กสิกรไทย ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศด้วยบล็อกเชน

กสิกรไทย ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศด้วยบล็อกเชน

 

 

 

 

 

 

กสิกรไทย ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศด้วยบล็อกเชน

 

 

 

 

            กสิกรไทยออกหุ้นกู้ 17 ล้านยูโร อายุ 3 เดือน จับมือสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยเสนอขายบนเทคโนโลยีบล็อกเชนสำเร็จเป็นธนาคารแห่งแรกในไทย ภายใต้โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน หวังเป็นต้นแบบและมาตรฐานสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยในอนาคต

 

          นายจงรัก รัตนเพียร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ได้ดำเนินการเสนอขายและออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศผ่านเทคโนโลยี Distributed Ledger Technology (DLT) หรือบล็อกเชน (Blockchain) ภายใต้โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย ที่เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศผ่านโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมธุรกรรมครั้งนี้

 

         หุ้นกู้สกุลเงินยูโรที่ออกในครั้งนี้ เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 17 ล้านยูโร แบ่งเป็น 17,000 หน่วย อายุหุ้นกู้ประมาณ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 0.52ต่อปี และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อันดับความน่าเชื่อถือระดับสูงสุด F1+(tha)”

 

สำหรับการออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรมูลค่า 17 ล้านยูโรครั้งนี้ อยู่ภายใต้โครงการหุ้นกู้ธนาคารกสิกรไทย วงเงินไม่เกิน 30,000 ล้านบาท ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุญาตให้ธนาคารสามารถเสนอขายหุ้นกู้ภายใต้โครงการ Medium Term Note ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมของธนาคารในการจัดหาช่องทางของแหล่งเงินทุนที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถปรับใช้ได้ตามสภาวการณ์ที่เหมาะสมของตลาดและการดำเนินธุรกิจของธนาคาร

 

นอกจากนี้ การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าการเสนอขายแบบปกติ เนื่องจากธนาคารได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมในตลาดทุนไทย ซึ่งได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ เพื่อยกระดับการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยธนาคารร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก สำนักงาน ก.ล.ต.ให้นำร่องโครงการ Registrar Service Platform Phase 1 (RSP1) และบรรจุอยู่ในโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถือเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนในระยะที่ 1 โดยเทคโนโลยีดังกล่าวมีความปลอดภัยสูง มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับการเสนอขายหุ้นกู้ได้หลายรูปแบบหลายสกุลเงิน

 

          นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ยินดีกับความสำเร็จของธนาคารกสิกรไทยที่เป็นธนาคารรายแรกที่ออกหุ้นกู้โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งหุ้นกู้สกุลเงินยูโรชุดนี้เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันชั้นนำในประเทศหลายแห่ง ที่แสดงความจำนงร่วมใช้งานระบบภายใต้โครงการ Registrar Service Platform Phase 1  ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบงานในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยประยุกต์ใช้ Distributed Ledger Technology (DLT) หรือ Blockchain มาช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลผู้ถือครองตราสารหนี้ที่ผู้ร่วมตลาดทุกรายใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลชุดเดียวกัน

 

          โครงการนี้ประสบความสําเร็จได้จากความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้ไทย อาทิ  ผู้ออกตราสารหนี้  นายทะเบียน  ผู้จัดการการจัดจําหน่าย  ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งมุ่งหวังยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในตลาดแรกของตราสารหนี้ภาคเอกชนให้เป็น DLT Scripless Corporate Bond ซึ่งโครงการ RSP1 จะเป็นก้าวแรกของการกระโดดครั้งใหญ่ของตลาดตราสารหนี้ไทย และจากการจัดการออกและขายหุ้นกู้ของธนาคารกสิกรไทยด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนในครั้งนี้จะเป็นต้นแบบและมาตรฐานในการพัฒนาเพื่อใช้สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยต่อไปได้

 

          นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและตลาดทุนในปัจจุบันจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินยูโร มูลค่า 17 ล้านยูโรของธนาคารกสิกรไทยในครั้งนี้ ยังได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนสถาบันชั้นนำในประเทศหลายแห่ง ทั้งจากกองทุนภายใต้การบริหารของ บลจ. และบริษัทประกันภัย ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่อธนาคารกสิกรไทยในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในครั้งนี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า นอกเหนือจากความเชื่อมั่นของธนาคารเอง ผู้ลงทุนก็มีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีบล็อกเชน ภายใต้โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่พัฒนาโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยเช่นเดียวกันและต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบตลาดทุนไปพร้อม ๆ กัน

 

          ในฐานะตัวกลางในการจัดจำหน่าย จึงเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งต่อผู้ออกหุ้นกู้โดยรวม และผู้ลงทุนในตลาด โดยการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ส่งผลให้ธนาคารมีประสบการณ์ตรงในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ ซึ่งจะทำให้เมื่อต้องรับหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ธนาคารก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ออกตราสารหนี้รายอื่น ๆ ในตลาดได้อย่างมั่นใจ ในขณะเดียวกัน สำหรับผู้ลงทุนในหุ้นกู้ การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ตรวจสอบ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ดังนั้น ธนาคารเชื่อว่าการออกหุ้นกู้ครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญต่อการพัฒนาของตลาดทุนไทยในยุคดิจิทัล

 

          นายศีลวัต สันติวิสัฏฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารกสิกรไทยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาบริการออกหนังสือค้ำประกัน (LG) บนเทคโนโลยีบล็อกเชนสำเร็จเป็นธนาคารแรกของโลก ถือเป็นการยกระดับของระบบงานภายในธนาคาร จนปัจจุบันเป็นหนึ่งในระบบมาตรฐานของการออกหนังสือค้ำประกันของระบบธนาคารในประเทศไทย ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในระบบนี้มาอย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนาต่อยอดไปสู่บริการอื่น ๆ รวมทั้งกระบวนการจัดการและออกหุ้นกู้บนเทคโนโลยีบล็อกเชน เนื่องจากเห็นว่าเทคโนโลยีนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อธนาคารและระบบโดยรวม ทั้งในมุมของฐานข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล และการใช้ประโยชน์ข้อมูลของผู้ร่วมตลาด สามารถการลดต้นทุนการดำเนินงานอย่างมหาศาล ซึ่งการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการออกหุ้นกู้ถือเป็นการยกระดับประสิทธิภาพของระบบงานในหลายแง่มุม และสะดวกต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการออกหุ้นกู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้จองซื้อ ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ นายทะเบียน ผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้สามารถทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นกู้ได้แบบเรียลไทม์ (Real Time) สามารถลดต้นทุนและลดขั้นตอนในการติดต่อสื่อสาร และทำให้การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่วันที่มีจองซื้อหุ้นกู้ จนถึงวันที่หุ้นกู้ครบกำหนดอายุ

 

          ในส่วนของนายทะเบียนหุ้นกู้เอง ก็มีความมั่นใจและได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีล็อกเชนดังกล่าว โดยสามารถจัดการข้อมูล ตรวจสอบ สอบทาน หรือติดตามผู้ถือหุ้นกู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนงานที่เคยใช้คนทำ (Manual) เนื่องจากลักษณะพื้นฐานของเทคโนโลยีของ Blockchain และ smart contract ซึ่งทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และมีความปลอดภัยสูง ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นการอำนวยความสะดวกและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไปพร้อมๆ กันในยุคดิจิทัลนี้

 

ในด้านของผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) นั้น เทคโนโลยีนี้ยังเป็นประตูเชื่อมระหว่างโลกของธุรกิจการรับฝากทรัพย์สินทางการเงินในปัจจุบัน กับโลกของการรับฝากทรัพย์สินดิจิทัล ระบบนี้ทำให้หุ้นกู้ที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงินในปัจจุบันสามารถเก็บในรูปของสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วย และเปิดโอกาสให้มีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ได้อีกมาก อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการให้บริการของผู้รับฝากทรัพย์สินก็อีกด้วย

 

KBank is the first Thai commercial bank to offer foreign currency-denominated debentures via blockchain

 

KASIKORNBANK (KBank) has worked with the Thai Bond Market Association (ThaiBMA) in launching 3-month debentures worth 17 million Euros which are being offered via blockchain under the Regulatory Sandbox  Program. KBank is the first Thai commercial bank to offer such bonds via this innovative technology, with the aim of creating a prototype and setting a standard for the Thai bond market in the future.

Mr. Chongrak Rattanapian, KBank Senior Executive Vice President, noted that in collaboration with ThaiBMA, KBank has issued and offered Euro-denominated debentures to domestic institutional investors via distributed ledger technology (DLT) or blockchain under the Regulatory Sandbox for Capital Market Innovation Development Program. KBank is the first Thai commercial bank to offer the foreign currency-denominated bonds under this program.

These debentures are unsubordinated and unsecured Euro-denominated bonds without debenture holders’ representative. Total issue size is 17,000,000 Euros, or 17,000 units, and tenor of the bonds is approximately 3 months, with an interest rate of 0.52 percent p.a. The debentures are rated F1+(tha), which is the highest rating granted by Fitch Rating (Thailand) Limited.

The issuance of these Euro-denominated debentures amounting to 17 million Euros is under the KBank debenture program worth not exceeding 30,000 million Baht approved by the Office of the Securities and Exchange Commission, as part of the medium-term notes program for a period of two years. The offer of these debentures is part of KBank’s preparedness in seeking funding sources in multiple forms to suit varied market circumstances and its business operations.

This bond offering differs from normal offerings as KBank has made use of innovations in the Thai capital market, adopting blockchain technology in the securities registration work in order to enhance market development. Registrar Service Platform Phase 1 (RSP1) of KBank and the Thai Bond Market Association (ThaiBMA) has been approved by the Office of the Securities and Exchange Commission to be included in the Regulatory Sandbox for Capital Market Innovation Development Program in support of capital market services. This technology, deemed the first phase of infrastructure development of the corporate bond market, is highly secure and flexible, and can support bond offerings in various forms and currencies.

Mr. Tada Phutthitada, ThaiBMA President, said the ThaiBMA was pleased with KBank’s success as the first Thai bank to employ blockchain technology in bond offering. This series of Euro-denominated bonds has been offered to several leading institutional investors in Thailand, all of which have expressed their intention to use the system under RSP1 with application of distributed ledger technology (DLT) or blockchain in creating a dataset of bondholders that is available to all players in the market.

           The success of this project has been realized through the cooperation of related parties in the Thai bond market, for example, bond issuers, registrars, arrangers, representatives of bondholders and securities depository, all of which are determined to build up the primary market’s infrastructure to become a DLT Scriptless Corporate Bond Market. RSP1 will serve as the first move of a great leap in the Thai bond market, while KBank’s bond issuance and underwriting with blockchain technology will be the prototype for and standard of future development.

 

          Mr. Thiti Tantikulanan, KBank’s Capital Markets Business Division Head, said that although the present economic and capital market situations have been seriously affected by the COVID-19 pandemic, this Euro-denominated bond offering of KBank worth EUR17 million has seen much interest from a number of leading Thai institutional investors, including funds managed by asset management companies and insurance companies. Such interest reflects investors’ confidence in KBank as a top Thai financial institution as well as blockchain technology developed by ThaiBMA under the Regulatory Sandbox Program in support of capital market services. In addition, these parties have shown their intent to participate in capital market development.

As an arranger for debenture offering, KBank attaches importance to both the debenture issuers and investors. KBank, as a debenture issuer, has gained direct experience from the current debenture offering, and this will provide KBank greater confidence in offering recommendations to other debenture issuers when KBank again becomes an arranger of bonds in the future. Concurrently, the use of blockchain will enable investors to accurately and quickly sell, verify and access data. KBank is, therefore, upbeat that the current debenture offering will be an important stepping stone for the Thai capital market in the digital era.

Mr. Silawat Santivisat, KBank Senior Executive Vice President, said that KBank is the world’s first commercial bank to have successfully developed the issuance of letter of guarantee (LG) via blockchain technology. The success represents an upgrade in the Bank’s internal operations, and KBank’s blockchain LG is presently part of the LG issuance standards in the Thai banking system. As KBank has always been involved in and placed importance on this system, we have capitalized on blockchain LG to develop other services, management processes and the issuance of debentures, too. As evidenced, this technology greatly benefits KBank and the overall banking system as market participants can immensely cut operating costs via efficient database and data security management, as well as data utilization. The use of blockchain for the issuance of debentures will not only help enhance the efficiency of related operations, but also offer convenience to those involved, including subscribers, debenture holders, registrars, and custodians, because they can access the data in real-time, cut costs and communication processes, and efficiently verify data, from the debentures’ offering date right to their maturing date.      

The debt securities registrar has confidence in this blockchain technology, and has benefited from its capability in managing data, auditing, making inquiries and monitoring the activities of debenture holders with greater speed and accuracy. It can also be used to eliminate tasks that require manual completion, as the fundamental qualities of blockchain technology and smart contract ensure that data remains accurate and is highly secure. Related parties can quickly gain access to relevant information, making the processes convenient and facilitating the Thai bond market’s development in this digital era.

For custodians, the technology serves as a gateway connecting the present-day world of financial custodian services to the world of digital assets custody. This system allows debentures that are financial assets to be stored as digital assets, and opens the door to even more financial innovation, greater efficiency and reduced operating costs for custodians as well.