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์ตลาดการเงิน ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวด้วยว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้ตลาดค่อนข้างอึมครึม สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกอยู่ในช่วงขาลง ทำให้ปี 2562 สถานการณ์พลิกกลับจากเดิมที่ตลาดเคยเชื่อว่า สหรัฐฯ จะรับมือกับสงครามการค้าได้ดีกว่าตลาดเกิดใหม่ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันอยู่ในทิศทางขาลง โดยธนาคารกลางยุโรป เล็งที่จะผ่อนปรนทางการเงินระลอกใหม่ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ก็มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนลดลงตามตลาดโลก
กรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง จากที่เคยเปิดเผยในช่วงปลายปี 2561 ว่าในปี 2562 จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง เรื่องนี้ตลาดรับรู้ไปแล้ว และคาดการณ์ว่าเฟเจะลดดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้แทน ขณะที่สงครามการค้าได้ขยาย ความขัดแย้งเป็นวงกว้างมากขึ้น โดยสหรัฐฯได้มีการต่อสู้กับเรื่องเทคโนโลยี ต่อต้านการใช้ 5G ของจีน สหรัฐฯ เตรียมขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ อากาศยาน และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจากอียู อีกทั้ง ยังมีข้อพิพาทกับอีกหลายประเทศ ทำให้ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายหลายด้าน
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทช่วงแรกปี 2562 แข็งค่าสูงกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกันค่อนข้างสูงในรอบ 6 ปี แข็งค่าขึ้นกว่า 6 % เมื่อเทียบกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอินเดีย แต่จากสถิติที่ผ่นมาลดลงไปมากสุดระดับ 28.55 ต่อดอลลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลกับความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไปขายในต่างประเทศ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมีผลมาจากที่มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามามากขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนนำเงินเข้ามาพักในตลาดทุนไทย ไหลเข้ามาเร็วก็มีโอกาสที่จะไหลออกไปเร็วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เฟดมีการลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้งจริง จะทำให้เงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น เพราะจะดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินเข้ามาในประเทศทไทยมากขึ้น
นางสาวรุ่ง กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า มีวิกฤตต้องมีโอกาส จังหวะที่บาทแข็งค่า อยากให้ผู้ประกอบการนำเข้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ในระยะยาว ดีกว่าการพึ่งพาค่าเงินอย่างเดียว อยากให้มอง เงินบาทแข็งค่านานควรนำเงินลงทุนในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ เราสรุปทิศทางเศรษฐกิจ เงินบาทแข็งค่าต่อไป 29.50-31บาท ในส่วนดอกเบี้ยคงตัวหรือลดลงได้ และ Trade war ยังไม่จบ ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม