“ชลิตฯ” จับมือ มจธ. มอบรางวัลวิจัยดีเด่น “ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020”

“ชลิตฯ” จับมือ มจธ. มอบรางวัลวิจัยดีเด่น “ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020”

 

 

 

 

 

“ชลิตฯ” จับมือ มจธ. มอบรางวัลวิจัยดีเด่น “ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020”

 
 
 
 
 
การศึกษา...มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถ และพัฒนาตนเอง
มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกายและสังคม ให้มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพ รวมทั้งยังสามารถช่วยแก้ปัญหาหลายๆด้าน ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตและภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้การศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นเพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆด้านทั้งการพัฒนาตนเองและประเทศชาติต่อไป...
 
 
เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษา บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และอะไหล่ยาง ภายใต้แบรนด์ “POP” จึงจัดตั้งโครงการ “ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020”  (Chalit Industry Award 2020)” โดยความร่วมมือของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อช่วยส่งเสริมและเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้กับน้องๆเยาวชนไทย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและประเทศชาติ
 
 
โดยเมื่อเร็วๆนี้ ผศ.นิธิ บุรณจันทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมด้วย นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ และทีมผู้บริหารบริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด มอบรางวัลวิจัยดีเด่นและใบประกาศเกียรติคุณฯ โครงการ  “ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020” โครงงานปริญญานิพนธ์ดีเด่นด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ประจำปี 2563 สำหรับนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4  โดยมี รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์  หัวหน้าศูนย์ศูนย์วิจัยและบริการวิศวกรรมการเชื่อมฯ ร่วมแสดงความยินดีฯ ณ ห้องประชุม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ  มจธ.เมื่อเร็วๆนี้
 
 
นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด กล่าวว่า นับเป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับน้องๆ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับการเรียนรู้เสมอ เหมือนที่น้องๆได้มีการเรียนรู้ วิจัยและพัฒนาโครงงานฯอย่างสร้างสรรค์ โดยนำมาใช้ได้จริง
 
 
ทั้งนี้โครงการ “ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020”  จึงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการฯที่ช่วยสานต่อเจตนารมณ์และนโยบายเพื่อสังคมของบริษัทฯ โดยเล็งเห็นว่า ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ ได้มีความมุ่งมั่นในการสร้างบุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตฯ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมการผลิตที่ดีเยี่ยมทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
 
  

ทางด้าน ผศ.นิธิ บุรณจันทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีวิสัยทัศน์ที่สำคัญคือ มุ่งมั่นในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีบทบาทโดดเด่นด้านการวิจัย พัฒนาและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมะกับสมกับทางเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งงานวิจัยในสาขาของภาควิชาวิศวกรรม
อุตสาหการ เป็นงานที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมมากที่สุดสาขาหนึ่งของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งนักศึกษานับเป็นนักวิจัยคนรุ่นใหม่ที่จะนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติและต่อยอดได้อย่างดี และเป็นเรื่องดีที่ได้มีการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมภายนอก อย่างบริษัทชลิต อินดัสทรีฯ ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยได้โจทย์วิจัยใหม่ๆ เพื่อการวิจัยและการพัฒนาต่อไปที่เหมาะกับภาคอุตสาหกรรมจริงๆ
 
 
ทั้งนี้ โครงงานปริญญานิพนธ์ดีเด่นด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ประจำปี 2563 ที่ได้รับรางวัล ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020 ประกอบด้วย 4  โครงงานปริญญานิพนธ์ดีเด่นด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ทางด้านต่างๆ ได้แก่
1.) ด้านเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพของเนื้อโลหะเชื่อมในวัสดุอลูมิเนียมผสมโดยใช้กระบวนการเชื่อมแบบผสมของกระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะแกสคลุมและกระบวนการเชื่อมอาร์กทังสเตนแกสคลุม โดยนางสาววรรณรัตน์  สุขเกษมทรัพย์,นางสาวศุภนิดา พรหมมา และนายพิชชากร เจียนระลึก
2.) ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีComputer vision และ Machine Learning ซึ่งเป็นการศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์และการเรียนรู้จักรกลในงานตรวจสอบงานเชื่อมต้านทานแบบจุด โดย นายวัชนันท์ พิริยบรรเจิด, นางสาวธัญญารัตน์  สาคำไมย์ และนายรุ่งโรจน์  แก้วศรี
3.) ด้านการเพิ่มผลผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของกระบวนการผลิตชิ้นส่วน Shaft ใน อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยนางสาวสุณัฐชา หนูแก้ว และนางสาวปฐมธร ขำวงศ์
4.) ด้านการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นการใช้เครื่องทดสอบโช๊คอัพในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยนายพิสิษฐ์ ทองใส,นายวิศิษฐ์ บุญพรม และนางสาวณัฏฐริดา บุทธยักษ์
 
 
ทั้งนี้ โครงการ “ชลิต อินดัสทรี อวอร์ด 2020 (Chalit Industry Award 2020)” เป็นต้นแบบของรางวัล และเป็นกำลังใจอีกทางหนึ่ง ซึ่งคาดว่านักศึกษาเหล่านี้จะนำผลงานไปพัฒนาและต่อยอดความรู้ ความสามารถที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป....