วิสัยทัศน์ทวนกระแส "บ้านใร่กาแฟ" สายชล เพยาว์น้อย “ความสำเร็จของผมมาจากคน”

วิสัยทัศน์ทวนกระแส "บ้านใร่กาแฟ" สายชล เพยาว์น้อย “ความสำเร็จของผมมาจากคน”

 

  

 

เรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง ภาพ : ชวรินทร์ เผงสวัสดิ์
แต่งหน้า : เกตน์สิรี บุญแปง
 
 
วิสัยทัศน์ทวนกระแส "บ้านใร่กาแฟ"
สายชล เพยาว์น้อย “ความสำเร็จของผมมาจากคน”
 
 
 
อดีตสถาปนิกหนุ่มที่ฝันไกลว่าจะปั้น "บ้านใร่กาแฟ" เป็นร้านกาแฟพันธุ์ไทยแท้ให้กลายเป็นสตาร์บัคส์เมืองไทย ที่ปัจจุบันมีถึง 80 สาขา และเป็นเจ้าของความคิด “สวนแห่งการดื่มกาแฟ”ที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลยุทธ์ สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ "บ้านใร่กาแฟ" ผุดสาขาได้เป็นดอกเห็ด คือ ความสามารถ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และความเชื่อมั่น ในความสามารถของคน โดยยึดหลักว่า การให้โอกาสหมายถึงการให้อนาคต ซึ่ง สายชล เพยาว์น้อย ผู้ก่อตั้งบ้านใร่กาแฟ บริษัทออกแบบใร่นา (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปัจจุบันคัดเลือกพนักงานไม่กำหนดอายุหรือหน้าตา และฝึกอบรมบุคลากรเองทั้งหมด
 
 
//ลูกชาวนา-เด็กวัด สู่ธุรกิจกาแฟ 100 ล้าน
คุณ สายชล เกิดที่ตำบลหนองควายโซ อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ในครอบครัวชาวนาที่มีรายได้ครอบครัวสามหมื่นบาทต่อปี เริ่มต้นเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดหนองน้ำสร้าง สระบุรี จบชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดหนองพลับ สระบุรี จากนั้นไปเรียนต่อระดับมัธยมต้น โรงเรียนหนองแซงวิทยา และมัธยมปลาย ที่โรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา กรุงเทพฯ ระหว่างเรียนปริญญาตรี ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเป็นเด็กวัดปทุมคงคา ในปี 2535 - 2542 ทำหน้าที่เป็นรองผู้จัดการส่วนออกแบบ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮาส์ จำกัด ในช่วงการทำงานระหว่างปี 3538-2540 จึงได้ลองผิดลองถูกกับการเริ่มต้นธุรกิจบ้านใร่กาแฟ
 
จากจุดเริ่มต้นที่เป็นคนชอบเดินทางศึกษาวัฒนธรรมไปตามเส้นเดินทางภาคอีสานภาค เหนือภาคใต้ ตลอดการเดินทางจะแวะดื่มกาแฟกระป๋องตามปั๊มเสมอ เนื่องจากต้องการดื่มเพียงแค่แก้ง่วง แต่กลิ่นและรสชาติไม่ประทับใจ กระทั่งครั้งหนึ่งเขามีโอกาสได้เดินทางไปยังเส้นเดินทางสายอีสานได้พบกาแฟ รูปแบบชาวบ้านตั้งซุ้มโต๊ะในปั๊มตามเส้นเดินทางทั่วประเทศในลักษณะคั่วชง ซึ่งมีจุดเด่นในรสชาติและวิธีการในการนำเสนอคือในขณะชงจะเห็นกรรมวิธีขั้น ตอนและลีลาการชงกาแฟของชาวบ้านดูมีศิลปะเพิ่มคุณค่าให้กาแฟในแก้วนั้น ซึ่งมีวิธีการปรุงแก้วต่อแก้วตักกาแฟคั่วใหม่จากโหลที่ปิดฝาสนิทบดสดๆชงสดๆ จึงเป็นที่มาของคำว่ากาแฟสด
 
ขณะเดียวกันจึงนำแนวทางของชาวบ้านมานำเสนอในรูปแบบของบ้านไร่กาแฟคือเพิ่มอาคาร กาแฟจัดการความสะอาดความสะดวกสบายสร้างระบบธุรกิจเพิ่มแนวทางคิดทาง สถาปัตยกรรมเป็นอาคารทรงไทยโมเดิร์นจัดภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อให้เป็นกาแฟไทย อย่างมืออาชีพ แล้วเริ่มสำรวจเส้นเดินทางตั้งแต่ถนนรังสิต-บางปะอินรังสิต-นครนายกสุดท้ายที่คลอง 18 ก็ พบอุปสรรคเนื่องจากสถานีบริการน้ำมันโดยส่วนใหญ่มีกาแฟรูปแบบเดิมขายอยู่ แล้วและมีรายได้ดีไม่ต้องการมีธุรกิจเสริมอะไรอีกในปั๊มจนกระทั่งได้รับ โอกาสจากผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันปตท. รังสิต- องค์รักษ์คลอง 7 อนวัฒน์ ขาวปทุมทิพย์ ให้สร้างสาขาแรกขึ้นโดยเงินทุนการสร้างสาขาแรกตัดสินใจขายทาวเฮาส์ 300,000 บาท ที่ใช้เป็นเงินทุนก่อสร้างและเงินทุนสำรอง และเปิดทำการขายเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2540 โดยมีชื่อว่าบ้านแรกสาขาบ้าน 9 ตั้งชื่อใร่กาแฟสดมีสัญลักษณ์เป็นใบไม้สีเขียวยอดขายวันแรกอยู่ที่ 38 แก้วซึ่งถือว่าเป็นยอดขายที่สูงเมื่อหักค่าใช้จ่ายคงเหลือ8,000บาท/ เดือนหลังเปิดได้ 13วัน
 
เช้าวันที่ 2 มกราคม 2541 เกิด สิ่งไม่คาดฝันได้เกิดอุบัติเหตุรถพุงเข้าชนร้านต้องปิดร้านโดยฉับพลันแต่คุณ สายชลไม่ได้ละความพยายามเพราะท่านคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออุบัติเหตุถ้า อุบัติเหตุไม่เกิดขึ้นยอดขายต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีแน่นอนจึงสร้างสาขาขึ้น มาใหม่ จังหวะนั้นเขาได้ไปติดต่อกับสถานีบริการน้ำมันJET คุณ วิจิตรอธิการโกวิทย์ และคุณเวอร์เนอร์ได้เข้ามาดูที่บ้านที่เป็นร้านกาแฟบ้านใร่ ผลปรากฏว่าโดนรถชนไปแล้วจึงรอดูบ้านหลังนี้ต้องเลื่อนเข้าไปสร้างด้านใน 10 เมตรเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น(บ้าน 9/2 เปิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2541) ซึ่งทั้งสองได้กลับมาดูอีกครั้งและบอกกับบ้านไร่กาแฟว่าสินค้ามีศักยภาพแต่ติดที่รูปแบบอาคารเปลี่ยนแปลงซึ่งรูปแบบไม่เข้ากับอาคารของJET จากนั้นเขาจึงออกแบบใหม่เป็นอาคารทรงสามเหลี่ยมซึ่งรูปแบบตัดมาจากหน้าบานบ้านทรงไทยอีกครั้งจากนั้นได้รับโอกาสจากบริษัทCONOCO ประเทศไทย(JET) (คุณเวอร์เนอร์และวิจิตร อธิการโกวิทย์,วีระฉัตรสาโรวาท,วรรณพร แก้วปัญญา อนุมัติให้ก่อสร้างแล้วตั้งชื่อว่าบ้านกรุง เส้นถนนพหลโยธินเป็นสาขาแรกในปั๊มJET ใช้เวลาในการก่อสร้าง 20วันเปิดทำการขายเมื่อวันที่ 11 เมษายน2541ซึ่งเป็นสาขาบ้านสามเหลี่ยมแรก ปี พ.ศ.2549 มีสาขาทั้งหมด 110 สาขา
 
 
//เกิดวิกฤติ?
ในช่วงเริ่มได้นำสิ่งที่พบเห็นมาพัฒนาแนวคิด มาพัฒนาเป็นรูปแบบของ "บ้านใร่กาแฟ” โดย เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นกาแฟไทยคุณภาพสดจากไร่ซึ่งเริ่มจากการพัฒนารูปแบบ ในการนำเสนอ ภายใต้ความเชื่อที่ว่านักดื่มกาแฟหรือคอกาแฟย่อมต้องการกาแฟ คุณภาพและต้องมีสุนทรียภาพ จึงเห็นว่า นำลักษณะบ้านและกาแฟสำหรับเส้นทางของนักเดินทางซึ่งจัดเป็นกลุ่มลูกค้าหรือ ตลาดที่น่าสนใจ ด้วยความเป็นมา จากสิ่งที่พบเห็นของสังคมไทย ภูมิปัญญาของชาวบ้านไทย จึงได้ตั้งชื่อ ให้เป็นชนบทของไทยชื่อ "บ้านใร่กาแฟ” สินค้าและบริการของบ้านไร่กาแฟเน้นการบริการแบบไทยจริงใจต่อลูกค้าเสมือนเป็นแขกผู้มาเยือนทักทายด้วยคำว่า" บ้านใร่กาแฟสวัสดีจ้ะ”และ"บ้านใร่กาแฟขอบคุณจ้ะ”พร้อมยกมือไหว้ด้วยความจริงใจซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นขององค์การบ้านใร่กาแฟ
 
แต่ความสำเร็จของบ้านใร่กาแฟในครั้งนั้น ยืนยันได้จากที่เดิมเป็นเพียงร้านกาแฟเล็กๆ แต่ภายในระยะเวลาแค่ 9 ปี ก็เติบใหญ่ สามารถขยายสาขาได้ถึง 112 สาขา มียอดขายหลักร้อยล้านบาท สำหรับช่วงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของบ้านใร่กาแฟ จะอยู่ในช่วงปี 2543 – 2547 ซึ่งในระหว่างนั้นมีอัตราการเติบโตสูงมาก เพียงแค่ 4 ปีแรกก็ขยายสาขาได้ถึง 91 สาขา จึงไม่แปลกที่บ้านไร่กาแฟจะถูกสื่อแขนงต่างๆรุมสัมภาษณ์ และถูกหยิบยกเป็นกรณีศึกษาในวงสัมมนาต่างๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการคนอื่นๆ และจากความสำเร็จดังกล่าว
 
ในแวดวงธุรกิจตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับบ้านใร่กาแฟ กระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนหรือจุดวิกฤตของบ้านใร่กาแฟนั้น หลัง จากที่ปตท.ได้เข้าซื้อกิจการปั๊มเจ็ท แล้วไม่ยอมต่อสัญญากับบ้านใร่กาแฟ ซึ่งเดิมปั๊มเจ็ทเป็นทำเลที่ตั้งหลักของสาขาบ้านใร่กาแฟ แต่ปตท.กลับมีนโยบายที่จะสร้างแบรนด์ร้านกาแฟของตัวเองในชื่อ “คาเฟ่ อะเมซอน” ขึ้นมาแทน ทำให้สาขาของบ้านใร่กาแฟหายไปทันทีประมาณ 80 สาขา เรียกได้ว่า วิกฤตครั้งนั้นสาหัสที่สุด จนเกิดกระแสข่าวว่าบ้านไร่กาแฟทรุดจึงต้องหนีไปเปิดใบกะเพราหนี ปตท. แต่เขายืนยันว่าไม่เกี่ยวกันเลย เป็นเพราะต่อสัญญาไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้ต่อยอดแบรนด์ “บ้านใร่ใบกะเพรา” แต่เป็นช่วงเวลาวิกฤตกลายเป็นบทเรียนที่จะทำอะไรต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
 
 
//ความภูมิใจ
“ช่วงที่คิดทำร้านกาแฟบ้านไร่กาแฟตอนนั้นไม่อยากมีชีวิตที่ศุกร์เสาร์ต้องนั่งสังสรรค์กับเพื่อน เลยอยากทำร้านกาแฟ เพราะไม่มีคู่แข่ง เริ่มตอนที่จ่าทวีเอากาแฟในโรงแรมมาตั้งริมทางเข้าน้ำตกแก่งซอง คนขายเป็นภรรยาจ่าทวี ชื่อเจ๊มาลี โดยจ่าทวีเป็นคนสอนการชงกาแฟให้กับภรรยา เพราะจ่าทวีเป็นทหารชอบปลูกต้นไม้เลยมาปลูกกาแฟ จึงเป็นที่มาของการเรียก กาแฟสด พอกาแฟแก่ก็เอามาคั่ว แล้วเจ๊มาลีชงให้สามคนคือ คนสร้างถนนหล่มสัก-เด่นชัย เรื่องราวเหล่านี้ต้องบันทึกพอไปช่วงหลังจ่าทวีก็เสียชีวิตแล้ว ครั้งแรกที่คิดทำร้านกาแฟคิดอย่างเดียวว่ามันเป็นรายได้เสริม
 
“ผมให้หลานที่เรียนจบ ปวช.มาขาย แล้วผมก็ขับรถส่งของให้ แล้วเราคั่วกาแฟเอง แล้วคิดต่างว่าของเราจะต้องเป็นกาแฟคั่วแท้ๆที่ไม่ผสมอะไรเลย ตรงนี้มันเลยเป็นจุดแข็งของบ้านไร่กาแฟ เพื่อนผมบอกว่าถ้าใช้ชื่อไทยต้องตั้งราคาขายถูกๆ ผมก็บอกว่าจะทำให้มันแพงแล้วเพื่อนยังเถียงอีกว่ากาแฟขายในปั้มน้ำมันขายไม่ได้ต้องขายในเมือง ผมบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องตามฝรั่ง แต่ฝรั่งจะต้องนั่งเครื่องบินมาดูเรา ผมคิดแบบนี้ ตอนนั้นคิดแบบโอหัง(หัวเราะ) เพราะวันนี้มันสำเร็จเลยพูดได้ ช่วงเวลาที่เราฉลองครบ 100 สาขาพอดีเจ้าของปั้มน้ำมันเจ็ทที่ดังในเมืองไทยตอนนั้นก็นั่งเครื่องบินมาดูว่าเด็กที่ไหนมาทำกาแฟแล้วดัง ผมดีใจมาก”เขาย้อนความหลังแห่งความภาคภูมิใจที่ไม่เคยลืม
 
 
//ร้านกาแฟใหญ่ที่สุดในโลก
“ผมเป็นคนแรกที่ทำร้านกาแฟตามเส้นเดินทางเป็นคนแรกจนประสบความสำเร็จ แล้วร้านกาแฟหลังแรกของบ้านใร่กาแฟก็ตั้งอยู่ที่นี่ แล้วในปี 4 แรกเรามีเป็นร้อยสาขา ตอนนั้นผมอายุ 31 มีธุรกิจเป็นร้อยล้าน ปีแรกผมมี 25 สาขา ปีต่อมา 50 สาขา และ 90 สาขา จนปีที่สามที่สี่ก็เกิดเป็นร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สาขาเอกมัย ผมเลยขอจดทะเบียนกับกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดส ว่า สวนแห่งการดื่มกาแฟที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งแรกของโลก ร้านกาแฟใหญ่แบบนี้ไม่เคยมี แต่มีแก้วกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่อินเดีย มันเลยเป็นความภูมิใจ จากอาชีพที่เป็นสถาปนิกจนกลายเป็นนักธุรกิจที่จับต้องได้ ที่สำคัญต้องมีเอกลักษณ์ ปัจจุบันจะเห็นว่าหลายธุรกิจที่เป็นรายใหญ่ธุรกิจต้องล้มเพราะไม่มี เอกลักษณ์ แต่บ้านใร่กาแฟยังไม่ตายเพราะมีเอกลักษณ์ ที่ทำให้คนธรรมดาคนหนึ่งได้เป็นเจ้าของธุรกิจร้อยกว่าล้านได้ ที่มีระบบการจัดการแบบไทยๆ”
 
สำหรับจุดเด่นของบ้านไร่กาแฟ 1. เป็นธุรกิจของคนไทย ชื่อไทย ยี่ห้อไทย และวัตถุดิบของเกษตรกรไทย เมล็ดกาแฟจากชาวไร่ดอยภาคเหนือตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ขึ้นไป 2. มีเอกลักษณ์การจัดการจำหน่ายในอาคารทรงสามเหลี่ยม ลักษณะจั่วไม้ที่ไขว้กัน คาดทับด้วยขื่อ มีประตูบานกรอบไม้สื่อความเป็นไทยหรือ โลกตะวันออก (ไทยโมเดิร์น) ลิขสิทธิ์ชื่ออาคาร ออกแบบไร่นา และ อาคารบ้านไร่เพียวลม
3. บดและชงกาแฟแก้วต่อแก้ว เสิร์ฟกาแฟ พร้อมให้ขึ้นรถได้เลย 4. สูตรการคั่ว สูตรเบลนด์ เป็นสิทธิบัตรเฉพาะ รายการกาแฟเป็นแบบไทย ๆ เช่น เอเชีย บอรก, บ้านไร่ บอรก,บางกอก บอรก , ไทยปักษ์ใต้ บอรก
5. ดำเนินธุรกิจเฉพาะกาแฟเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงสร้างสุนทรีย์แห่งการดื่มกาแฟได้สูง
 
นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้งบ้านใร่กาแฟ ยังมีแนวความคิดธุรกิจ 1. สร้างตรายี่ห้อไทย ให้มีชื่อเสียง เชี่ยวชาญและเป็นผู้นำทางด้านกาแฟและเป็นธุรกิจไทยที่เป็นมืออาชีพเทียบเท่า มาตรฐานสากล โดยมีสื่อแทนเป็นตราบริษัท (สื่อรวงข้าว) เป็นสิ่งทดแทนการเกษตรของประเทศไทยจัดศูนย์กลางเป็นรูปวงกลมมีรูปถ้วยและ ควันกาแฟอันเป็นธุรกิจแรกที่บริษัทได้ดำเนินและประสบผลสำเร็จ - ตราสินค้า (สีส้ม,ดำ,ขาว) สื่อแทนความตัดที่แตกต่างกันเพื่อเน้นเส้นลายกาแฟ สีส้มกระตุ้นต่อมน้ำลายและความหิวได้ดี
 
3. พัฒนารูปแบบธุรกิจ สร้างวัฒนธรรมการดื่มกาแฟเพื่อสร้างรูปแบบการดื่มตามแบบเอเชียหรือไทย เช่น การใช้อาคารทรงไทยประยุกต์ที่มีชื่อลิขสิทธิ์อาคารออกแบบใร่นา,อาคารเพียวลม 4. พัฒนารูปแบบสวนกาแฟ (Coffee Garden) ให้เกิดวัฒนธรรมการดื่มและการดื่มและการใช้ กิจกรรมในสวนกาแฟ ในเชิงสังคมศาสตร์ พาณิชย์ศาสตร์ ให้เป็นผลในทศวรรษนี้ ซึ่งโดยทั่วไปจะคุ้นเคยกับ สวนเบียร์ สวนนก สวนสัตว์ สวนสนุก แต่สวนกาแฟยังไม่เคยพบที่แห่งใดมาก่อน และบ้านไร่กาแฟได้เป็นต้นแบบในการใช้พื้นที่สวนกาแฟในปั๊มน้ำมัน และจดสิทธิบัตรอ้างอิงสวนกาแฟแห่งแรกของโลก
 
 
//ความสำเร็จ “เพราะเชื่อในคน”
“บ้าน” สร้างคน คนสร้าง “บ้าน” ผสานสองสม ”บ้านใร่” ร้านกาแฟ แผ่ทางทอง ทรงจั่วผ่อง ส่องไผท ให้ปฐพี คนพร้อม “บ้าน” ขานขับเรื่อง ขำเรืองยิ้ม นำเอิบอิ่ม ปิ่มเปี่ยมใจ คล้ายในฝันฝากต้นตอ ยี่ห้อไทย ไว้ตำนานโตเพื่อวัน เชื้อชั้นไทย “ใร่กาแฟ”นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “นิทานข้างแก้ว” อันเป็นลิขสิทธิ์ของบ้านใร่กาแฟ ที่บอกถึงความเป็นมาของธุรกิจนี้ และเป็นที่มาของความสำเร็จที่มาจากคนนั่นเอง
 
“ผมเชื่อว่าความสัมฤทธิ์เชิงคุณภาพมาจากคน ไม่ใช่เทคโนโลยี อย่างงานผ้าไหม หรือนิตยสารที่ดังได้ก็มาจากคน แต่ไม่ได้มาจากเครื่องจักร แต่มันมาจากแก่นสารที่เจียระไน ซึ่ง สัมฤทธิ์ผลคือคุณภาพคน และมากกว่าคนคือจิตใจ และเหนือจิตใจของคนคือ ทัศนะบวกหรือลบ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ใช้สอนน้องๆ ดังนั้น เชื่อเรื่องคนก็ต้องทำที่จิตใจพวกเขา วันเกิดน้องๆพนักงานก็ไปร่วมงานที่ต้องใช้เงิน ไม่ใช่ดูแลกันแค่หัวใจ หรือสอบได้ พ่อแม่เขาเป็นอะไรเราก็ต้องห่วงใย บาง คนถูกเพื่อนดูถูกเราก็ต้องเป็นคนปกป้องสภาพจิตใจให้ แต่ทั้งหมดนี้ต้องเป็นทัศนะบวกเท่านั้นที่สร้างโลก และต้องเป็นคนที่เท้าติดดินเสมอ ทำงานหนักบรรลุผลเสมอเมื่อเวลาเปลี่ยนไป แต่เราอย่าเปลี่ยนเท่านั้นพอ ตรงนี้เป็นทฤษฎีของเรา
 
"พนักงานได้หยุดวันเกิดของตัวเอง วันเกิดของพ่อแม่ หรือวันเกิดแฟนของพนักงาน ตรงนี้ถือเป็นวันเกิดของผู้มีพระคุณแล้วแต่พนักงานจะเลือกมาทั้งหมด 3 คน รวมตัวเองด้วย หรือวันลอยกระทง เราก็ให้หยุด ตรงนี้เราประกาศหยุดโดยสภาของบ้านใร่กาแฟ แต่ ถ้าใครไม่หยุดก็จะได้ค่าแรงคูณสอง รวมทั้งให้ลาหยุดในวันเหลวไหล แต่ผมชอบเรียกวันลาเหลวแหลก(หัวเราะ) บางคนดื่มหนักเมื่อคืนตื่นมาปวดหัวมาทำงานไม่ได้ต้องลา โดยไม่ต้องบอกว่าลากิจ ลาป่วยที่บางครั้งก็ต้องนำใบรับรองแพทย์ปลอมมายืนยัน(หัวเราะ) ตรงนี้เราอยากให้ทุกคนพูดความจริงเลยให้ใช้เป็นวันลาเหลวแหลกแทนโดยให้ลาได้ ไตรมาสละ 1 ครั้ง อีกสิ่งหนึ่งที่สอนทุกคนคือ อย่าเห็นแก่ตัวจนเกินไป แต่ไม่ต้องใจกว้าง และไม่แคบจนเกินไป เพราะคนที่เลวที่สุดในสังคมคือคนที่เห็นแก่ตัว บ้านไร่กาแฟรับพนักงานไม่จำกัดหน้าตา อ้วน ผอม พิการ หรือเพศ และทุกคนต้องร่วมปลูกข้าว 1 ไร่ที่เตรียมไว้ให้ นี่เป็นบัญญัติของบริษัทเรา
 
"ความสำเร็จของผมมาจากความจน ซึ่งก็มาจากบทเรียนของพ่อผมที่เรียนจบ ป.4 แต่ลูกๆทั้ง 5 คนจบปริญญาท่าน ภูมิใจมาก มาวันหนึ่งท่านอายุ 80 ปี ได้รับรางวัลให้เป็นพ่อดีเด่น และไปรับรางวัลที่สวนอัมพร เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ แต่ท่านก็ใช้เวลาถึง 80 ปี วัน นี้ผมสำเร็จได้ก็เพราะคน ผมเชื่อเรื่องคน มากกว่าคนคือจิตใจของคน เหนือกว่าจิตใจคือความเชื่อ และความเชื่อที่เป็นบวกเท่านั้นที่สร้างโลก มันอาจอธิบายไม่ได้ด้วยทฤษฎีธุรกิจ แต่อธิบายได้ด้วยระบบสังคมไทย คือ เอื้ออาทร ปรองดอง รอมชอม ความเชื่อเรื่องคน และการให้ความสำคัญกับจิตใจคนถือเป็นปรัชญาการทำงานของบ้านใร่ แสดงออกมาในรูปของฝ่ายจิตวิทยาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นดูแลจิตใจของคนทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร และฝ่ายโรงเรียนบ้านไร่วิทยาซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาบุคคลทั้งทางทักษะและคุณธรรม รวมถึงนโยบายบางอย่าง เช่น การให้ลาหยุดในวันเกิดของคนและผู้มีพระคุณ 2 ท่าน ระบบการปกครองแบบ ผู้ใหญ่บ้านดูแลลูกบ้าน และการวัดคนจากเกณฑ์คุณธรรม และความอุตสาหะ เป็นต้น ทุกวันนี้บ้านใร่แข็งแรงอยู่ได้เพราะวัฒนธรรม บ้านใร่เอาระบบสังคมเข้ามา เอาสิ่งสวยงามเดิมๆ ของความเป็นไทยมาใส่ เช่น การให้เกียรติกัน การเอื้ออาทรกัน และเราใช้ระบบความดีเป็นตัววัดผลงาน”
 
 
//พิพิธภัณฑ์ "บ้านใร่กาแฟ"
ขณะที่บริษัท ออกแบบไร่นา ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านใร่กาแฟ นิยามการทำธุรกิจว่าเป็นการออกแบบธุรกิจการเกษตร โดยมีปรัชญาคือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ เช่น บ้านใร่สาขาเอกมัย บนเนื้อที่ 2 ไร่ มีลานดินแดงเปิดเป็นลานกิจกรรม ซึ่งจะมีการแสดงเชิงวัฒนธรรม มีสวนพันธุ์พืช และมีพื้นที่เข้ามาตั้งของขายได้ฟรี พร้อมทั้งเปิดให้ใช้สถานที่จัดอีเวนต์ หรือเปิดตัวสินค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
 
ปัจจุบัน ได้สร้างฝันมีชีวิตด้วยการสร้างพิพิธภัณฑ์กำเนิดตำนานบ้านใร่กาแฟ คือสถานที่แสดงความเป็นมาของการเกิดตำนานบ้านใร่กาแฟ รวบรวมอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดบ้านใร่กาแฟในยุคแรก (ปลายปี 2540) เช่น ร้านกาแฟบ้านไร่กาแฟหลังแรก, ของประดับร้าน แก้วรุ่นแรก เสื้อบุคลากรคนแรก รวมถึงรางวัลและเอกสารต่างๆ ฯลฯ
 
"ผมอยากให้โรงเรียนบ้านใร่วิทยา โรงเรียนแห่งภาพวาดหวัง ที่แห่งนี้จะให้เป็นโรงเรียนสร้างคน ที่ เกิดจากเมื่อปี 2540 ของการก่อตั้งธุรกิจบ้านใร่กาแฟ ผมขับรถไปที่เขาใหญ่ ไปเห็นสถาบันทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารกรุงไทย ปากทางเข้าเขาใหญ่ เราก็คิดว่าสักวันหนึ่งเราต้องมีแบบนี้ ก็ คิดว่าไม่จำเป็นต้องเป็นภูเขาหรือทะเล แต่เราจะทำที่ท้องนาแล้วตรงนี้ก็เหมาะที่จะทำ สมัยก่อนคนมาดูงานการคั่วกันเยอะแล้วตอนนั้นใช้ที่บ้านแม่ เราเลยย้ายมาสร้างใหม่ที่นี่ เพราะมาดูการคั่วแล้วก็ยังได้ฟังบรรยาย แต่พิพิธภัณฑ์บ้านใร่กาแฟถูกกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว โดยมีชิ้นงานกว่าสองพันชิ้นตลอด 16 ปี พอขึ้นเป็นสองทศวรรษมันก็มีค่า แต่พอเราตายไปก็ยิ่งมีค่า สิ่งของที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์จะมีของส่วนตัวผม และยังมีของพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
 
"ผมถึงบอกว่าตรงนี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์รู้จักตนเอง เป็นเศรษฐกิจพอเพียง หรือเป็นการดำรงอยู่แบบไทยเดิม ไม่นานมานี้ คุณวรางคณา ที่เป็นนามปากกานักเขียนก็มาที่นี่แล้วบอกว่าจะรวบรวมของเก่าๆมาให้อีก ตรง นี้ได้เห็นสิ่งของที่เป็นของพ่อที่เป็นช่างเลยเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา อีก คือ การอดทน คนกรรมกร พอใครเป็นกรรมกรก็จะเอาของมารวมไว้ เลยมีของที่เป็นคนอื่นด้วย ที่นี่เลยมีสิ่งของหลากหลายมากขึ้น”
 
นี่เป็นชีวิตนักธุรกิจติดดิน “สายชล เพยาว์น้อย” ปิดท้ายข้อคิดถึงคนรุ่นใหม่ "อยาก ฝากคนรุ่นใหม่ในการทำธุรกิจต้องสร้างแบรนด์ คือ ตราสัญลักษณ์ให้คนรู้จัก สร้างค่านิยม อย่างผมก็ใช้ความเป็นไทย หรือความคิดสร้างสรรค์ ตรงนี้ก็ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทั้งหมดต้องสร้างทีมงาน ก็คือต้องเชื่อในเรื่องคน ผมคิดว่ามันเป็นรหัสของผมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ"