“ดอยคำ” ตามรอยศาสตร์พระราชา สร้างอาชีพ สร้างเงินล้านสู่ชุมชน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
CHANGE Inspiration เรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง ภาพ : ชวกรณ์ สะอาดเอี่ยม
“ดอยคำ” ตามรอยศาสตร์พระราชา
สร้างอาชีพ สร้างเงินล้านสู่ชุมชน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
ดอยคำ “สืบสาน รักษา ต่อยอด”ตามรอยศาสตร์พระราชา รักษามาตรฐานการกินดี...อยู่ดี สู่แนวทางพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ของ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ด้วยการปลูกสตรอว์เบอร์รีสดระดับพรีเมียม” สายพันธุ์พระราชทาน ๘๐ นั่นเอง
เมื่อไม่นานได้เดินทางไปร่วมทริป สื่อสัญจร “ตามรอย...ดอยคำ” ประจำปี ๒๕๖๓ ณ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จ. เชียงใหม่ ออกเดินทางสู่ โรงงำนหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) โดยมี คุณพิพัฒพงศ์ อิศรเสนำ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด พาชมโรงงาน พร้อมวิถีชุมชนชาวจีนยูนนาน บ้านยาง - ชม วิถีเกษตร การปลูกสตรอว์เบอร์รี รวมทั้งเยี่ยมชมโรงเก็บผลิตภัณฑ์เกษตรและโรงปฏิบัติการวิจัยทางพืช และโรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อม ชมเทคโนโลยีกำรวิจัยเนื้อเยื่อสตรอว์เบอร์รีและโรงเรือนปลูกสตรอว์เบอร์รีที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่อำเภอฝาง และเข้าชมพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) และยังเดินทางสู่ สถานีเกษตรหลวงอ่าง ฟังบรรยาย ชมขั้นตอนการผลิต เครื่องผลิตน้ำผลไม้ดอยคำ ในกล่อง UHT จากคุณธนมนพร เตชะตน ผู้จัดการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่ และรักษาการผู้จัดการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) จ.เชียงราย บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
จากนั้น คุณพิพัฒพงศ์ อิศรเสนำ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เล่าว่า ดอยคำเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณปี พุทธศักราช ๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา ทางภาคเหนือ ทรงทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ป่าไม้บนภูเขาถูกทำลาย ยังผลให้แหล่งแม่น้ำลำธารเสียสมดุลตามธรรมชาติ จากการปลูกฝิ่น ทำไร่เลื่อนลอย อีกทั้งสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือราษฎรด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ พระราชประสงค์ให้แก้ไขฟื้นฟูสภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพสกนิกรในพื้นที่ห่างไกลให้อยู่ดีกินดี พระองค์ทรงวางรากฐานอาชีพ และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทรงแนะนำส่งเสริมให้ราษฎรเพาะปลูกพืชผลด้านการเกษตรจำพวกผักและผลไม้เมืองหนาว มีศูนย์โภชนาการสำหรับเด็ก สาธารณูปโภคที่สะดวก และสาธารณสุขขั้นมูลฐาน พร้อมทั้งพระราชทานสถานีอนามัยด้วย
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ ทรงก่อตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นในพื้นที่การเกษตรเพื่อดำเนินการส่งเสริม รับซื้อ พัฒนา และแปรรูปผลผลิต เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในราคาเป็นธรรม โดยเริ่มต้นเพียง ๑๐ รายการ ใน ๒ กลุ่มสินค้า ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้จัดตั้งองค์กรเป็นนิติบุคคลภายใต้ชื่อ “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด” ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ด้วยการเป็นต้นแบบองค์กรภาคธุรกิจที่ดำเนินกิจการตามศาสตร์แห่งพระราชา ควบคู่ไปกับการมุ่งพัฒนาชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างยั่งยืน จวบจนปัจจุบัน ดอยคำมีสินค้ากว่า ๒๐๐ รายการ ใน ๒๒ กลุ่มสินค้า โดยในปี ๒๕๖๓ ดอยคำมีร้านสาขากว่า ๓๗ แห่ง และร้านครอบครัวดอยคำ (เฟรนไชส์) อีก ๑๔ สาขาทั่วประเทศ ปัจจุบัน บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ดำเนินงานผ่าน โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ๓ แห่ง ได้แก่
• โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่
• โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) จังหวัดเชียงราย
• โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร
โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ “ดอยคำ” เป็นผู้นำตลาด คือ น้ำมะเขือเทศ จากผลผลิตมะเขือเทศที่มีคุณภาพดีที่สุดในท้องตลาด ,น้ำเสาวรส พันธุ์สีเหลืองและสีม่วง มีรสชาติที่มีเปรี้ยวอมหวานมีความหอมหวานเป็นเอกลักษณ์
นอกจากนี้ผลผลิตที่โดดเด่นถือเป็นความพิเศษเฉพาะฤดูกาล “สตรอว์เบอร์รีสดระดับพรีเมียม” สายพันธุ์พระราชทาน ๘๐ จากการส่งเสริมเกษตร “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” มีคุณภาพสูง สีแดง ลูกโต จึงเก็บที่ความสุกระดับถึง ๙๐% เพื่อให้ได้สตรอว์เบอร์รีหอมหวานฉ่ำและรสชาติดี และในปี๒๕๖๒ “ดอยคำ” ได้ร่วมมือภาครัฐ ส่งเสริมปลูกสตรอว์ เบอร์รีนอกฤดูภายใต้ “โครงการยกระดับการแข่งขันในระบบธุรกิจเกษตร” ภายใต้โครงการนี้ได้รับสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างโรงเรือน ในการควบคุมระบบอุณหภูมิ จํานวน ๔๐ โรง จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีศักยภาพในการปลูกสตรอว์เบอร์รี นอกฤดูกาล โดยการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประทานสตรอว์เบอร์รีนอกฤดูกาล ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลําพูน ในการนี้มี หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑, สํานักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ , บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน), หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่,กลุ่มเกษตรกรทํา สวนโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ และสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นอกจากนี้ มาฟังความรู้สึกของผู้ทำหน้าที่เดินตามรอยศาสตร์พระราชา คุณธนกฤต จันทรสมบัติ (น้องมอ) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาเกษตร โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่ เด็กหนุ่มวัย ๒๔ ชาวแม่จัน เล่าว่า “หน้าที่หลักของผม คือการนำเอาองค์ความรู้ทางวิชาการเกษตรที่ผ่านการวิจัยจากโรงปฏิบัติการวิจัยทางพืชมาถ่ายทอดให้กับพี่น้องเกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ และมัลเบอร์รี่ ซึ่งดูแลพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ๓ อำเภอ ประกอบไปด้วย อ.ฝาง อ.ไชยปราการ อ.แม่อาย โดยในพื้นที่ทั้งสามอำเภอมีเกษตรกรปลูกสตรอว์เบอร์รี่รวมทั้งสิ้น ๕๐ ไร่ ๘๕ ครัวเรือน เริ่มปลุกตั้งแต่เดือนต.ค.เก็บผลผลิตได้ ๕ เดือน ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ จนถึงสิ้นเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ซึ่งจะมีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย ๗-๘ หมื่นบาท แต่ถ้าเกษตรกรมีความตั้งใจขยันเอาใจใส่และดูแลสตรอว์เบอร์รี่อย่างดี ก็สามารถทำรายได้มากถึง ๑-๒ แสนบาทต่อครัวเรือน ปีที่ผ่านมามีเกษตรกรขายสตรอว์เบอร์รี่ได้ ๑ แสนบาท ทั้งสิ้น ๑๐ ราย และ ๒ แสนบาท ๕ ราย อย่างไรก็ตามหลังเสร็จสิ้นการปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ช่วงเดือนเมษายน ต่อเนื่องเดือนพฤษภาคม เกษตรกรรอเก็บผลผลิตลิ้นจี่ ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในปีนี้ภาคเหนือมีอาหารหนาวต่อเนื่อง ทำให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกเป็นจำนวนมาก หลังจากที่ช่วงสองปีที่ผ่านมาลิ้นจี่ไม่ออกผล เมื่อเมื่อเสร็จสิ้นเก็บผลลิ้นจี่ ชาวบ้านจะเริ่มปลูกข้าวนอกเหนือจากเก็บไว้ทางเอง ชาวบ้านก็จะนำไปจำหน่าย จากนั้นจะเริ่มปลูกสตรอว์เบอร์รี่อีกครั้ง
“ซึ่งจุดนี้สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านบนพื้นที่สูงมีกิจกรรมทางการเกษตรต้องทำตลอดทั้งปี และหากว่าขยัน อดทน เอาใจใส่พืชผลของตนเอง เชื่อว่าทุกครัวเรือนจะมีรายได้จุนเจือเลี้ยงครอบครัวได้ตลอดทั้งปี บ้านผมก็มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรเช่นกัน ดังนั้นจึงมีความผูกพันกับชาวไร่ชาวสวน ด้วยเหตุนี้ผมจึงมีความฝันที่อยากมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกร จึงเลือกศึกษาต่อในคณะที่เกี่ยวกับเกษตร ก่อนสอบติดคณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทั่งได้ฝึกงานที่ โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) จ.เชียงราย และพอดีช่วงนั้นทางโรงงานเปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ ผมจึงได้สมัครและได้รับคัดเลือกให้เข้ามาทำงานที่ โรงงานหลวงอาหารสําเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จ.เชียงใหม่ รู้สึกดีใจได้ทำงานที่ตนเองชอบ เพราะผมเชื่อว่าหากได้ทำงานที่ชอบแล้วชิ้นงานที่ทำย่อมประสบความสำเร็จ และตลอดที่ผมทำงานกว่า ๓ ปี ผมตั้งใจทำงานเต็มความสามารถ และดีใจทุกครั้งที่เกษตรกรมีผลผลิตดี เพราะตรงนี้จะนำมาซึ่งรายได้สู่เกษตรกรโดยตรง"
คุณธนกฤต กล่าวด้วยความประทับใจต่อว่า “จากการได้เข้ามาสัมผัสชีวิตของพี่น้องเกษตรกรพื้นที่สูงทำให้รู้สึกผูกพันอย่างมาก และเห็นชัดเจนว่า ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพจิตสุขภาพกายที่ดีขึ้น อีกทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาเกษตรฯ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี ส่วนหนึ่งเนื่องจากเรานำเอาผลสรุปงานวิจัยของนักวิจัยมาถ่ายทอดให้เกษตรกร ก่อนลงมือทำงานในไร่ตัวเอง ในทางกลับกันเราก็พร้อมรับฟังปัญหาของเกษตรกรที่สะท้อนจากประสบการณ์จริงในทางปฏิบัติ เพื่อส่งสารต่อถึงนักวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์พืชที่ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ส่วนตัวมองว่ากิจการด้านการพัฒนาการทางการเกษตรไม่มีวันที่สิ้นสุด เพราะการพัฒนางานทางด้านเกษตรนั้นจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นยังมีอะไรอุปสรรค์อีกมากที่ท้าทายอีกมากรอเราพิสูจน์ฝีมืออยู่ เพื่อให้เราเอาความรู้ดีๆ ไปส่งต่อเกษตรกรลงมือปลูกจริง เมื่อเกษตรกรพื้นที่สูงสามารถปลูกสตรอว์เบอร์รี่ได้ผลผลิตงอกงาม ดอยคำนำเสนอต่อไปสู่ตลาด ผู้บริโภคได้รับประทานผลสตรอว์เบอร์รี่ที่ดีมีคุณภาพ เชื่อว่าทุกฝ่ายก็สมหวังตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ"
อย่างไรก็ตามไปฟังความรู้สึกของเกษตรกรจากวิถีชุมชนหมู่บ้านหนองเต่า หมู่ ๑๐ ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง คุณมนูญ ภูแสนธนา อายุ ๓๐ ปี จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เล่าว่า “หมู่บ้านหนองเต่าที่ผมอยู่มีกันอยู่ ๘๕ ครอบครัว มีประชากรกว่าหกร้อยคน อาชีพหลักๆเลยคือการปลูกลิ้นจี่ แต่อยู่มาวันหนึ่งลิ้นจี่ที่ปลูกกันมากว่า ๔๐ ปีไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้เลยต้องหาพืชตัวอื่นมาทดแทนลิ้นจี่ที่ราคาตกต่ำ แรกๆยังไม่มีใครกล้าปลูกสตรอว์เบอร์รี่ สายพันธุ์พระราชทาน ๘๐ ส่วนตัวผมเรียนจบก็ไปทำงานกับเอกชนอยู่สองปีก็คิดว่ามันไม่ใช่ตัวตนของผม ผมเลยคิดว่าอยากจะทำอะไรเป็นของตัวเอง พอดีผมไปเห็นโครงการหลวงปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ผมก็เลยมานำร่องปลูกสตรอว์เบอร์รี่แล้วไปขายตลาดทั่วไป พอผลผลิตสตรอว์เบอร์รี่ออกมาเยอะก็มีเจ้าหน้าที่ของดอยคำมาแนะนำและส่งเสริมว่า ผลผลิตที่ได้สามารถส่งให้กับดอยคำไปแปรรูปได้ ปัจจุบันมีการปลูกสตรอว์เบอร์รี่กว่า ๓๐ ครอบครัว หรือ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ส่งดอยคำ ซึ่งทางดอยคำจะแนะนำวิธีการปลูก วิธีการดูแล วิธีการส่งขายตามมาตรฐานที่ดอยคำกำหนดเอาไว้ ไม่มีหน่วยหรือองค์กรไหนทำแล้วต้องโกบโกยกำไรจากชาวบ้าน แต่ดอยคำไม่ได้คิดแบบนั้น แต่ดอยคำต้องการให้ชุมชนที่อยู่รอบๆโรงงานไม่มีความรู้ก็ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ได้แล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น
“ปีแรกปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ๑ งาน ๑,๕๐๐ ต้น มีรายได้ ๖๐,๐๐๐ บาท ผมถือว่ามีรายได้เยอะมาก เพราะลิ้นจี่ที่เคยผมปลูก ๑๐ ไร่ มีรายได้ไม่ถึงหมื่นห้าพันบาท ปัจจุบันผมมีผลผลิตสตรอว์เบอร์รี่ที่เป็นมาตรฐานส่งให้กับดอยคำตกวันละ ๒๐๐ กิโลกรัม รายได้ต่อเดือน ๑๕,๐๐๐ บาท และมีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่าแสนบาท พอผมตรงนี้สำเร็จเพื่อนบ้านคนอื่นก็มาเริ่มปลูกสตรอว์เบอร์รี่เพิ่มขึ้นตามคำแนะนำของผม ทำให้เป็นอาชีพหลักให้กับชาวบ้านในทุกวันนี้ ผมก็ภูมิใจที่ได้ช่วยให้เพื่อนบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นแบบผม ตรงนี้ผมรู้สึกภูมิใจดีใจที่ได้รับโอกาสตรงนี้ และต้องขอบคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๙ และในหลวง รัชกาลที่ ๑๐ ที่ได้เข้ามาดูแลพวกเราให้ได้มีชีวิตที่กินดีอยู่ดีมากๆครับ เพราะไม่ต้องเดินทางไปทำงานในเมืองห่างไกลครอบครัว ทุกวันนี้ผมและเพื่อนบ้านมีอาชีพ มีรายได้ แล้วยังได้อยู่ดูแลครอบครัวอย่างมีความสุขแบบพอเพียงตามพระราชดำรัสในหลวงครับ”
ภายใต้ธุรกิจ ดอยคำยังคงตระหนักอยู่เสมอว่าผลกำไรที่แท้จริงคือ การได้เห็นคนไทยทุกๆ ระดับได้กินดี อยู่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะเมื่อไรที่เรากินดี อยู่ดี เมื่อนั้นย่อมจะหมายถึงความสุขที่ยั่งยืนของคนไทยทุกคน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
เลขที่ ๑๑๗/๑ ถนนพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร ๐๒-๖๕๖๖๙๙๒แฟกซ์ ๐๒-๖๕๖๖๙๙๑
www.facebook.com/DoikhamFP
อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
http://www.doikham.co.th/