โครงการจัดทำหนังสือสมเด็จพระสังฆราช
โครงการจัดทำหนังสือสมเด็จพระสังฆราช
หลักการและเหตุผล
สมเด็จพระสังฆราช คือ ประมุขสูงสุดของศาสนจักรในประเทศไทย ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความเจริญก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาในทุกๆ ด้าน สมเด็จพระสังฆราช ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีทั้งหมด ๑๙ พระองค์ ด้วยกัน และมีประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะบันทึกประวัติและผลงานต่างๆ ของพระสังฆราชทั้งหมดไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้
บทบาทของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการความเจริญก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน เช่น การปกครองคณะสงฆ์ไทย การศึกษาของคณะสงฆ์ไทย รวมถึงการส่งพระสงฆ์ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศด้วย
นอกจากนั้นแล้ว สมเด็จพระสังฆราช ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ แต่ละพระองค์ทรงมีพระจริยวัตรที่งดงาม เป็นแบบอย่างให้กับชาวพุทธในการดำรงตนอยู่ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
หนังสือ สมเด็จพระสังฆราช นี้ จึงเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ายิ่ง ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และทางด้านจิตใจของชาวพุทธ ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ยังได้เห็นแบบอย่างที่ดีงามที่ควรน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลดีกับชีวิตของตนด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อรวบรวมเรียบเรียงประวัติ และพระกรณียกิจสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑ รูป ให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาเรียนรู้
๒. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ ในฐานะที่เป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย และทรงอุทิศพระองค์เพื่อปกป้อง คุ้มครอง และเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน
๓. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมถึงพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ได้ถวายความอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาด้วยดีเสมอมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
๔.เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้กับพุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้วิวัฒนาการของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในการบริหารกิจการต่างๆ ของคณะสงฆ์
๕. เพื่อบันทึกเป็นประวัติศาสตร์แห่งวงการพระพุทธศาสนา ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และนำไปเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติให้เกิดความดีงามกับชีวิตยิ่งๆ ขึ้นไป
๖.เพื่อสนับสนุนการทำงานของ องค์กรด้านการกุศล มูลนิธิ สมาคม ชมรม โรงพยาบาล โรงเรียน สถานศึกษา เป็นต้น ในการหาทุนทรัพย์ เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา สาธารณกุศล และด้านสาธารณประโยชน์ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ชาติ บ้านเมือง
เนื้อหาโดยย่อหนังสือสมเด็จพระสังฆราช
หมวดที่ ๑ ประวัติพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือจำนวนมากศาสนาหนึ่งของโลก ผู้ที่เป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือ “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” พระองค์ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะ หรือ เดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้นี้เรียกว่า “พุทธคยา” หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าได้เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามที่ต่างๆ ทั่วอินเดีย จนกระทั่งหลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงมีการแตกย่อยเป็นนิกายต่างๆ ปัจจุบันมีนิกายที่สำคัญคือ นิกายเถรวาท และ นิกายมหายาน นิกายเถรวาทได้รับการนับถือจำนวนมากในประเทศศรีลังกา และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า เป็นต้น นิกายมหายาน ได้รับการนับถือในทางตอนเหนือของอินเดีย เนปาล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ไปจนกระทั่งถึงบางส่วนของรัสเซีย
หมวดที่ ๒ สังฆราช
สังฆราช คือประมุขสูงสุด หรือ พระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา เป็นต้น ในประเทศที่เป็นพระพุทธศาสนานั้นมักมีพระสังฆราชเป็นของตนเอง พระสังฆราช อาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก)
คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสงฆ์
หมวดที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช
หนังสือ “สมเด็จพระสังฆราช”เล่มนี้ เป็นการรวบรวมเรียบเรียงประวัติและผลงานของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๑๙ พระองค์ รวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๒ รูป คือ
องค์ที่ ๑ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สี)
องค์ที่ ๒ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
องค์ที่ ๓สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
องค์ที่ ๔ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
องค์ที่ ๕ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
องค์ที่ ๖ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
องค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
องค์ที่ ๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
องค์ที่ ๙ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
องค์ที่ ๑๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
องค์ที่ ๑๑ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
องค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
องค์ที่ ๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
องค์ที่ ๑๔ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ)
องค์ที่ ๑๕ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
องค์ที่ ๑๖ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายี)
องค์ที่ ๑๗ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
องค์ที่ ๑๘ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(วาสน์ วาสโน)
องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน)
หมวดที่ ๔ สมเด็จพระราชาคณะ (ชุดปัจจุบัน)
๑.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
๒.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
๓.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร)
๔.สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต)
๕.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภัทฺทจารี)
๖.สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชโย)
๗.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)
๘.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)
หมวดที่ ๕ พระพุทธศาสนากับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
ประเทศไทยเรายังคงรักษาเอกราชสืบมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ก็ด้วยเหตุที่เรามีความพร้อมเพรียงสามัคคีกันระหว่างชนในชาติ มีศาสนาหลายศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใ จให้ชาวไทยครองตนอยู่ในศีลธรรม มีพระมหากษัตริย์เป็นร่มเกล้าธงชัยให้เราได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขสืบมาทุกสมัย ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันศาสนา จึงเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของชาติไทย
หมวดที่ ๖ วัดประจำรัชกาล
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ก่อนที่จะรวมเป็นประเทศไทยเสียอีก นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาสามารถดำรงอยู่ได้มาอย่างยาวนานเช่นนี้ นั่นก็คือ การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าแผ่นดินหรือ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เหตุผลของการยึดถือวัดใดวัดหนึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น ก็เพราะว่า “วัดแห่งนั้นมักจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ท่านทรงสร้าง หรือปฏิสังขรณ์ และให้ความสนใจกับวัดนี้เป็นพิเศษ หรือมีความผูกพันกับวัดนี้มากๆ เมื่อพระองค์สวรรคต พระบรมอัฐิก็จะถูกนำไปบรรจุอยู่ที่ฐานของพระประธาน แต่การประกาศว่าวัดไหนเป็นวัดประจำรัชกาลนี้ ไม่ได้มีการประกาศออกเป็นทางการ เพียงแต่เกิดจากการที่คนพูดกันว่าวัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลนี้ๆ และดูจากความผูกพันที่พระองค์ท่านทรงมีให้กับวัดนั้นๆ มากกว่า
หมวดที่ ๗ ภาคผนวก
เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ประกอบด้วย
- บรรณานุกรรม
- รายชื่อคณะทำงาน
- ผู้อุปภัมน์การพิมพ์
- ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดในการทำหนังสือ
เป็นต้น
รูปแบบหนังสือ
แน่นด้วยเนื้อหา ร่วม ๖๐๐ หน้า
พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมัน ๔ สี่ ทั้งเล่ม ปกเข็งเย็บกี่ อย่างดี
พร้อมกล่องใส่ ปั้มนูนทอง สวยงาม หรูหรา มีระดับ
และโปสเตอร์สมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ สำหรับเข้ากรองบูชา
อานิสงส์การสร้างหนังสือสมเด็จพระสังฆราช
๑. กรรมเวรจากอดีตชาติจะได้ลบล้าง
๒. หนี้เวรจะได้คลี่คลาย พ้นภัยจากทะเลทุกข์
๓. โรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวรจะพ้นไป
๔. สามีภรรยาที่แตกแยกจะคืนดีต่อกัน
๕. วิญญาณของเด็กที่แท้งในท้องจะได้ไปเกิดใหม่
๖. กิจการงานจะราบรื่นสมความปรารถนา
๗. บุตรจะเฉลียวฉลาดเจริญรุ่งเรือง
๘. บารมีคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข
๙. พ่อแม่จะอายุยืน
๑๐. ลูกหลานเกเรจะเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี
๑๑. วิญญาณทุกข์ของบรรพบุรุษจะพ้นจากการถูกทรมานไปสู่สุคติ
การพิมพ์หนังสือสมเด็จพระสังฆราช ตลอดจนธรรมะหรือหนังสือสวดมนต์นั้นถือว่าเป็นธรรมทาน เป็นทานสูงสุดในหมวดการสร้างทานบารมี หากยัง
เวียนว่ายในวัฎสงสาร
จะทำให้ปัญญาดี ชาตินี้ถือว่าบุญใหญ่เหมือนกัน เจ้ากรรมนายเวรตามไม่ทัน
อานิสงส์การพิมพ์หนังสือสมเด็จพระสังฆราชถวายเป็นธรรมทาน
๑. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ 1 เรื่อง แจกจ่ายทั่วไปกุศลผลบุญนั้นจักสามารถแก้บาปกรรมของชาติก่อนทั้งหมด
๒. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะตั้งแต่ 2 เรื่องขึ้นไป แจกจ่ายอย่างกว้างขวาง กุศลผลบุญนั้นจักส่งผลให้ผู้นั้นเจริญด้วย ลาภ ยศ อายุ สุขะ พละ ได้บุตรหลานที่ดี เมื่อละสังขารจักได้จุติเป็นเจ้า (เจ้าพ่อหรือเทวดาชั้นต่ำ) ในโลกมนุษย์
๓. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือสมเด็จพระสังฆราช ตลอดจนธรรมะอย่างต่อเนื่องตลอดไปและแจกจ่ายอย่างกว้างขวาง กุศลผลบุญนั้นจักส่งผลให้ผู้นั้นเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เพียบพร้อมด้วยลาภ ยศ อายุ สุขะ พละ มีจิตผ่องใส และยังส่งผลถึงบุตรหลานอีก ๓ รุ่น ให้เจริญรุ่งเรือง เมื่อละสังขารจักได้จุติเป็นเทพบุตร เทพธิดา ณ แดนสวรรค์
อานิสงส์สร้างหนังสือ หรือถวายหนังสือ ดั่งประทีปส่องทางให้เห็นนรกและสวรรค์ ผู้นั้นจะได้อานิสงส์เพิ่มพูน กุศลจริยาเป็นเอนกอนันต์ ได้รับชัยชนะต่อจิตใจตนเอง และผู้อื่น มีความรู้ การศึกษาสูง บังเกิดผลบุญอันยิ่งใหญ่ไพศาลทั้งในชาตินี้ และชาติหน้า
กลุ่มเป้าหมายที่ควรจะสร้างและมีไว้หนังสือสมเด็จพระสังฆราช
กลุ่มบุคคล
๑. ผู้ที่เห็นคุณค่าและประโยชน์จากการศึกษาหนังสือสมเด็จพระสังฆราช
๒. ผู้สูงอายุหรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการจะสร้างมหากุศลครั้งหนึ่ง
๓. นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ต้องการค้นคว้าหาความรู้
๔.บุคคลทั่วไป ที่ต้องการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหนังสือสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งประกอบด้วยหมวดต่างๆ มากมาย
๓. ผู้ที่ต้องการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุและขัดเกลากิเลส ซึ่งเป็นผลที่บังเกิดขั้นจากการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าหนังสือสมเด็จพระสังฆราช ที่มีคติธรรม พระวรคติธรรมต่างๆ มากกมาย
หน่วยงานหรือองค์กร
๑.วัดทุกวัดทั่วประเทศกว่า ๓๐,๐๐๐ วัด ที่ควรมีไว้ เพื่อให้พระภิกษุ-สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้อ่านศึกษาเพื่อความรู้
๒.โรงเรียน สถานศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย กว่า ๑๐๐,๐๐๐ แห่ง ทั่วประเทศ เป็นต้น เพื่อให้นิสิต นักศึกษา ได้ค้นคว้าหาองค์ความรู้
๓.ห้องสมุดประชาชน ประจำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้อ่านศึกษา ประดับความรู้
๔. ห้องสมุดประจำเรือนจำทั่วประเทศ ผู้ให้ผู้ต้องขังได้นำไปอ่านขัดเกลานิสัย เพื่อจะได้เป็นคนดีของสังคมบ้านเมือง หลังพ้นโทษ
๕. สถานที่ราชการ เช่น อปต. เทศบาล อบจ. หน่วยงานราชการอื่นๆ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ศึกษาหนังสือสมเด็จพระสังฆราชโดยแท้
๖. สถานที่อื่นๆ
- โรงพยาบาล เพื่อให้ญาติ คนป่วยได้อ่านประดับความรู้
- โรงแรม เพื่อให้แขกที่พักได้อ่านขณะเข้าพักอาศัย เป็นการได้ความรู้อีกทาง
- ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และสถานที่ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้อ่านและศึกษา
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- นิตยสาร CHANGE into
- มูลนิธิโพธิวัณณา
- ชมรมโครงการสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติ
- สำนักข่าว VNEWS
- สำนักข่าว BNEWS
- นิตยสารคนค้นธรรม
- นิตยสารธรรมสาร
- นิตยสารธรรมนำโลก
- หนังสือพิมพ์รอยธรรม
- หนังสือพิมพ์นิวส์ปราการ
- หนังสือพิมพ์พุทธามหาเวท
- บริษัทไตรคุณธรรมจำกัด
- ชมรมศิษย์เก่าบ่อชะเนง – พระศรีเจริญ
- รายการธรรมะกับซีอีโอ.
- กลุ่มธรรมาภิบาล
- รายการช่วยน้องสานฝัน
- โครงการประทีปเด็กไทย วัดธรรมมงคล
- สมาคมผู้สื่อข่าวพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ
- คณะกรรมการโครงการจัดทำหนังสือสมเด็จพระสังฆราช
รูปแบของกิจกรรมในโครงการฯ
๑. ดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการโครงการ ในการจัดทำหนังสือสมเด็จพระสังฆราช เป็นการเผยแผ่พระวรคติธรรม คติธรรมต่างๆ และปกป้องพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติ
๒. จัดทำแผ่นพับโฆษณาใบจอง เพื่อเปิดให้ประชาชนทั่งไป วัด โรงเรียน อบต. เทศบาล หน่วยงานกลุ่มเป้าหมายได้สั่งจอง เมื่อได้ยอดพอสมควรจึงเริ่มสั่งผลิต เป็นการลดต้นทุนที่ต้องสำรองการผลิตมาก่อน
๓. คณะกรรมการฯ ประสานการ ไปยัง วัด โรงเรียน ส่วนราชการบริษัท ห้างร้าน เอกชน ประชาชน ทั่วไป รวมเป็นเจ้าภาพผลิต ราคาชุดละ ๑,๙๙๙ บาท ซี่งจะได้รับหนังสือ พร้อมกล่องสวยหรูปั้มนูนทอง และโปสเตอร์ขนาดใหญ่สวยงาม
๔. ผู้ดำเนินรายการ ผู้บริหารสื่อสิ่งพิมพ์ ร่วมจัดตั้งโครงการต่างๆ เช่น ทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อหาเจ้าภาพในการจัดพิมพ์ ถวายเป็นธรรมทาน ไปยังวัด ห้องสมุด และสถานที่ต่างๆทั่วโลก
งบประมาณ
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดพิมพ์ จากวัดต่างๆ โรงเรียน สถานตลอดจนสถานศึกษาต่างๆ ภาครัฐ ภาคเอกชน ห้างร้าน บริษัท สมาคม ชมชม ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป
โดยการเปิดให้สั่งจองเพื่อนำมาจัดพิมพ์หนังสือสมเด็จพระสังฆราช มอบให้ผู้สนับสนุนนำ
ไปจำแนกแจกจ่ายไปยังประชาชนทุกหมู่เหล่ารวมทั้งจำหน่ายสู่ วัด โรงเรียน บริษัท ห้างร้าน เอกชน ประชาชนทั่วไป ในราคาชุดละ ๑,๙๙๙ บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ได้เผยแผ่หนังสือสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งอัดแน่นไปด้วยเนื้อหา สาระ ความรู้ พร้อมด้วยพระวรคติธรรม ซึ่งเป็นหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของประเทศไทย
๒.ได้ทำให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนตลอดจนผู้ที่สนใจ มีหนังสือสมเด็จพระสังฆราชไว้ศึกษาหาความรู้
๓. ได้บำเพ็ญมหากุศลอันยิ่งใหญ่คือการให้ธรรมเป็นทาน หรือธรรมทาน ซึ่งกระทำได้ยากมากในครั้งหนึ่งของชีวิต
๔. ได้นำรายได้ส่วนหนึ่งที่เกิดจากหนังสือเล่มนี้ นำไปเป็นทุน ในการก่อตั้ง
มูลนิธิพระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย)
๕.ได้นำรายการส่วนหนึ่งที่เกิดจากหนังสือเล่มนี้จัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อเป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และมอบให้กับองค์กรด้านการกุศลต่างๆ ตามสมควร
*************************************