นักการตลาดคนเก่ง แห่ง “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์”

นักการตลาดคนเก่ง แห่ง “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์”

 

 

CHANGE into Magazine


CHANGE  Inspiration 
เรื่อง : สุทธิคุณ  กองทอง  ภาพ : ชวกรณ์  สะอาดเอี่ยม
 
นักการตลาดคนเก่ง แห่ง “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์”
ชาลินี ประสานพานิช  ย้ำ   “อดทน” คือประตูความสำเร็จ
 
 องค์กรบริษัท
เบอร์ลี่ฯ เปลี่ยนชีวิตในฐานะนักการตลาด “ชาลินี ประสานพานิช”
ที่ยึดแบบอย่างจากคุณแม่ พร้อมยึดหลักการทำงานต้องอดทน
เพราะเป็นประตูสู่แห่งความสำเร็จ
 
15 ปี บนถนนสายการตลาดของ
คุณชาลินี ประสานพานิช   ผู้จัดการฝ่ายการตลาด
ฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวและในครัวเรือน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์
จำกัด (มหาชน)
พร้อมบอกเล่าถึงเส้นทางชีวิตในการทำงานให้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างตั้งใจ
 
 
//องค์กร...เปลี่ยนชีวิต
ประสบการณ์
การศึกษาของคุณชาลินี  Pamplin School of Bunisess , Virginia Tech,
Blacksburg,Virginia,U.S.A Master Of  Business Administration  (M.BA.)
,Global Business  Center for Japanese Studies, Nanzan University ,
Nagoya, Japan Certificate,Japanese Studies Faculty of Arts,
Chulalongkorn University Bachelor of Arts (B.A.) , Japanese 
 
จาก
นั้นเริ่มต้นการทำงานที่บริษัทฯ เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
  ในตำแหน่ง assistant brand manager  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  Marketing
Manager  ฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวและในครัวเรือน บริษัทเบอร์ลี่
ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) รวมอายุในการทำงานที่นี่เป็นเวลา 15 ปีแล้ว  
“เรียน
จบมาก็ไม่เคยคิดที่จะมาทำงานสายการตลาดเลย
พอดีเรียนจบทางด้านอินเตอร์แนลชั่นนอลบิสซิเนส มาแล้วมีเพื่อนชวนมาทำ
เพราะตอนนั้นเห็นว่าทาง เบอร์ลี่ฯ
ได้เปิดรับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการผลิตภัณฑ์ เราก็นึกว่ามันก็น่าสนใจดี
เพื่อนก็บอกว่าถ้าได้ทำ  คอนซูเมอร์ โปรดักส์ มันสนุกนะ
เราจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
เลยรู้สึกว่าเป็นงานที่ถูกจริตกับตัวเองว่าอยากจะทำงานแบบนี้ก็เลยมาลองดู
โชคดีว่าผู้บริหารในตอนนั้นให้โอกาสได้เข้ามาทำ
“พอได้มาลองรู้สึกว่า
เป็นงานที่หินมากเลย(หัวเราะ) ทำปีแรกๆแทบจะร้องไห้เลย
เนื่องจากงานสายการตลาดเป็นอะไรที่ต้องปรับตัวเยอะมาก
ต้องใช้ความสามารถหลายด้านในเวลาเดียวกัน
จริงๆสมัยก่อนเป็นคนเรียบร้อย(หัวเราะ) 
พอเรามาทำงานแบบนี้ทำให้เราต้องมีการปรับตัวและต้องมีการแอคทีฟ
เราต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน และแก้ปัญหาในงานให้ประสบความสำเร็จได้”
เธอมองว่าบริษัทเปลี่ยนชีวิตและหน้าที่การงานไปอย่างสิ้นเชิง
 
//แคมเปญ Cellox วันแม่
บทบาท
สำคัญของนักการตลาดแบบเธอก็ไม่ได้หยุดนิ่ง
แต่มีการพัฒนาในเรื่องกิจกรรมให้กับสินค้ามาอย่างต่อเนื่อ
“ที่เรามาเล่นธีมวันแม่เพราะคิดว่าเป็นการตอบแทนลูกค้าของเรา
เพราะคุณแม่เป็นกลไกสำคัญของสถาบันครอบครัว
เนื่องจากคุณแม่สมัยใหม่ไม่ได้ดูแลบ้านหรือดูแลครอบครัวเพียงอย่างเดียว
แต่ต้องออกไปทำงานข้างนอกเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่
ดี บทบาทคุณแม่ตรงนี้มันหนักมาก
ทำให้คุณแม่ไม่ค่อยได้ใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเอง
เราจึงอยากช่วยส่งเสริมให้ลูกๆหันมาดูแลสุขภาพของคุณแม่ด้วย 
ขณะเดียวกันเป็นการตอกย้ำว่าเราเป็นกระดาษทิชชูที่เน้นเรื่องของความสะอาด
ก็ได้มีการตอบรับเป็นอย่างดี เราจึงคิดกิจกรรม “วันแม่ปีนี้สุขภาพดีไปกับ
เซลล็อกซ์ พิวริฟาย(Cellox Purify )”
เรามองว่าทิชชูของเราเป็นทิชชูพิเศษที่ผสานเทคโนโลยี GermClear+
ยับยั้งแบคทีเรีย 99.9%
ที่ให้มากกว่าทิชชูทั่วๆไปที่ให้แค่ความสะอาดและขาวเท่านั้น
พูดง่ายๆกระดาษทิชชูของเราออกมาจากโรงงานสะอาดยังไง
พอมาถึงมือของผู้บริโภคก็สะอาดแบบนั้น ด้วยความใส่ใจตรงนี้ของเรา
เราเลยเน้นในเรื่องของแม่กับเอาไว้ด้วยกัน
จากที่เราได้เริ่มกิจกรรมมาตั้งแต่ชลบุรี  เชียงใหม่ อุดรธานี รวมทั้งหมด 9
 จังหวัด ซึ่งก็ได้รับการตอบรับกันเป็นอย่างดี
“ในบูธของเราก็จะมีเจ้า
หน้าที่ไปร่วมงานและมีคุณหมอมาตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ฟรี
และมีข้อแนะนำเรื่องสุขภาพให้ และเรายังได้มีการจัดกิจกรรมในวันที่ 12
สิงหาคม 2558 ที่เซ็นทรัล พระราม 9
ก็จะมีคุณหมอมาร่วมพูดคุยในเรื่องของการดูแลสุขภาพให้ปราศจากแบคทีเรียได้
อย่างไร และจะมีการจับรางวัล 50 รางวัล
ในการตรวจสุขภาพฟรีประจำปีให้กับลูกค้าที่มาร่วมกิจกรรม
เพื่อที่จะได้พาคุณแม่ไปตรวจสุขภาพ ตรงนี้ก็เป็นการห่วงใยให้กัน”
 
//กระดาษทิชชู “เปลี่ยนสังคมไทย”
 ก่อน
หน้านี้กระดาษทิชชูของ บริษัท เบอร์ลี่ฯ ได้เข้าไปในตลาด AEC มานานแล้ว 
เนื่องจากกลุ่มคนในประเทศ AEC มองถึงสินค้าไทยว่า
เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและดี และเขายังมองว่าแบรนด์สินค้าไทยเป็นเหมือนสากล 
จึงทำให้การตอบรับของคนกลุ่มคนในตลาด AEC ค่อนข้างดี ล่าสุด
กำลังมุ่งทำการตลาดในประเทศเมียนมาร์
“พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อทิช
ชูของเราก็ไปในทิศทางที่ดี เพราะสินค้าเรามีกระดาษหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า
และกระดาษเอนกประสงค์ที่เป็นม้วนใหญ่เอาไว้ใช้ในครัว
ปกติที่ผ่านมากระดาษม้วนตรงนี้เป็นตลาดใหญ่ที่สุด
เพราะถือเป็นกระดาษที่ทุกครัวเรือนจะใช้ 
ในขณะเดียวกันกระดาษเช็ดหน้าสินค้าที่คนจะใช้น้อยกว่า
แต่ในหลายๆปีที่ผ่านมาก็มีอัตราทางการตลาดที่ค่อยๆเติบโตต่อเนื่องมา
ซึ่งก็แปลว่าคนไทยเรามีการใช้กระดาษทิชชูที่ถูกประเภทมากขึ้น
อันไหนเช็ดหน้าก็เอาไว้เช็ดหน้า หรือใช้ในครัวก็จะใช้แบบซึมซับน้ำมัน
แม้ว่าปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ค่อยดี
โดยภาพรวมของตลาดก็ทำให้กระทิชชูมีการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นได้
“ถาม
ว่ากระดาษทิชชูเปลี่ยนสังคมไทยมั้ย อยากจะบอกว่าก็เปลี่ยน
เพราะผู้บริโภคหันมาใช้กระดาษทิชชูกันมากขึ้น
ก็แสดงว่ามีการรักษาสุขภาพกันมากขึ้น  หากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
คนไทยยังใช้กระดาษทิชชูกันน้อยอยู่
แต่ก็ทำให้การดูแลสุขภาพที่ยังไม่ถูกลักษณะ 
ซึ่งประเทศเพื่อนเราตอนนี้ก็มีบางประเทศเหมือนประเทศไทยเมื่อหลายสิบปีก่อน
ที่ยังมีการใช้กระดาษทิชชูกันน้อยอยู่
แต่วันนี้กระดาษทิชชูก็ได้เปลี่ยนสังคมไทยไปแล้ว
เพราะกระดาษทิชชูไม่ได้ต้องหมักหมมเรื่องเชื้อโรค ใช้เสร็จแล้วก็ทิ้ง
และเป็นการตอบโจทย์ไลฟสไตล์คนรุ่นใหม่ที่เป็นคนเมืองที่โตมากขึ้นเรื่อยๆ
ด้วย”เธอเล่าถึงโปรเจ็คกระดาษทิชชูด้วยความภาคภูมิใจกับสิ่งที่ได้ทำมากับ
มือแล้วประสบความสำเร็จ
 
// “แม่” คือ คนต้นแบบ
กว่าจะก้าวเดินไป
สู่เป้าหมายของชีวิตได้ของแต่ละคนนั้น
ย่อมมีบุคคลที่เป็นต้นแบบให้ได้ยึดเป็นต้นแบบหรือใช้เป็นแนวทางในการดำเนิน
ชีวิตและการทำงาน เธอคนนี้ก็เช่นกัน
“สิ่งที่ได้จากหัวหน้างานที่เคยสอนไว้คือ nothing impossible
คือว่าไม่แปลว่าเป็นคนดื้อนะ ถ้าเรามองว่าทุกสิ่งมีความเป็นไปได้แล้ว 
เราจะต้องหาวิธีให้มันเป็นไปได้ ถ้าวิธีทางนี้ไม่ได้เราก็เปลี่ยนวิธี
 แต่เราก็ต้องมองที่จุดหมายเดิม คือ ต้องการให้งานสำเร็จ
เพียงแต่เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีในการทำงานแบบนี้ได้
แต่เราต้องไปให้ถึงจุดมุ่งหมายให้ได้
ตรงนี้ถือเป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการทำงานมาตลอด และพยายามบอกน้องๆด้วยว่า
ติดปัญหา ติดขัดแบบนี้แล้วทำท่าพอใจ เราจะบอกว่าไม่ได้
พอเรามองจุดหมายก็จะให้เปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่
คิดใหม่ทำใหม่และลองใหม่เพื่อให้งานประสบความสำเร็จได้
และชีวิตการทำงานที่ผ่านมายังมีคุณแม่เป็นต้นแบบในการทำงาน
เนื่องจากคุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก ทำให้คุณแม่ทำงานเลี้ยงลูกทั้งหมด 4
คน พร้อมส่งเสียให้เรียนจนทุกคน คุณแม่เลยเป็นต้นแบบว่า
เขาต้องการทำอะไรให้กับลูก การที่จะไปถึงตรงนั้นได้คือ ความอดทน ความขยัน
และความมุ่งมั่น เป็นสิ่งที่เราได้เรียนรู้ตรงนั้นมา
และมีเจ้านายที่ทำให้เราได้ทำงานมาถึงวันนี้ที่ถูกปลูกฝังมาให้เป็นนักการ
ตลาดแบบนี้”
 
//อดทน คือ ประตูสู่ความสำเร็จ
สังคมในการทำงานจะมี
ความแตกต่างจากรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมาก คุณชาลินี
จึงนำข้อคิดมาปิดท้ายให้กับน้องๆรุ่นใหม่ 
“ที่ผ่านมามักจะมีคนพูดหลายคนแล้วว่า 
น้องๆรุ่นใหม่มีความอดทนเรื่องงานค่อนข้างน้อยกว่าคนรุ่นเก่า
ตรงนี้อยากจะบอกให้น้องๆทุกคนอดทน สมัยก่อนงานจะเลือกคน
แต่สมัยนี้คนจะเลือกงาน
ถ้าเราคิดว่าเราชอบงานแบบนี้แล้วอยากจะก้าวไปทางนี้ก็อยากให้อดทน
เพราะบางทีทุกสิ่งไม่ได้มาในเวลาอันใกล้
ไม่ใช่ปีเดียวที่น้องเรียนจบมาแล้วทำงานจะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
บางครั้งมันต้องใช้เวลาในการที่จะปรับตัวและเรียนรู้พัฒนางานจะทำให้เราทำ
งานไปได้กับเพื่อนร่วมงาน
“ทุกวันนี้ยังไม่ได้มองว่าตัวเองประสบความ
สำเร็จในหน้าที่การงาน เพราะงานการตลาดเป็นอะไรที่ไม่ได้หยุดนิ่ง
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
อย่างปัจจุบันถ้าไม่ได้เข้าโลกออนไลน์ก็ไม่ได้แล้ว
เราก็มองว่าโลกต่อไปมันต้องมีอะไรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ถ้าวันนี้เราประสบความสำเร็จ
ใช่ว่าในอนาคตเราทำแบบเดิมแล้วจะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเราปรับตัวได้
อยู่รอดได้ ทำทุกให้กลับมาประสบความสำเร็จไปได้เรื่อยๆ
ตรงนี้มองว่าสุดท้ายแล้วมันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากกว่า
ตัวอย่างมีให้เห็นมากมาย
หลายแบรนด์หลายสินค้าที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตที่วันนี้ก็ไม่ได้อยู่แล้ว
ถ้าเรานำพาหรือธุรกิจที่เราดูแลอยู่ไปจนรอดอีก 20-30 ปีน่าจะ challenge
ที่ใหญ่ขึ้นไปอีก”