Presentation ที่แม้ขาสั่นแต่ใจสู้

Presentation ที่แม้ขาสั่นแต่ใจสู้

 

 

Presentation ที่แม้ขาสั่นแต่ใจสู้

 

การนำเสนอ หรือที่เรียกกันติดปากว่า Presentation เป็นเรื่องท้าทายของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับใด เจ้าของกิจการเล็กใหญ่สักเพียงใด หรือเป็นคู่ค้าของธุรกิจ การนำเสนอนับเป็นบทบาทที่สำคัญและมักจะต้องกระทำเพื่อความสำเร็จในการทำงาน คนที่นำเสนอดีมักจะเข้าตากรรมการและเขาว่ากันว่าจะได้รับการเสนอให้มีหน้าที่การงานที่

 

 

 

CHANGE ปรับมุมคิด สะกิดมุมบวก

เรื่อง ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

Presentation ที่แม้ขาสั่นแต่ใจสู้

 

การนำเสนอ หรือที่เรียกกันติดปากว่า Presentation เป็นเรื่องท้าทายของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับใด เจ้าของกิจการเล็กใหญ่สักเพียงใด หรือเป็นคู่ค้าของธุรกิจ การนำเสนอนับเป็นบทบาทที่สำคัญและมักจะต้องกระทำเพื่อความสำเร็จในการทำงาน คนที่นำเสนอดีมักจะเข้าตากรรมการและเขาว่ากันว่าจะได้รับการเสนอให้มีหน้าที่การงานที่ดีขึ้น

ใครๆ ก็กลัวการนำเสนอต่อหน้าผู้คน

หากท่านกังวลเกี่ยวกับการนำเสนอนั่นแสดงว่าท่านเป็นคนปกติ เพราะการรู้สึกกังวลเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญกับการนำเสนอนั้น ๆ เมื่อให้ความสำคัญก็แสดงว่าท่านได้ทำการบ้านมาดี ในทางกลับกันหากมีการนำเสนอครั้งใดที่ท่านรู้สึกเฉย ท่านอาจจะคิดว่าท่านมั่นใจ แต่หากท่านไม่ตื่นเต้นกับมันแสดงว่าท่านอาจจะกำลังชะล่าใจกับการนำเสนอครั้งนั้นเกินไป

ที่กล่าวมาไม่ใช่ให้ท่านกลัวการนำเสนอ แต่อยากให้ท่านคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเยอะ ๆ คิดถึงคำถามที่อาจจะโดนถาม คิดถึงการตอบคำถามให้มาก หากคิดถึงการนำเสนอแล้วท่านก็ยังรู้สึกไม่ตื่นเต้น นั่นแสดงว่าท่านมั่นใจมาก แต่ถ้าเกิดความกังวลขึ้นมาก็แสดงว่าท่านต้องทำการบ้านเพิ่มเติมก่อนการนำเสนอ

เทคนิคการนำเสนอที่ดีมีปัจจัยอยู่ 3 ประการ ข้อแรก (และเป็นข้อที่สำคัญที่สุด) คือต้องรู้เรื่องราวที่จะต้องนำเสนอได้เป็นอย่างดี เพราะหากท่านจะต้องนำเสนอเรื่องราวใด ๆ นั่นก็แสดงว่าท่านเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อท่านเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้น ๆ  ท่านก็ควรจะเป็นผู้ที่รู้เรื่องราวที่ดีที่สุด ความคาดหวังต่อการนำเสนอของท่านก็จะสูงขึ้น ดังนั้นหากท่านต้องทำการนำเสนออะไรให้ในที่ประชุมแล้ว จงโปรดมั่นใจเถอะว่าท่านต้องเป็นคนที่รู้เยอะกว่าคนอื่น ดังนั้นต้องทำการบ้านให้ดี รู้ให้มากที่สุด แต่ไม่ต้องรู้ทุกเรื่องก็ได้

ข้อต่อมาคือ ผู้ฟัง การนำเสนอมักมีตัวแปรที่สำคัญคือผู้ฟังซึ่งอาจจะมีจำนวนมากหรือน้อย ตำแหน่งสูงหรือพอ ๆ กับท่าน หรือมีอำนาจชี้เป็นชี้ตายขนาดไหน ดังนั้นก่อนที่ท่านจะนำเสนอท่านต้องรู้เสียก่อนว่าใครเป็นผู้เข้าฟัง โดยปกติแล้วผู้ฟังจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มผู้ที่สนใจหัวข้อของท่านมาก ๆ อาจเป็นเพราะเรื่องที่ท่านนำเสนอจะมีผลต่อเขามาก กับกลุ่มที่อาจจะอยู่ในที่ประชุมแต่ความสนใจจะน้อยกว่า หากท่านพบว่าในกลุ่มผู้ฟังเป็นผู้ที่สนใจในหัวของท่านแล้วละก็ แสดงว่าท่านจำเป็นจะต้องทำการบ้านเรื่องการตอบคำถามให้มากพอ เพื่อเตรียมรับการตอบข้อซักถาม

แต่หากมีผู้ฟังที่ไม่ค่อยมีส่วนได้ส่วนเสียต่อหัวข้อที่ท่านพูด อาจจะมีคำถามมากมายก็ได้ แต่ส่วนมากก็จะไม่ค่อยเป็นคำถามที่น่ากลัวมากนัก ท่านก็อาจจะวางใจได้บ้างเล็กน้อย เพราะท่านจำเป็นต้องทำการบ้านที่มากพออยู่ดีไม่ว่าผู้ฟังจะเป็นประเภทใดก็ตาม

ข้อต่อมาก็มีความสำคัญมากไม่แพ้กันคือ การดำเนินการนำเสนอไม่ให้ติดขัด โดยทั่วไปแล้วการนำเสนอมักจะติดขัดหรือออกทะเลไปได้เพราะท่านไม่สามารถเป็นผู้ควบการนำเสนอ และมักติดขัดกับคำถามแปลก ๆ ที่อยู่ดี ๆ ก็อาจจะโผล่มาได้เสมอ เช่นกำลังพูดเรื่องยอดขายสัปดาห์ที่ผ่านมาแต่เจอคำถามเกี่ยวกับการประเมินยอดขายในปีข้างหน้า ลักษณะการติดขัดเช่นนี้เกิดขึ้นได้เสมอและเท่านต้องดำเนินแก้ไขปมให้ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ หากท่านทราบคำตอบก็จงตอบคำถามนั้นเสีย หรือหากไม่แน่ใจก็ขอเก็บไว้ตอบทาง email ภายหลัง หรือขอเป็น next step สำหรับการประชุมครั้งหน้าต่อไป หากท่านไม่ตัดบทกับคำถามที่โดนถาม ก็จะเสียเวลากับสิ่งที่ไม่ได้เตรียมมาและก็จะไม่สามารถนำเสนอได้อย่างราบรื่น เมื่อการนำเสนอไม่ราบรื่นท่านก็จะพลาดสิ่งที่ท่านต้องการจากกานำเสนอครั้งนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

เป็นตัวของตัวเองดีที่สุด

การเป็นผู้นำเสนอ หรือ presenter ที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่สนุกสนาน ร่าเริง หัวเราะตลอด หรือออกแนวจริงจังสุด ๆ แต่ การเป็น Presenter ที่ดีคือการเป็นตัวของตัวเอง พูดชัดถ้อยชัดคำ ภาษาไทยต้องพูดชัด ภาษาอื่น ๆ ก็แค่ทำดีที่สุดก็พอไม่ต้องชัดเท่าเจ้าของภาษาก็ได้ หลายคนเมื่อต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษก็เกิดความกังวลมากมาย มากจนเกินไปและทำให้การนำเสนอรวนไปเลย

คำแนะนำสั้น ๆ สำหรับการนำเสนอที่ดีคือ

  1. ก่อนวันนำเสนอ: ฝึกซ้อมนำเสนอ อ่านซ้ำ และฝึกซ้อมการนำเสนอ เท่าที่พอมีเวลา เพราะการฝึดจะเกิดความคล่องแคล่วและน่าเชื่อถือมากขึ้น
  2. ณ วันนำเสนอ: ศึกษาหัวข้อการประชุมอื่น ๆ ในการประชุมเดียวกัน จะได้พอรู้ว่าในห้องจะพูดเรื่องอะไรก่อนการนำเสนอของท่านได้  เพราะจะทำให้เราพอจะคาดเดาอารมณ์ของที่ประชุมได้
  3. ขณะนำเสนอ: เริ่มด้วยการยิ้มและขอบคุณผู้ฟังที่ให้โอกาสมานำเสนอ พูดชัดถ้อยชัดคำ และมองหน้าผู้ฟังด้วย อย่ามองแต่สิ่งที่นำเสนออยู่เท่านั้น
  4. จำไว้เสมอว่าทุกคนในที่ประชุมเป็นกำลังใจแก่ท่านและต้องการให้ท่าน นำเสนองานได้อย่างราบรื่น ไม่มีใครอยากให้เราพลาดครับ เพราะฉะนั้นอย่ากลัวคนฟัง

ขอให้ทุกท่านโชคดีกับการนำเสนอนะครับ