ศิลปะ /การกิน / อาหาร / อีสาน : ความเป็นอีสานอยู่ตรงไหนของสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลง
ศิลปะ /การกิน / อาหาร / อีสาน : ความเป็นอีสานอยู่ตรงไหนของสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลง
EXHIBITION EDUCATION AND ACTIVITY
กิจกรรมการศึกษานิทรรศการอีสานสามัญ (Common Exercises: Isan Contemporary Report)
ศิลปะ / การกิน / อาหาร / อีสาน
วิทยากร :
คุณเฉลิมพลโรหิตรัตนะ (เชฟแวน) ร้านราบ
คุณวีระวัฒน์ตริยเสนวรรธน์(เชฟหนุ่ม) ร้านซาหมวย&ซันส์
วันอาทิตย์ที่ 25มีนาคม 2561 เวลา15.00-18.30 น.
ณ ห้องนิทรรศการหลักชั้น 9 และ ห้อง Friend of BACC ชั้น 6หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
จากตัวตนของชาวอีสานที่ถูกถ่ายทอดผ่านนิทรรศการอีสานสามัญ บอกเล่าถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ความเป็นอยู่ที่ผูกพันกับการเกษตรและใกล้ชิดกับธรรมชาติ อาหารอีสานนับเป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวอีสาน การดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง และธรรมชาติ ส่งผลให้อาหารการกินของชาวอีสานกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย น่าสนใจ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของผู้คนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อาหารอีสานจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวิธีคิดของชาวอีสานได้เป็นอย่างดี
“ จากนิทรรศการอีสานสามัญสู่จานอาหารอีสานร่วมสมัย ”
หอศิลปกรุงเทพฯ ขอชวนทุกท่านมาเปิดประสบการณ์รสชาติแห่งอาหารอีสานจากวัตถุดิบตามฤดูกาล ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานวิธีการเล่าเรื่องจากคนรุ่นใหม่ นำเสนอผ่านสำรับอาหารอีสานทั้ง 5 อย่างในแบบฉบับของ เชฟหนุ่ม (ร้านซาหมวย&ซันส์) และ เชฟแวน (ร้านราบ) สองนักปรุงอาหารที่ให้ความสำคัญกับรสชาติที่มาจากคุณค่าของวัตถุดิบ และการนำเสนออย่างสร้างสรรค์
เชฟหนุ่มและเชฟแวน จะนำเสนอสำรับอาหารอีสานที่เรียกว่า “พาแลง”
โดย พา หมายถึง พาข้าว หรือ สำรับกับข้าว ส่วนคำว่า แลง หมายถึง ตอนเย็น
พาแลง จึงหมายถึงสำรับอาหารเย็น บางทีก็เรียก พาข้าวแลง เป็นวัฒนธรรมการกินอย่างหนึ่งที่ทุกคนในครอบครัวมาร่วมกันรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตา ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและผู้ร่วม “พา”
โดยกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ช่วง
15:00 – 16:00 พูดคุยเรื่องอาหารอีสาน จากภูปัญญาและวัตถุดิบสู่การเล่าเรื่องผ่านจานอาหารของ เชฟแวน และเชฟหนุ่ม ห้องนิทรรศการหลักชั้น 9 (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม)
17:30 – 18:30 กินข้าวพาแลงอีสานร่วมสมัยที่ประกอบไปด้วย เครื่องจิ้ม ปิ้ง/ย่าง แกง ลาบ และหมก ด้วยฝีมือการรังสรรค์ จากเชฟแวน และเชฟหนุ่ม ห้อง Friend of BACC ชั้น 6 (รับจำนวนจำกัด และมีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม 1,000 บาท)
ลงทะเบียนและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายการศึกษาหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02-214-6630-8 ต่อ 519 Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.0 2214 6630 ต่อ 501-503
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.bacc.or.th/facebook.:baccpage /instagram: baccbangkok