"อย่าให้กลไกปราบโกงในรธน.ยุคคสช.เป็นเพียงเสือกระดาษ"

"อย่าให้กลไกปราบโกงในรธน.ยุคคสช.เป็นเพียงเสือกระดาษ"

 

 

 

CHANGE The World  รสนา โตสิตระกูล

 

 

"อย่าให้กลไกปราบโกงในรธน.ยุคคสช.เป็นเพียงเสือกระดาษ"

 

 

ข่าวกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่รับคำร้องของคุณปานเทพตัวแทนคปพ.เมื่อวานนี้ (8มิ.ย2560)โดยระบุว่าคำร้องที่ขอให้ศาลรธน.วินิจฉัยร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา77วรรค2นั้นไม่เข้าข่ายที่จะร้องต่อศาล

รธน.ตามมาตรา 213 ที่บัญญัติไว้ในรธน.ฉบับประชามติว่า

"บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคําร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคําวินิจฉัยว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"

ในกรณีนี้มิได้หมายความว่าศาล

รธน.ได้วินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ ปิโตรเลียม(ฉบับที่...) พ.ศ...นั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ในกรณีนี้ ศาลเพียงแต่ยกคำร้องของประชาชนว่าไม่สามารถยื่นผ่านช่องทางมาตรา213ได้ เท่านั้น

ประชาชนเคยคาดหวังว่ามาตรา213 จะเป็นช่องทางใหม่ของประชาชนในการตรวจสอบอำนาจรัฐที่เข้าข่ายเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย หรือการทุจริตในทางนิติบัญญัติ ซึ่งหากปล่อยผ่านไป จะเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในมิติกว้างที่ไม่จำกัดเพียงการละเมิดสิทธิในระดับปัจเจก

บุคคล เพราะการ

ทุจริตในปัจจุบันเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนทั้งสังคม และการทุจริตมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เป็นการร่วมมือกันระหว่างทุนและอำนาจรัฐ ซึ่งกลไกการตรวจสอบทุจริตเชิงนโยบายใน

รธน.เป็นสิ่งที่ต้องมีการทดลองใช้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือจะเป็นเพียงเสือกระดาษ

กรณีร่างแก้ไขพ.ร.บ ปิโตรเลียมฯซึ่งเป็นกฎหมายที่นำมาใช้เป็น

กติกาบริหารทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีมูลค่าปีละประมาณ4-5แสนล้านบาท ความต้องการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯนี้ เนื่องจากพ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2514 มีข้อห้ามต่ออายุสัมปทานในแปลงที่รัฐให้สัมปทานการผลิตครบ2ครั้งแล้ว ซึ่งแปลงเอราวัณ และบงกชเข้าเงื่อนไขห้ามต่อสัมปทานอีก หลังหมดสัมปทานในปี 2565 ,2566 ตามลำดับ จึงทำให้รัฐบาลต้องแก้ไขกฎหมายเพิ่มระบบใหม่คือระบบแบ่งปันผลผลิตมาแทนระบบสัมปทาน ซึ่งระบบแบ่งปันผลผลิตต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติเป็นกลไกบริหารจัดการ

แต่ระบบใหม่นี้ไม่เป็นที่ต้องการของกลุ่มทุนพลังงานที่เคยได้ประโยชน์จากระบบสัมปทาน และยังต้องการคงระบบสัมปทานต่อไปอิทธิพลของกลุ่มทุนพลังงานสามารถครอบงำนโยบายของภาครัฐได้

การเรียกร้องของภาคประชาชนให้มีระบบแบ่งปันผลผลิตและต้องมีกลไกบรรษัทพลังงานแห่งชาติมารองรับการบริหารแปลงเอราวัณและบงกชหลังหมดสัมปทาน แต่ร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงานเพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต แต่ไม่บัญญัติให้มีบรรษัทพลังงานมารองรับการบริหารในระบบใหม่ ซึ่งทำให้ระบบใหม่เป็นเพียงระบบสัมปทานจำแลง เพื่ออำพรางและหลีกเลี่ยงข้อห้ามการต่อสัมปทานใน2แปลงดังกล่าว ซึ่งมีมูลค่าปีละประมาณ2แสนล้านบาท หากต่อสัมปทานให้เอกชน10ปี ก็จะมีมูลค่าประมาณ 2ล้านล้านบาท

การเสนอข้อมูลทางวิชาการ ทำให้รัฐบาลยอมมีมติครม.2ครั้งให้เพิ่มมาตรา10/1 ที่บัญญัติว่า "ให้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อพร้อม" ไว้ในร่างกฎหมายปิโตรเลียมดังกล่าว ซึ่งกว่าจะยอมเพิ่มมาตราดังกล่าว ภาคประชาชนต้องขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างเต็มที่ให้รัฐบาลได้รับทราบข้อมูลทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องใช้เวลาพิจารณากันนานถึง 9เดือน แต่ประชาชนก็ยังเห็นว่า การตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติควรต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนเปิดประมูลแปลงเอราวัณและบงกช ประเทศจึงจะได้ประโยชน์

แต่เมื่อเข้าสู่การพิจารณาวาระ2,3ในสนช.ซึ่งเป็นสภาเสียงข้างเดียว ไม่มีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลกันเหมือนในสภาปกติ เมื่อมีธงให้คว่ำมาตรา10/1 จากมือที่มองไม่เห็น สนช.จึงใช้วิธีล้มมวยด้วยการไม่ให้มีการโหวตมาตรา10/1 แต่ให้กรรมาธิการถอนมาตรา10/1 ออกไปเองซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมของสนช. โดยที่ข้อบังคับการประชุมสนช.เป็นข้อบังคับที่ร่างขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว2557 การผ่านร่างกฎหมายที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมของสนช.ย่อมขัดต่อบท

บัญญัติในรัฐธรรมนูญ

โดยปกติการผ่านร่างกฎหมายในสนช.ไม่เคยมีปรากฎการณ์ว่าสนช.เคยโหวตคว่ำมาตราใดที่กมธ.แก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะเป็นมาตราเพิ่มเติมที่มา

จากมติครม.อีกด้วย ดังนั้นหากปล่อยให้มีการลงคะแนนตามปกติของสนช. มาตรา10/1 ก็จะเป็นมาตราในร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมนี้อย่างแน่นอน แต่ถ้ามีการล็อบบี้ให้โหวตคว่ำมาตรา10/1 ก็จะกลายเป็นว่าสนช.ขัดแย้งกับมติครม. จึงต้องใช้วิธีล้มมวยโดยไม่ให้มีการโหวตมาตรา10/1 ซึ่งไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนในรัฐสภาอันทรงเกียรติ

ร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมที่ผ่านสนช.อย่างไม่ตรงไปตรงมาเช่นนี้ หากเป็นสภาในยุคสมัยปกติที่มีพรรคเสียงข้างมาก และเสียงข้างน้อย และวุฒิสภา ผู้แทนเหล่านั้นก็ยังสามารถเข้าชื่อเพื่อยื่นเรื่องนี้สู่ศาลรธน.ได้

แต่ในยุคนี้ที่มีสภาเสียงข้างเดียว อาจจะยิ่งร้ายแรงกว่าสภาเผด็จการเสียงข้างมาก เพราะในยุคสภาเผด็จการเสียงข้างมาก ก็ยังมีเสียงข้างน้อยคอยถ่วงดุล แต่ในยุคสภาเผด็จการเสียงข้างเดียว ย่อมไม่มีผู้แทนปวงชนที่จะมาถ่วงดุลด้วยการส่งร่างกฎหมายที่ขัดกระบวนวิธีในทางนิติบัญญัติให้ศาล

รธน.วินิจฉัยเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

เมื่อศาลรธน.ได้ปิดประตูไม่รับคำร้องของประชาชนเพื่อให้มีการตรวจสอบว่าร่างกฎหมายปิโตรเลียมที่ผ่านสนช.โดยขัดต่อข้อบังคับการประชุมของสนช.นั้น จะชอบด้วย

รธน.หรือไม่นั้น ก็เท่ากับว่าในยุครัฐบาลอำนาจพิเศษที่มีสภาเสียงข้างเดียวเป็นที่ผลิตกฎหมายตามออเดอร์ หากเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์เอกชนยิ่งกว่าประโยชน์ประเทศชาติโดยขัดหลักนิติธรรมเสียแล้ว ก็แทบจะไม่มีกลไกตรวจสอบ ถ่วงดุลกันได้เลย

ดิฉันยังรอทดสอบองค์กรอิสระอีกองค์กรหนึ่งคือผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่สามารถรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและสามารถส่งเรื่องให้ศาล

รธน.วินิจฉัยได้ หากองค์กรนี้ปิดประตูต่อประชาชนอีกองค์กร ก็จะเป็นข้อพิสูจน์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงนี้ คงเป็นได้แค่เสือกระดาษเท่านั้นเอง

รสนา โตสิตระกูล

9 มิ.ย 2560