เอไอเอ ประเทศไทย ขยายระยะเวลามอบผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เอาประกันภัย

เอไอเอ ประเทศไทย ขยายระยะเวลามอบผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เอาประกันภัย

 

 

 

 

 

เอไอเอ ประเทศไทย ขยายระยะเวลามอบผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เอาประกันภัย

กรณีติดเชื้อ และ/หรือ เสียชีวิต จากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

          

กรุงเทพมหานคร, 17 เมษายน 2563 – จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยปัจจุบันยังมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อสูงอยู่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เอาประกันภัยเอไอเอ ที่ป่วยหรือเสียชีวิตเนื่องจากติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เอไอเอ ประเทศไทย จึงได้ขยายเวลาในการมอบผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติม กรณีติดเชื้อ และ/หรือ เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้แก่ผู้เอาประกันภัยเอไอเอทุกท่าน ทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าประกันกลุ่ม* โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้

 

 

ตารางรายละเอียดความคุ้มครอง

จำนวนเงินเอาประกันภัย

หรือผลประโยชน์

 

  1. 1.   บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน** ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้:

1.1      ผู้เอาประกันภัยได้รับการยืนยันเป็นครั้งแรกว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในช่วงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และ

1.2      ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในในห้องผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Inpatient Room) เนื่องจากติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

      โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อวันให้กับผู้เอา

      ประกันภัย ทั้งนี้ เมื่อรวมกับผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวันของบันทึกสลักหลังผลประโยชน์พิเศษ

      เพิ่มเติมสำหรับการติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่คุ้มครองช่วงวันที่

      19 กุมภาพันธ์ 2563 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2563 (ถ้ามี) แล้ว บริษัทจะจ่ายไม่เกิน 1,000 บาทต่อ

      วันและไม่เกิน 30 วัน

 

 

 

 

1,000 บาท/วัน

 

  1. 2.   บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้:

ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

ในช่วงวันที่ 16 เมษายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563 บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ในกรณีนี้

เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ให้กับทายาทโดยธรรมของผู้เอาประกันภัย

 

50,000 บาท

 

ระยะเวลาคุ้มครอง: ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563

ทั้งนี้ เอไอเอ ประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการขยายระยะเวลามอบผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และเอไอเอ พร้อมยืนหยัดเคียงข้างคนไทยเพื่อผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้อย่างปลอดภัย ด้วยความยึดมั่นต่อคำมั่นสัญญาในการส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้เอาประกันภัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยติดต่อเอไอเอได้ทุกช่องทาง ทั้ง AIA Call Center 1581 เว็บไซต์ www.aia.co.th หรือส่งข้อความผ่านกล่องข้อความ (Inbox) ในช่องทาง Official Facebook เอไอเอ ประเทศไทย ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

เงื่อนไขการรับประกัน:

  • *ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าเอไอเอ ทั้งลูกค้าบุคคล และลูกค้าประกันกลุ่มที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองเท่านั้น
  • **กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเริ่มเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในในห้องผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Inpatient Room) ก่อนวันที่ 16 เมษายน 2563 บริษัทจะเริ่มต้นจ่ายผลประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
  • **บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ในข้อ 1 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเริ่มเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในหลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
  • บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อบริษัทได้รับหลักฐานแสดงถึงเหตุแห่งการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเป็นที่ยอมรับของบริษัทแล้ว
  • จำนวนผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมนี้จะจ่ายให้เพียงหนึ่งฉบับเท่านั้น แม้ว่าผู้เอาประกันภัยจะมีบันทึกสลักหลังผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมสำหรับการติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) แบบฟรีโควิด-19 เฟส 2 มากกว่าหนึ่งฉบับก็ตาม
  • ผลประโยชน์พิเศษนี้ ไม่รวมถึงผู้เอาประกันภัยของบริษัท เอไอเอ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

 

หมายเหตุ

• เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) หมายถึง เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Coronavirus disease starting in 2019) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (WHO) และได้รับการยืนยันผลตรวจโดยวิธี Real-time RT-PCR Panel for Detection 2019-novel coronavirus หรือ Sequencing หรือ Serology 4-fold rising หรือเพาะเชื้อ ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข