รู้ทันก่อนสาย หยุดหายใจขณะหลับคัดกรองได้ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์

รู้ทันก่อนสาย หยุดหายใจขณะหลับคัดกรองได้ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์

 

 

รู้ทันก่อนสาย หยุดหายใจขณะหลับคัดกรองได้ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอันตรายกว่าที่คิด เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้! แน่นอนว่าผู้ป่วยหลายคนอาจไม่รู้ว่าตนเองมีอาการผิดปกติขณะนอนหลับ อาทิ นอนกรนเสียงดัง บางครั้งเหมือนสำลักน้ำลายหรือหยุดหายใจตอนกลางคืน แต่คนใกล้ตัวสามารถช่วยสังเกตได้ง่าย ๆ ดังนั้นบทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเพื่อรู้เท่าทันภาวะดังกล่าว ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ที่สามารถตรวจหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดจากอะไร

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA เป็นภาวะความผิดปกติทางระบบหายใจ เกิดจากการอุดกั้นของช่องทางเดินหายใจ ทำให้ไม่สามารถสูดอากาศหายใจเข้าสู่ร่างกายได้ ภาวะดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพหลายประการ อาทิ นอนหลับได้ไม่ต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย สมาธิสั้น ปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายแย่ลงจนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา อย่างไรก็ตามภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเสี่ยงโรคร้ายอะไรบ้าง ?

l ความดันโลหิตสูง

l ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือหัวใจวาย

l โรคหลอดเลือดสมอง

l เบาหวาน

l ภาวะซึมเศร้า

l โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

อาการบ่งชี้ คุณกำลังเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

l นอนกรนเสียงดังเป็นประจำ เหมือนสำลักน้ำลายขณะนอนหลับ

l หายใจแรง หายใจติดขัดขณะนอนหลับ

l นอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ

l ไม่สดชื่นหรืออ่อนเพลียหลังตื่นนอน

l อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

l ความจำสั้น ไม่มีสมาธิ

l ความรู้สึกทางเพศลดลง

 

การตรวจคัดกรองภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์

ปัจจุบันภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ สามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ โดยเครื่องสแกนอัตโนมัติจะทดสอบจังหวะการหายใจและประเมินผลทางเดินหายใจเป็นภาพอัลตราซาวนด์ 3 มิติ พร้อมทั้งประเมินผลความเสี่ยง รายงานผลการตรวจทั้งระดับปานกลางและรุนแรงได้ทันที

ข้อดีของการตรวจด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์

l ใช้เวลาตรวจเพียง 10 นาที

l ไม่เจ็บตัว ไม่เป็นอันตราย

l การประมวลผลมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง

l สามารถเห็นทางเดินหายใจส่วนบน ด้วยระบบประมวลผลภาพอัลตราซาวด์ 3 มิติ

l ไม่ต้องนอนพักฟื้น

 

ความผิดปกติขณะนอนหลับผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตนเองมีอาการเสี่ยงดังกล่าว ดังนั้นคนใกล้ชิดต้องหมั่นสังเกตอยู่เสมอ

หากผู้ป่วยนอนกรนเสียงดังเหมือนสำลักน้ำลาย หรือหายใจแรงขณะนอนหลับเป็นประจำ อย่ามองข้ามอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา เพื่อรับการตรวจคัดกรองภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ และวางแผนการรักษาต่อไป

 

หมายเหตุ : บทความโดย : นายแพทย์ปวีณ เพชรรักษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)

ศูนย์นอนกรน เวิลด์เมดิคอล ชั้น 3 โทร 02-836-9999 ต่อ *3921-2