เศรษฐกิจไทย: ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่เหลืออยู่เริ่มเลือนลาง
เศรษฐกิจไทย:ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่เหลืออยู่เริ่มเลือนลาง
ในช่วงปลายปี 2562 ได้ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยว่ามีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ 2 ประการที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2563 ประกอบด้วย การผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทั้งสองได้กลับด้านจากปัจจัยสนับสนุนเป็นปัจจัยที่บั่นทอนการเติบโต เนื่องจากการพิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณเลื่อนออกไปยาวนานกว่าที่คาด ขณะที่การระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ไม่เพียงกระทบต่อการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตและผลกระทบต่อรายได้ นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงกว่าเดิม
ความล่าช้าของการผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563: รัฐบาลคาดว่างบประมาณปี 2563 น่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ภายในสิ้นเดือนมีนาคม หรืออย่างเร็วสุดในกลางเดือนมีนาคม ความล่าช้าเกือบสองไตรมาสในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 (สิ้นสุดเดือนกันยายน) โดยเฉพาะงบลงทุน วิจัยกรุงศรีจึงปรับลดมูลค่าการลงทุนของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานลง 1.51 แสนล้านบาท คิดเป็น 0.9% ของ GDP ความล่าช้าของการผ่านร่างงบประมาณไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อการเลื่อนการลงทุนของภาครัฐเท่านั้น แต่ยังมีผลเชิงลบต่อการลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งอาจซ้ำเติมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาอยู่แล้ว
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19): การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีผลกระทบของต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยคาดว่าจะทำให้การเติบโตของ GDP ไทย ต่ำกว่าประมาณการเดิม 0.4% โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต การท่องเที่ยวซบเซา และผลกระทบต่อรายได้ จากการศึกษาพบว่า ผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวจะแตะระดับสูงสุดในไตรมาส 1/2563 ในขณะที่ผลกระทบต่อการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตจะสูงสุดในไตรมาส 2/2563 โดยคาดว่าการส่งออกจะลดลง 0.8% จากประมาณการเดิม การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง 30.8% และ 13.1% ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2563 ตามลำดับ โดยภาพรวม
คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว 4-5% ในปี 2563
ปัญหาภัยแล้ง: ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าคาดจะส่งผลกระทบต่อ GDP ในปีนี้ลดลงจากประมาณการเดิม 0.3% ปัญหาภัยแล้งมีแนวโน้มลากยาวถึงเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมแล้ว ยังกระทบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจผ่านความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานด้วย
คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563
Krungsri Research Forecast |
|
2020F |
|
|
Previous |
Latest |
|
GDP growth |
YoY (%) |
2.5 |
1.5 |
Private Consumption Expenditure |
YoY (%) |
3.5 |
2.5 |
Government Consumption Expenditure |
YoY (%) |
2.4 |
2.4 |
Private Investment |
YoY (%) |
3.3 |
1.3 |
Public Investment |
YoY (%) |
3.0 |
1.1 |
Nominal Exports in USD (f.o.b.) |
YoY (%) |
1.5 |
-1.0 |
Nominal Imports in USD (f.o.b.) |
YoY (%) |
3.0 |
-1.5 |
Current Account Balance |
USD, bn |
30.3 |
26.4 |
Tourist Arrivals |
Mn, persons |
41.6 |
38.0 |
Headline Inflation |
YoY (%) |
0.9 |
0.7 |
Core Inflation |
YoY (%) |
0.6 |
0.4 |
Exchange rate (end of period) |
THB/USD |
30.00 |
30.75 |
Policy Interest rate (end of period) |
(%) |
1.00 |
0.75 |
Dubai crude price (period average) |
USD/bbl |
65.0 |
60.0 |