สแกน..จิตวิญญาณ พัฒนาชุมชน…รุ่งสุริยา เชียงชีระคนเชียงใหม่ครองใจชนะ 4 สมัย

สแกน..จิตวิญญาณ พัฒนาชุมชน…รุ่งสุริยา เชียงชีระคนเชียงใหม่ครองใจชนะ 4 สมัย

 

 

 

CHANGE in-your-life เรื่อง : ปราริชาติ ปลื้มจิตต์ตระกูล

 

 

สแกน..จิตวิญญาณ พัฒนาชุมชนรุ่งสุริยา เชียงชีระคนเชียงใหม่ครองใจชนะ 4 สมัย บริหารงานท้องถิ่นไทย..ดังไกลระดับชาติ..ใช้ศาสตร์องค์ความรู้คู่ชุมชน .อบต.ช่วงเปา ของหมู่เฮาชาวล้านนา.

 

      องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ตั้งแต่แยกท่าลี่ บนถนนสายฮอด-เชียงใหม่(ทางหลวง108)จนถึงทางขึ้นดอยอินทนนท์ พื้นที่ รับผิดชอบทั้งหมด 50 ตารางกิโลเมตร 

 

     หน่วยงานราชการ นี้มีความโดดเด่น ด้วยผู้บริหาร คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นนักพัฒนาชุมชนในระดับท้องถิ่น แต่ฝีมือความตั้งใจอยู่ในระดับชาติ อีกทั้งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ไฟการทำงานยังแรงกล้า ขันอาสาโดยสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นนายกเพื่อคนตำบลข่วงเปา ที่สำคัญ ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน และได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกอบต.มา3สมัยรวด จนเข้าวาระที่ 4ในปัจจุบัน เป็นเรื่องย่อมไม่ธรรมดา

 

 

      นายรุ่งสุริยา เชียงชีระ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ในวัย 50 ปี เป็นคนอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เล่าว่า ตนเองมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะเข้ามาช่วยชุมชน จึงลงสมัครเลือกตั้งเพื่อเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ในปี .2552 ครี้งแรกไม่ผ่านการเลือกตั้งสมัยนั้น แต่ก็ตั้งใจทำงานโดยหางบประมาณอื่นๆ มาช่วยเหลือชุมชน เรื่องปัญหายาเสพติด โดยมี ...ภาค5สนับสนุนงบประมาณ ทั้งระดับจังหวัดเชียงใหม่และอำเภอจอมทองด้วย ลงพื้นที่ทำงานมาประมาณ3-4ปีเพื่อให้ชุมชนปลอดจากยาเสพติดติด พอมีการเลือกตั้งครั้งต่อมา ลงสมัครอีกครั้ง และชนะการเลือกตั้งมีคะแนนนำคู่แข่งกว่า 500 เสียง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็พัฒนาชุมชนช่วงเปามาอย่างต่อเนื่องเป็นที่ถูกใจประชาชน พร้อมกับปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มีศักยภาพ จนได้รับรางวัลระดับประเทศ สูงสุดคือรางวัลพระปกเกล้าทองคำ 4 ปีซ้อน ด้านความโปร่งใสการมีส่วนร่วมของประชาชน และรางวัลบริหารบ้านเมืองที่ดีจากสำนักนายกรัฐมนตรี 4 ปีซ้อน 

 

     องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา มีชาวบ้านอยู่ในปกครองประมาณ 30,000 ครัวเรือน จำนวนประชากร 6,300 คน โดยนายกรุ่งสุริยา อธิบาย ความรับผิดชอบการทำงานของอบต ว่า ถ้าตอบแบบง่ายๆในอดีตคือ ทำให้น้ำไหลไฟสว่าง แต่ปัจจุบันคือการดูแลคุณภาพชีวิต การประสานนโยบายเพื่อให้ประชาชนลดความยากลำบากลง มุ่งเน้นการช่วยเหลือและส่งเสริม ไม่ได้เน้นเป็นตัวเงิน แต่ประสานงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อื่นๆเข้ามาช่วยเหลือ

 



 

  ก่อนที่จะมาลงสมัครเลือกตั้งเป็นนายกอบต.ข่วงเปา นั้น ผมเคยเป็นพนักงานบริษัททำดอกไม้ประดิษฐ์ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล พบเจอคนประมาณ 2,000 กว่าคน ในปีพ..2545 ช่วงนั้นประเทศไทยเราบูมมาก เศรษฐกิจดี บริษัทเล็กๆ มีพนักงานเกือบ2,000 คน แต่การมาสมัครเป็นนายกอบต.ของผมนั้น มันเป็นจิตวิญญาณผมไปอ่านหนังสือ เจอประโยคที่ว่า “การช่วยเหลือผู้อื่นเพียงน้อยนิดถือว่าได้ทำดีแล้ว ถึงแม้ปัญหาเขาจะยิ่งใหญ่ แต่เราได้มีส่วนช่วยเหลือเขานิดหน่อยก็แสดงว่านี่คือการพัฒนา “

 

     นายกรุ่งสุริยา เล่าถึงการเลือกตั้งที่ผ่านมาในช่วงปลายปีที่แล้วว่า อบต.ข่วงเปามีคนใช้สิทธิ์4,200คน มีคนมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง3,800 คน เราได้คะแนนเสียง 2,100 คะแนน แม้จะชนะการเลือกตั้ง แต่ก็ยังไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะหนึ่งเสียงสำหรับผมมีประโยชน์ แต่ผมมีจุดมุ่งมั่นว่า เราต้องรณรงค์เรื่องประชาธิปไตย ไม่ให้มีการซื้อขายเสียง ทุกวันนี้องค์ประกอบการเป็นนักการเมือง คำที่ใช้ได้คือ “เงินไม่มา กาไม่เป็นเป็นอมตะ ผมไม่รู้จะทำอย่างไร สำหรับผมใช้ความจริงใจ ยกตัวอย่างเช่น เรามีเพื่อนอยู่ 5 คน ใน5คนนี้เราไม่รู้หรอกว่าคนไหนจะช่วยเรา หรือไม่ช่วยเรา ดังนี้นเราต้องช่วยเขาทั้งหมด 5 คน สุดท้ายการเลือกตั้งจะบอกเราว่า 5คนนี้จะเลือกเราหรือไม่เราต้องจริงใจกับเพื่อนด้วย

 

     หลักการทำงานของผมแบบง่ายๆ คือ รู้เขารู้เรา รู้เขาคือยึดกฎหมายเป็นหลัก รู้เราคือ เรามีความรู้หรือไม่ในเรื่องที่เราทำ ถ้าเราไม่รู้ เราต้องมีโค้ชเราต้องถาม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ และพยายาม โดยนักบริหารรุ่นใหม่ต้องศึกษากฎหมาย คือปฏิบัติตามระเบียบ ถ้าทำนอกกฎหมายหมายถึง ติดคุก สำหรับการบริหารชุมชนนั้น หลักการทำงานใช้วิธีการอธิบาย ให้ประชาชนเข้าใจ เช่นกฎหมายที่ดิน ถ้าคุณครอบครองที่ดินคนอื่นถือว่าเป็นการบุกรุกผิดกฎหมาย แต่ถ้าคุณไปเจรจากับเจ้าของ แล้วเปลี่ยนเป็นเช่า คุณก็จะอยู่ในที่ดินเขาได้ ส่วนการครอบครองโดยปรปักษ์ ก็มี บ้าง แต่คนเมืองเหนือคนพื้นบ้านเราจะมีความละอายใจสูง จะไม่โกง เช่น ถ้ามีการบุกรุกที่ดินคนอื่นมา10 ปีวันใดเจ้าของมาเอาคืน เขาก็พยายามที่จะประนีประนอม ไม่เหมือนคนที่อื่นจนถึงขั้นฟ้องร้องกัน

 




 

     สำหรับปัญหาในท้องถิ่น ในอดีตเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา..เป็นเรื่องถนน น้ำประปา ไฟฟ้าแต่พอผ่านมาเวลานี้เราจะเจอปัญหาเรื่อง คุณภาพชีวิต คือ คนจน จนจริงๆ จนไม่มีที่อยู่จนเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ จนแบบไม่มีเพื่อนฝูง เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น วันนี้เราช่วยได้คนที่จนแบบไม่มีที่อยู่ เราจัดสรรหาที่อยู่ให้ เรากำลังทำหมู่บ้านหนึ่งที่แพ้คดีจากศาลฎีกา แล้วป่าไม้ยกที่ดินให้เรา โดยจัดหางบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนมาช่วย ตอนนี้คนเหล่านี้มีที่อยู่ เป็นโมเดลระดับประเทศ ไม่ใช่เฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น ซึ่งพวกเขาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

     ส่วนการบริหารงานแบบท้องถิ่นที่สามารถโชว์ให้ระดับประเทศรับรู้ นั้น เราทำงานเป็นระบบเครือข่าย มีภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคสังคมร่วมมือกันจนประสบผลสำเร็จเราได้รางวัลผู้สูงอายุระดับประเทศ เป็นรางวัลผู้สูงอายุต้นแบบ แต่เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤตโควิดจะไม่มีการทำกิจกรรม เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จัดทำเป็นโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เกิดขึ้นในปี 2557 เป็น 1 ใน 10 โรงเรียน แต่ปัจจุบันมีอยู่เต็มประเทศเป้าหมายหลักๆ มีอยู่ 2 อย่าง 1.ให้ผู้สูงอายุไม่เหงา ไม่ติดบ้านและไม่ติดเตียง 2.ผู้สูงอายุต้องมีองค์ความรู้ คือ สอนให้ทำเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น สอนเรื่องการนวด และในวันที่ 11 เมษายนนี้ จะมีผู้สูงอายุมาที่อบต.ข่วงเปาโดยจะมีการสอนทำตุงเอาไว้ติดประดับช่วงสงกรานต์ ด้วย ซึ่งนายกรุ่งได้ อธิบายคำว่า “ข่วงเปา “ภาคเหนือ ไว้ว่า ข่วงแปลว่าลาน เปาเป็นต้นไม้ สมัยก่อนที่นี่เป็นป่าที่เต็มไปด้วยต้นไม้เปา ช่วงเปาคือ ลานต้นไม้

 

     โครงการใหม่ที่วางแผนไว้นั้น ผมตั้งใจทำเรื่องเศรษฐกิจชุมชน บนถนนทางหลวง108 เป็นถนนสายหลักเชียงใหม่-จอมทอง ใครมาเชียงใหม่ต้องมาดอยอินทนนท์ เรามีโครงการเปิดตลาด “ถนนคนเดิน “กำลังทำความร่วมมือกับชมรมการท่องเที่ยวของจอมทอง เขาพยามจะไปเปิดที่เทศบาลจอมทองแต่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับอบต.ข่วงเปาคิดว่าอย่างไรก็ต้องจัดทำด้วยองค์กรของเราเอง ซึ่งกำลังศึกษาพื้นที่จัดสร้าง อาจเป็นช่วงทางขึ้นดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นโครงการหลักที่จะสร้างรายได้ตลอดจนอาชีพให้ชุมชน นอกจากนี้ผมจะสร้างสนามกีฬากลางตำบลให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่ออกกำลังกาย โดยอยู่ระหว่างประสานของบประมาณส่วนกลาง ส่วนถนนคนเดินตั้งใจว่าจะเป็นรูปธรรมไม่เกินปีพ..2566 ที่จะสร้างขึ้น ผมกำลังศึกษาว่าจะใช้พื้นที่ตรงไหนเหมาะสมและกลุ่มชาวบ้านที่มาเข้าร่วมโครงการถนนคนเดินคิดว่าไม่ใช่แค่ชาวจอมทองเท่านั้นอาจจะเป็นใครก็ได้ที่อยากมีรายได้เลี้ยงชีวิต

 

     หลักการดำเนินชีวิตของผม คือ น้อมนำคำพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ “กำไรคือขาดทุน “ยกตัวอย่าง วันนี้เราทำบางเรื่องทรัพยากรท้องถิ่นอาจจะถูกทุ่มเทไปให้อย่างเต็มที่ ซึ่งเงินที่ได้กลับมาอาจไม่ได้เท่ากับการลงทุน แต่เราได้อาชีพ เมีงานให้คนได้ทำเราได้ความสุขคืนมา

 

     ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าทำไมอยากเป็นนายกอบตนายกรุ่งสุริยา บอกว่า ต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณจะเป็นได้ไหม คุณจะผ่านการเลือกตั้งหรือไม่ ถ้าคุณอยากเป็นผมคิดว่าวันนี้ปัจจัยสำคัญคือ การซื้อเสียง เป็นเรื่องที่ผมต่อต้าน เพราะนักการเมืองใหม่ความสามารถมีแต่ขาดโอกาส ผมคิดว่าใครที่จะมาเป็นนายก เป็นได้หมด แต่อยากให้เป็นโดยมีนโยบายเป็นของตนเอง ยึดพี่น้องประชาชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าคะแนนเสียงส่วนใหญ่จะเป็นของเรา ส่วนน้อยจะไม่เลือกเรา แต่มันคือ วิถีทางแห่งประชาธิปไตย โดยปัจจุบันนี้ ปัญหาชุมชนมี2อย่าง คือ 1.มาจากประชาชนเอง 2.เรามองเห็นจากชุมชนนอกนั้นสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา สิ่งที่ผมได้รับการคัดเลือก ผมเชื่อว่า สามารถตอบโจทย์เรื่องปัจจัยพื้นฐาน เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรามีบริการรถกู้ชีพฉุกเฉิน24ชั่วโมง โดยทุ่มงบประมาณไปก่อนหน้านี้เยอะมาก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิสมเด็จย่าราชประชาสมาสัย ตลอดจนภาคเอกชนร่วมบริจาค นำมาจัดซื้อแพมเพิส ถุงยังชีพให้กับครอบครัวที่มีภาวะนอนติดเตียงโดยไม่ใช้งบของอบต.ทำเป็นประจำมาทุกปี เข้าถึงกลุ่มประชาชนโดยตรง บางคนไปหวังงบประมาณจากอบต.เทศบาล ซึ่งกฎหมายไม่มีให้ทำ ผมได้เงินบริจาคจากมูลนิธิสมเด็จย่าและเอกชนบางส่วนจัดถุงยังชีพมาสนับสนุนเรา ผมมีเพื่อน และมีข้อมูลชัดเจน ว่าตอนนี้มีผู้ป่วยนอนติดเตียง 11 คน ผมรู้พื้นที่ความรับผิดชอบตัวเองทั้งหมด เพราะฉะนั้นใครจะมาหลอกไม่ได้

 

     ตอนนี้เราทำระบบน้ำ ผมมีความพยายามทำให้ข่วงเปา เป็นเมืองที่มีระบบการบริหารน้ำได้ดี มีระบบน้ำเติมเข้าไปในชุมชน น้ำเกษตร น้ำกินน้ำใช้ ข่วงเปาจะเป็นตำบลแรกๆ ที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ แม้แต่ช่วงหน้าแล้ง ก็ตาม ซึ่งเราอาจเป็นต้นแบบให้หลายๆแห่งได้นำไปเป็นแนวปฏิบัติ ที่นี่เราทำงานร่วมมือกัน มีสมาชิก อบตกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ข้อมูล .วันนี้โครงการประปาขนาดใหญ่ซึ่งมีมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ก็มาจากข้อมูลเกษตรกรที่มีความเดือดร้อน ทางกรมทรัพยากรน้ำลำปาง ให้เราจัดสรรน้ำประปาแจกจ่าย 3หมู่บ้านซึ่งดำเนินการติดตั้งแล้วสามารถแจกจ่ายน้ำได้ทันที

 

    สำหรับผมการเป็นนายกอบต มีห้วงเวลา 4โมงเย็นจะต้องไม่มีงานค้างบนโต๊ะ งานอะไรที่เป็นของชุมชนเราจะไม่ทิ้ง ทำไม่ได้ส่งต่อทันที เช่นงานทะเบียนราษฎร์ไม่ถูกต้องส่งต่อปลัดอำเภอ หลักการทำงานของผม คือ “ต้องมีเพื่อน อ่านหนังสือตลอดเวลาติดตามข่าวสารบ้านเมืองของรัฐบาล การปกครองประเทศไม่มีใครเป็นพระเอก คือประชาชนทุกคน ถ้าไม่มีใครเดือดร้อน เรียกว่าเป็นปกติสุข เขาถามว่าผู้นำคือใคร และผู้นำมาจากไหนด้วย ประเทศไทยถ้าจะก้าวผ่านปัญหา ผู้นำต้องมีที่มาไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างเดียว ผมเคยออกโมเดลให้กับคณะงานวิจัยที่มาจากส่วนกลาง นายกในฝัน หมดรุ่นเราเป็นอย่างไร ผมบอกว่า เปิดโรงเรียนนายก คนจะเป็นต้องมาเข้าโรงเรียน อบรมแสดงเจตนารมณ์ สอบเอาใบประกาศว่าผ่านหลักสูตรนี้แล้ว เป็นมิติใหม่ที่ต้องทำเพราะ วิทยากรที่จะมาสอน ต้องมาจากหลากหลายอาชีพ ครูหมอ สื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิหลักสูตรหนึ่งต้องมี 46 คณะรัฐมนตรี มีนายกอบต.สักกี่คนที่อธิบายกฎหมายที่ดินได้บ้าง หมายถึงนายกต้องรู้แต่ไม่จำเป็นต้องชำนาญ นส.3ต่างกับครุฑแดงอย่างไร ถ้าเป็นครุฑแดงทำนิติกรรมได้หมด มีนายกอบต.หลายๆคนคิดจะทำเรื่องผู้สูงอายุ แต่ไม่รู้ว่าผู้สูงอายุคือใคร การทำผู้สูงอายุให้เข้มแข็ง จะไปตอบโจทย์ชุมชน ไม่เป็นภาระลูกหลานสอนเด็กได้ จัดการขยะได้ ป้องกันโควิดได้ด้วยตนเอง เมื่อ20ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุยังไม่มีองค์ความรู้เพียงพอ สามารถเรียนรู้ขับรถ ใช้โทรศัพท์เป็นตามยุคสมัยการปกครองท้องถิ่นต้องเป็นไปตามสถานการณ์โลก

 

     มีคำถามจากประชาชนบางคนว่านายก ไม่เอาประชาชน ถ้าหมายถึงผมนั้น ผมขออธิบายว่า ยกตัวอย่าง คน10 คนผมไปพูดเรื่องน้ำ มี2คนไม่ฟังเลยเพราะไม่ใช่เพื่อนเราเป็นฝั่งตรงข้าม เป็นคู่แข่งทางการเมือง อีก 3 คนพร้อมนั่งฟัง อีก 5 คนยังไม่ได้พูดเลยเห็นด้วยกับนายกอบต.แล้ว และผมขอยกตัวอย่างถึงท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาหรือบิ๊กตู่ ที่มีนโยบายแจกเงิน 500 บาท 300 บาทนั้น คนส่วนใหญ่ที่ได้รับ ก็ชมว่าดีหมด คนที่ไม่ได้รับเงินบอกสิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้นเราต้องเชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตยใครได้เสียงข้างมาก ผู้นั้นเป็นผู้สามารถทำตามสิทธิ์นั่นไป

 

 

 




 

 

  นายรุ่งสุริยา เชียงชีระ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปานายกอบต.3 สมัย และกำลังปฏิบัติหน้าที่ในสมัยที่ 4 บอกถึงสถานการณ์โควิดว่า เราต้องดูแลตนเอง เพราะรัฐบาลที่ผ่านมานั้นได้ทุ่มเททรัพยากรหมดแล้ว เมื่อโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น ทุกคนควรตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อมีอาการป่วยต้องไปพบแพทย์ ที่สำคัญทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกาย ในฐานะที่ผมเป็นผู้นำท้องถิ่นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้มาดูแลทุกท่าน ความยากลำบากของมนุษย์มีอยู่ 2เรื่อง ความไม่สบาย หนักใจต่อไปคือใครจะช่วยเรา ผมในฐานะนายกอบต.ข่วงเปาพร้อมจะช่วยเหลือพวกท่าน ขอให้ผ่านวิกฤตโควิดไปด้วยกันครับ

 

     หนึ่งนักคิด นักพัฒนา ..ลีลาการทำงานใช้จิตวิญญาณ ตามอุดมการณ์เพื่อชุมชน นักบริหาร การเมืองระดับท้องถิ่นไทย..การันตีผ่านการคัดเลือกแบบประชาธิปไตยมา4สมัย นักปกครองล้านนาไทยบันทึกชื่อไว้ รุ่งสุริยา เชียงชีระ นายกอบต.คนรุ่นใหม่จริงใจ เข้าถึงง่าย จึงชนะใจมวลชน คนข่วงเปา.