"เปลี่ยนทรัพยากรแผ่นดินให้เป็นทรัพย์สินของประชาชน" (ตอน 1)
CHANGE The World รสนา โตสิตระกูล
"เปลี่ยนทรัพยากรแผ่นดินให้เป็นทรัพย์สินของประชาชน" (ตอน 1)
นับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่1เมื่อปี2504 เป็นต้นมา
วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ได้แก่การยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิมด้วยการ ระดมและใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อขยายการ ผลิตและเพิ่มพูนรายได้ประชาชาติให้รวดเร็วยิ่งขึ้นหรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการเพิ่มปริมาณสิ่งของและให้บริการแก่ประชาชนแต่ละคนให้สูงมากขึ้น มุ่งส่งเสริมการค้าเสรี ขยายการผลิต ส่งเสริมกิจกรรมและการลงทุนของภาคเอกชนโดยรัฐบาลจะดำเนินงานเฉพาะงานพื้นฐาน ที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่หลังจากมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯเป็นเวลากว่า 50ปี ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นสภาพ "รวยกระจุก จนกระจาย" เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากขึ้น จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองคร้ังแล้วครั้งเล่า
"คสช.จะโปร่งใสหากไม่เลือกปฏิบัติ"
"คสช.จะโปร่งใสหากไม่เลือกปฏิบัติ"
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป็นกองทุนที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันทุกชนิด ลิตรละ1สลึง ได้เงินเข้ากองทุนฯประมาณปีละ8,000-9,000 ล้านบาท และปัจจุบันเป็นกองทุนที่มีเงินรองรังสูงถึงราว 40,000 ล้านบาท หากเปรียบกับกองทุน สสส.ที่กำหนดให้จัดเก็บจากภาษีเหล้าและบุหรี่ 2% เคยมีรายรับเริ่มต้นปีละ2,000 ล้านบาท ปัจจุบันจัดเก็บได้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท เห็นว่าจะมีการจำกัดวงเงินไม่ให้เกินกว่านั้น แม้แต่ทีวีสาธารณะอย่างไทยพีบีเอส ก็ได้รับภาษีจัดสรรแบบเดียวกันจากเหล้าและบุหรี่แต่ถูกจำกัดไว้ไม่เกินปีละ 2,000ล้านบาทเท่านั้น
"วิกฤติประเทศไทยต้องการคนดี คนเก่งคนกล้าอย่าง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์"
"วิกฤติประเทศไทยต้องการคนดี คนเก่งคนกล้าอย่าง ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์"
ในสังคมไทยคนเก่ง คนดีพอหาได้ แต่คนกล้าหายากนัก ยิ่งจะหาคนที่มีทั้งความเก่ง ความดี ความกล้าอยู่ในตัวบุคคลคนเดียวกันก็แทบจะหาไม่ได้เลย อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นต้นแบบของคนดี คนเก่ง ที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม อย่างเป็นที่ประจักษ์ชัดในหลายเหตุการณ์ของชีวิตท่าน บทความนี้เขียนเพื่อระลึกถึงอ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ในวาระครบรอบชาตกาล100ปีในวันที่9มีนาคม2559 ที่ท่านได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปีนี้ ในระหว่างสงคราม โลกครั้งที่2 นายปรีดี พนมยงค์ได้ก่อตั้งขบวนเสรีไทยเพื่อต่อต้านสงครามที่ไม่เป็นธรรม ที่รัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ อ.ป๋วยซึ่งในขณะนั้นกำลังทำปริญญาเอกในอังกฤษแต่กล้าอาสาเป็นแนวหน้าทหารเสรีไทยด้วยการโดดร่มเข้ามาในประเทศไทยเพื่อติดต่อกับหัวหน้าเสรีไทย
"มหากาพย์การฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ ทรัพย์สินแผ่นดิน ยังไม่จบ" (ตอนที่1)
"มหากาพย์การฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ ทรัพย์สินแผ่นดิน ยังไม่จบ" (ตอนที่1)
มหากาพย์ทวงคืนทรัพย์สินแผ่นดินที่มาจากการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นมหากาพย์แบบหลายเอพิโซดหรือหลายภาคต่อกัน
เอพิโซดที่1 คือการที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและคณะได้ฟ้องเพิกถอนการแปรรูปปตท.เมื่อเดือนสิงหาคม2549
การแปรรูปปตท.เป็นบมจ.ปตทในปี2544 รัฐบาลในสมัยนั้นไม่ได้แยกโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติออกมาก่อนการแปรรูป ทั้งที่เคยมีมติของคณกรรมการพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ให้แยกท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกมาก่อนการแปรรูป และตั้งเป็นบริษัทท่อก๊าซธรรมชาติ และให้การปิโตรเลียมถือไว้100%
"มหากาพย์การฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ ทรัพย์สินแผ่นดิน ยังไม่จบ" (ตอนที่2)
CHANGE The World รสนา โตสิตระกูล
"มหากาพย์การฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ ทรัพย์สินแผ่นดิน ยังไม่จบ" (ตอนที่2)
มหากาพย์ภาคที่3 การที่ผู้ฟ้องคดีเดิม คือมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและคณะได้ฟ้องขอให้ศาลปกครองพิจารณาการคืนทรัพย์สินที่ไม่ครบถ้วนตามการรายงานของสตง. และขอให้มีการบังคับคดีใหม่ ผู้ฟ้องคดีเดิมมีการฟ้องคดีอีก 5ครั้ง ตั้งแต่ปี 2552-2558 แต่ศาลปกครองสูงสุดได้ยกคำร้องของประชาชนผู้ฟ้องคดี โดยอ้างเหตุว่าผู้ฟ้องคดีในมหากาพย์ภาคแรก ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการแปรรูปปตท.เท่านั้น เมื่อศาลปกครองไม่สั่งเพิกถอนการแปรรูปปตท. ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้ชนะคดี และเมื่อไม่ใช่ผู้ชนะคดี และไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ดังนั้นจึงไม่สามารถร้องขอให้มีการบังคับคดีใหม่เพื่อให้คืนทรัพย์สินให้ครบถ้วนได้