"อย่ารอถั่วสุก จนงาไหม้"
CHANGE Environment
"อย่ารอถั่วสุก จนงาไหม้"
สื่อยังมีความเข้าใจผิด ที่รายงานว่า"กระทรวงการคลังให้ชะลอการคืนภาษีไว้ก่อน" หากมิใช่กระทรวงการคลังให้ข่าวคลาดเคลื่อนเสียเอง เพราะในความเป็นจริงไม่มีสิ่งที่เรียก"ชะลอการคืนภาษีให้บริษัทน้ำมัน"
เนื่องจากที่ผ่านมา มีการตีความว่าการส่งน้ำมันไปยังแท่นขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีปถือเป็นการส่งออก ดังนั้นภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันจะถูกถอดออกตั้งแต่ต้นทางที่ส่งน้ำมันออกจากด่านมาบตาพุด เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการคืนภาษีให้บริษัทน้ำมันอีก
คำว่า"ชะลอคืนภาษี" จึงอาจจะหมายถึงการชะลอเรียกคืนภาษีจากบริษัทน้ำมันต่างหาก ใช่หรือไม่?
หากต้องรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความข้อกฎหมายเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งไม่ทราบว่าจะใช้เวลานานสักเท่าไหร่ ถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกาต้องใช้เวลาตีความกฎหมายนานสัก1ปี หมายความว่าประเทศชาติต้องเสียประโยชน์เรื่องภาษีที่รัฐจะเรียกคืนจากบริษัทน้ำมันไปนานเท่านั้นใช่หรือไม่?
ยิ่งกว่านั้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทเชฟรอนได้จ่ายให้กรมสรรพากรไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะเป็นการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานราคาเนื้อน้ำมันที่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมัน
หากมีการสรุปได้ว่าการส่งน้ำมันไปที่แท่นขุดเจาะคือการค้าชายฝั่งที่ต้องเสียภาษีตามปกติ จะต้องมีการเรียกเก็บภาษีคืนจากบริษัทเชฟรอน ก็จะยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะการออกหมายเรียกบริษัทน้ำมันมาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอายุความ5ปี กรณีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี2554 จึงอาจมีภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วนที่หมดอายุความไปแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ และถ้ายิ่งปล่อยให้การจัดการเรื่องนี้เนิ่นช้าออกไป ก็หมายถึงจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประเมินไม่ถูกต้องทะยอยหมดอายุความไปเรื่อยๆโดยที่รัฐเรียกเก็บไม่ได้ ใช่หรือไม่?
จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลัง ปลัดคลัง อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพากร และผู้บริหารท่านใดก็ตามที่เห็นร่วมกันว่าต้องยื้อเวลาเพื่อตีความเรื่องนี้ใหม่อีกครั้งเพื่อให้ความเป็นธรรมกับข้าราชการและบริษัทน้ำมัน ก็ช่วยพิจารณาให้ความเป็นธรรมต่อประเทศด้วย กล่าวคือ หากกฤษฎีกาวินิจฉัยซ้ำอีกว่าการส่งน้ำมันไปยังแท่นขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีป ถือว่าเป็นการค้าขายในราชอาณาจักร ที่ต้องเสียภาษี ก็ขอให้บุคคลที่กล่าวถึงข้างต้น แสดงความรับผิดชอบภาษีที่รัฐเรียกคืนไม่ได้ โดยคนเหล่านี้ร่วมกันรับผิดชอบจ่ายคืนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รัฐเหมือนกรณีจำนำข้าวด้วย ทั้งนี้นอกเหนือจากความผิดในฐานการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
รสนา โตสิตระกูล
5 พ.ย 2559
"อย่ารอถั่วสุก จนงาไหม้"
สื่อยังมีความเข้าใจผิด ที่รายงานว่า"กระทรวงการคลังให้ชะลอการคืนภาษีไว้ก่อน" หากมิใช่กระทรวงการคลังให้ข่าวคลาดเคลื่อนเสียเอง เพราะในความเป็นจริงไม่มีสิ่งที่เรียก"ชะลอการคืนภาษีให้บริษัทน้ำมัน"
เนื่องจากที่ผ่านมา มีการตีความว่าการส่งน้ำมันไปยังแท่นขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีปถือเป็นการส่งออก ดังนั้นภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันจะถูกถอดออกตั้งแต่ต้นทางที่ส่งน้ำมันออกจากด่านมาบตาพุด เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการคืนภาษีให้บริษัทน้ำมันอีก
คำว่า"ชะลอคืนภาษี" จึงอาจจะหมายถึงการชะลอเรียกคืนภาษีจากบริษัทน้ำมันต่างหาก ใช่หรือไม่?
หากต้องรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความข้อกฎหมายเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งไม่ทราบว่าจะใช้เวลานานสักเท่าไหร่ ถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกาต้องใช้เวลาตีความกฎหมายนานสัก1ปี หมายความว่าประเทศชาติต้องเสียประโยชน์เรื่องภาษีที่รัฐจะเรียกคืนจากบริษัทน้ำมันไปนานเท่านั้นใช่หรือไม่?
ยิ่งกว่านั้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทเชฟรอนได้จ่ายให้กรมสรรพากรไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะเป็นการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานราคาเนื้อน้ำมันที่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมัน
หากมีการสรุปได้ว่าการส่งน้ำมันไปที่แท่นขุดเจาะคือการค้าชายฝั่งที่ต้องเสียภาษีตามปกติ จะต้องมีการเรียกเก็บภาษีคืนจากบริษัทเชฟรอน ก็จะยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะการออกหมายเรียกบริษัทน้ำมันมาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอายุความ5ปี กรณีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี2554 จึงอาจมีภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วนที่หมดอายุความไปแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ และถ้ายิ่งปล่อยให้การจัดการเรื่องนี้เนิ่นช้าออกไป ก็หมายถึงจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประเมินไม่ถูกต้องทะยอยหมดอายุความไปเรื่อยๆโดยที่รัฐเรียกเก็บไม่ได้ ใช่หรือไม่?
จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลัง ปลัดคลัง อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพากร และผู้บริหารท่านใดก็ตามที่เห็นร่วมกันว่าต้องยื้อเวลาเพื่อตีความเรื่องนี้ใหม่อีกครั้งเพื่อให้ความเป็นธรรมกับข้าราชการและบริษัทน้ำมัน ก็ช่วยพิจารณาให้ความเป็นธรรมต่อประเทศด้วย กล่าวคือ หากกฤษฎีกาวินิจฉัยซ้ำอีกว่าการส่งน้ำมันไปยังแท่นขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีป ถือว่าเป็นการค้าขายในราชอาณาจักร ที่ต้องเสียภาษี ก็ขอให้บุคคลที่กล่าวถึงข้างต้น แสดงความรับผิดชอบภาษีที่รัฐเรียกคืนไม่ได้ โดยคนเหล่านี้ร่วมกันรับผิดชอบจ่ายคืนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รัฐเหมือนกรณีจำนำข้าวด้วย ทั้งนี้นอกเหนือจากความผิดในฐานการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
รสนา โตสิตระกูล
5 พ.ย 2559