ทีเอ็มบีธนชาต สานต่อคุณค่าพิพิธภัณฑ์ครุฑ เปิดให้ชมเป็นครั้งแรก! 3 มิ.ย. 65 นี้

ทีเอ็มบีธนชาต สานต่อคุณค่าพิพิธภัณฑ์ครุฑ เปิดให้ชมเป็นครั้งแรก! 3 มิ.ย. 65 นี้

 

           

ทีเอ็มบีธนชาต สานต่อคุณค่าพิพิธภัณฑ์ครุฑ เปิดให้ชมเป็นครั้งแรก! 3 มิ.ย. 65 นี้

จุดประกายแหล่งเรียนรู้ ต่อยอดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน

 

 

ครั้งแรก! กับการเปิดให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาพร้อมสัมผัสมนต์ขลังแห่ง พิพิธภัณฑ์ครุฑ (Garuda Museum) โดย ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต  ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวในประเทศไทยและในอาเซียน ที่รวบรวมครุฑที่มีเอกลักษณ์เฉพาะองค์จากทุกภาคของไทย โดยอัญเชิญครุฑที่ประดิษฐาน ณ ธนาคารสาขาต่าง ๆ มากกว่า 150 องค์ มาไว้ด้วยกัน โดดเด่นด้วยองค์ครุฑไม้ที่แกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม สะท้อนถึงความประณีตของศิลปิน พร้อมเรียนรู้เรื่องราว “พญาครุฑ” สัตว์หิมพานต์ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญู ความดีงาม และความซื่อสัตย์

 

เชิญชวนท่องไปในดินแดนหิมพานต์ บุกนครนาคราช ตั้งแต่วันที่ มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป โดยจะเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันศุกร์-เสาร์ วันละ รอบ ในเวลา 10:00 / 13:00 / 15:00 น. พร้อมผู้นำชม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ที่สนใจเข้าชมสามารถลงทะเบียนผ่าน https://www.ttbfoundation.org/th/garudamuseum/  ได้แล้วตั้งแต่วันนี้

 

นางสาวมาริสา  จงคงคาวุฒิ  หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารกิจกรรมสังคมเพื่อความยั่งยืน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เผยว่า พิพิธภัณฑ์ครุฑ เป็นหนึ่งในกิจกรรมสังคมเพื่อความยั่งยืน ด้านการจุดประกายความเป็นไทยของทีเอ็มบีธนชาต เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าชมได้รับแรงบันดาลใจ และสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งครุฑที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ แต่เดิมเป็นตราครุฑพระราชทานที่ได้อัญเชิญไว้หน้าสาขาของธนาคาร   เพื่อสะท้อนความเป็นสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือและอยู่เคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนาน  แต่ด้วยปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสาขาทำให้มีการรวบรวม และอัญเชิญครุฑมาประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้  และมีการปรับปรุงนิทรรศการและเนื้อหาการจัดแสดงเพิ่มเติม ซึ่งจะเปิดให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

 

พิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งนี้  ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรกและแห่งเดียวในอาเซียน ที่ได้รวบรวมและจัดแสดงองค์ครุฑพระราชทานกว่า 150 องค์ มาประดิษฐาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลปกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมไทย ส่งผ่านถึงคนรุ่นหลังให้ตระหนักถึงคุณค่าขององค์ครุฑ พร้อมทั้งสืบสานสัญลักษณ์แห่งความกตัญญู ความดีงาม และความซื่อสัตย์ ผ่านการจัดแสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของพญาครุฑที่ทันสมัยทั้งแอนิเมชัน และมัลติมีเดียต่าง ๆ  ที่มีให้รับชมถึง โซนนิทรรศการ ได้แก่

     1.     โถงต้อนรับ เริ่มต้นผจญภัยกับตำนานพญาครุฑ ด้วยการบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของพญาครุฑ ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง หรือ AR

2.     ครุฑพิมาน เรียนรู้กำเนิดโลกและจักรวาล ท่องไปในดินแดนหิมพานต์ และที่อยู่ของพญาครุฑ

3.     นครนาคราช ถิ่นที่อยู่ของพญานาค พร้อมชมเรื่องราวของพี่น้องต่างมารดา

4.     อมตะเจ้าเวหา เรื่องราวความเพียรพยายามของพญาครุฑผ่านแอนิเมชัน แสงสีตระการตา

5.     สุบรรณแห่งองค์ราชัน ตามรอย “ตราพระครุฑพ่าห์” ซึ่งเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ที่ยังคงปรากฎเคียงข้างพระองค์เสมอ

6.     ห้องจัดแสดงครุฑ ห้องที่รวบรวมองค์พญาครุฑจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย ผ่านตราตั้งห้างพระราชทาน และสัมผัสมนต์เสน่ห์คุณค่าเหนือกาลเวลา

 

“นับเป็นครั้งแรกที่ธนาคารได้เปิดให้เยาวชน และบุคคลทั่วไปได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งนี้ เพื่อชื่นชมคุณค่า และความน่าสนใจของผลงานศิลปะในการสร้างสรรค์องค์ครุฑ โดยมีรายละเอียดและรูปพรรณขององค์ครุฑแต่ละองค์ที่มาจากแต่พื้นที่ ที่จะมีเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่น่าสนใจ ซึ่งธนาคารหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของคนไทย อีกแห่งในย่านบางปู ที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมไทยพร้อมส่งต่อสำนึกรักความเป็นไทยสู่สังคมอย่างยั่งยืน” นางสาวมาริสา กล่าว

 

พิพิธภัณฑ์ครุฑพร้อมจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2565 นี้เป็นต้นไป โดยจะเปิดให้เข้าชมทุกวันศุกร์และวันเสาร์ วันละ รอบ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้ ได้จัดรถตู้บริการรับ-ส่งจากสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส สถานีเคหะสมุทรปราการ ถึง พิพิธภัณฑ์ครุฑ ผู้ที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์ผ่านระบบการจองล่วงหน้าผ่าน QR Code 

QR Code-จองรอบเข้าชม-01.jpg

 

 

สามารถติดตามเรื่องราวประวัติวามเป็นมาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยทีทีบี ผ่าน E-BOOK ได้ที่www.ttbfoundation.org/th/garudamuseum/ebook

 

 

* * * * * * * * * *

#พิพิธภัณฑ์ครุฑ #พิพิธภัณฑ์ครุฑโดยทีทีบี

#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น

#ttb #MakeREALChange

* * * * * *