เคล็ดไม่ลับ ปรับเพื่อรอดสู่วิถีออนไลน์ การขายแนวใหม่ของชุมชน

เคล็ดไม่ลับ ปรับเพื่อรอดสู่วิถีออนไลน์ การขายแนวใหม่ของชุมชน

 

 

 

 

 

 

เคล็ดไม่ลับ ปรับเพื่อรอดสู่วิถีออนไลน์ การขายแนวใหม่ของชุมชน

 

 

 

          วิกฤตโควิด-19 เป็นคลื่นดิสรัปชันลูกใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ไม่เพียงส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ต่อธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศอย่างธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจนำเข้าและส่งออก แม้แต่วิสาหกิจชุมชนก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน

 

            การปรับตัวได้เร็ว คิดหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ ลองทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย อาจเป็นวิถีที่จะนำพาพ่อค้า-แม่ขาย รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน ให้สามารถปรับตัวสู้โควิด-19 ดิสรัปชันครั้งนี้ได้อย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่จังหวัดระยองนั้น มีชุมชนและวิสาหกิจชุมชนหลายกลุ่มที่ตระหนักถึงความจริงนี้ และพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อให้รอดพ้นวิกฤต ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ก็พร้อมส่งเสริมชุมชนสู่วิถีใหม่เป็น “วิถีออนไลน์” โดยเปิดพื้นที่บน “เฟซบุ๊ก” เป็นตลาดนัดออนไลน์ “ระยองชอปฮิ” ซื้อ-ขายของดีท้องถิ่นระยอง เพื่อให้พี่น้องชุมชนได้ทดลองขายสินค้าออนไลน์ในแบบฉบับของตนเองซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่ชุมชนอาจไม่คุ้นเคยเท่าไรนัก นอกจากนี้ ยังได้แนะนำวิธีการโพสต์ขายสินค้า รวมทั้งแนะนำช่องทางการจัดส่งสินค้า ซึ่งชุมชนได้เปิดใจรับความรู้ใหม่และใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มช่องทางการขาย ตลอดจนช่วยรักษาระยะห่าง (Physical Distancing) และดูแลเรื่องความสะอาดเป็นอย่างดี จนสามารถพลิกเกมธุรกิจในยุค New Normal เร่งฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างยั่งยืน

 

โพสต์ขายออนไลน์ ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด

          การขายสินค้าออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ช่วยให้ชุมชนสามารถโพสต์ขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ให้ความยืดหยุ่นทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ อีกทั้งไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของร้านไปได้ ทำให้พ่อค้า-แม่ขายหลายร้านในจังหวัดระยองเปลี่ยนมาค้าขายทางออนไลน์มากขึ้น  และโพสต์ขายสินค้าในเฟซบุ๊ก “ระยองชอปฮิ” ตลาดนัดออนไลน์ ของดีท้องถิ่นระยอง โดยมีทีมงานจากธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

            พี่กบ ลำเพย แว่วเสียง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา ต.เนินพระ อำเภอเมืองระยอง จ.ระยอง ประธานกลุ่มฯ ผู้ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ และต่อยอดมาเป็นอาหารทะเลแปรรูปหลายประเภท อาทิ ปลาดาบเงินแดดเดียวปรุงรส ก้างปลาเห็ดโคน เนื้อปลาดาบเงินทอดกรอบ ก็เป็นอีกวิสาหกิจชุมชนที่ขยับตัวเพื่อให้รอดจากวิกฤต 

“หลังจากที่มีสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 วิสาหกิจชุมชนฯ ขายสินค้าข้ามจังหวัดไม่ได้เลย เราต้องหาวิธีรอดจากจุดวิกฤตนี้ให้ได้ น้อง ๆ จากเอสซีจี ได้แนะนำให้ลองโพสต์ขายทางออนไลน์ ผ่านทางเฟซบุ๊ก “ระยองชอปฮิ”  มันน่าสนใจ ผมก็เลยตัดสินใจเข้ากลุ่ม โดยเอสซีจี ได้ช่วยสอนวิธีการเขียนโพสต์ขายสินค้า การตั้งราคา วิธีการจัดส่งสินค้า รวมทั้งช่วยหาช่องทางการขายแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมให้ด้วย จากที่เราสู้ทุกวิถีทางจึงส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเดือนละ 30,000 -35,000 บาท จากเดิมที่เราขายได้ประมาณ 20,000 บาท และได้รับกระแสตอบรับดีมาก นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษาของอาหารแปรรูป ชุมชนได้ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ด้วยกระบวนการบรรจุแบบไนโตรเจน ทำให้สินค้าอยู่ได้นาน 2-3 เดือน” 

 

บริการเดลิเวอรี ตัวช่วยสำคัญเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า

            ด้าน พี่ลาวรรณ์ ยั่งยืน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทิวลิป ชุมชนเนินพยอม จ.ระยอง เดิมทีวิสาหกิจฯ จะรวมกลุ่มแม่บ้านผลิตขนมเปี๊ยะ 8 เซียน ซึ่งเอสซีจีได้ช่วยส่งเสริมและแนะนำ จนได้รับรางวัลมาตรฐาน อย. แต่ขณะที่ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดหนักในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจขนมเปี๊ยะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก  

“ช่วงโควิด-19 ขนมเปี๊ยะ 8 เซียน ไม่มียอดขายเลย จากเคยขายได้เป็นแสน เดี๋ยวนี้กลายเป็นศูนย์ ยังดีที่เราปลูกผลไม้ในสวน จึงสลับมาขายผลไม้แทน แต่เราก็ไม่สามารถไปขายตามตลาดนัดต่าง ๆ ได้ เพราะสถานที่ถูกปิดตามมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงแรก เมื่อลูกค้าไม่มาหาเรา เราก็ต้องเป็นฝ่ายไปหาลูกค้าเอง พี่จึงตัดสินใจเข้ากรุ๊ป “ระยองชอปฮิ” เพื่อโพสต์ขายทั้ง มังคุด ทุเรียนหมอนทอง เงาะ ลองกอง และกระท้อน โดยทีมเอสซีจีได้แนะนำบริการจัดส่งเดลิเวอรี “เอสซีจี เอ็กซ์เพรสเป็นบริการขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วนที่ช่วยให้พี่ส่งผลไม้ทางไกลได้

 

การ์ดไม่ตก … เข้มงวดเรื่องมาตรการป้องกันและรักษาความสะอาด

การรักษาความสะอาดและการเว้นระยะห่างในระหว่างการให้บริการ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการค้าขายในยุคโควิด-19 ไม่เว้นแม้แต่การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ น้องชมพู ธัญญพัฒน์ สังข์ประเสริฐ สมาชิกชุมชนบ้านบน มาบตาพุด จ.ระยอง ที่เดิมขายมังคุดส่งออกต่างประเทศ แต่เมื่อเจอพิษโควิด-19 จึงปรับมาขายผลไม้ให้คนในชุมชนแทน  

“แน่นอนว่าทุกคนต้องปรับตัว เนื่องจากลูกค้าไม่อยากออกจากบ้านเพราะกลัวติดเชื้อโควิด-19 เราก็เริ่มเปลี่ยนระบบการขายเป็นแบบออนไลน์ โดยเริ่มมองหาเพจต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปขายผลไม้ได้ และก็ได้รับการแนะนำให้รู้จักเฟซบุ๊ก “ระยองชอปฮิ” จากทีมงานเอสซีจี เราเห็นว่ามีชุมชนลงขายสินค้ากัน จึงไม่รอช้าที่จะกระจายขายสินค้าของเราในกรุ๊ปนั้นด้วย หลังจากนั้นก็มีโอกาสขยายตลาดในประเทศทดแทนตลาดต่างประเทศที่เราไม่สามารถส่งออกได้ ส่งผลให้ยอดขายมากขึ้นเช่นกัน สำหรับเรื่องมาตรการสุขอนามัยเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ โดยพนักงานส่งสินค้าจะสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งขณะปฏิบัติหน้าที่ และรักษาระยะห่างด้วยการแจ้งให้ลูกค้าวางเงินไว้หน้าบ้านเลย แล้วพนักงานก็แขวนสินค้าไว้หน้าบ้าน เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความสะอาดให้กับลูกค้า

 

          เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างการปรับตัวของพ่อค้า-แม่ขาย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ.ระยอง ซึ่งนำไปสู่วิถีการขายใหม่ของชุมชน การเข้าถึงและเรียนรู้เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญ การใส่ใจเรื่องการจัดส่ง และการดูแลสุขอนามัยเพื่อความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องจัดการให้ดี  ทุกๆ วันจึงเป็นการเรียนรู้และปรับตัวร่วมกันจนกว่าจะถึงจุดสมดุล กลายเป็นวิถีใหม่ที่ยั่งยืนต่อไป สำหรับผู้สนใจอุดหนุนสินค้าชุมชนระยอง เพียงคลิกเข้าเฟซบุ๊ก ตลาดนัดออนไลน์ “ระยองชอปฮิ” ซื้อ-ขายของดีท้องถิ่นระยอง  ง่ายๆ แค่นี้ก็ชอปเพลินกันได้ทั้งวันแล้ว

 

Moving Online: How Community Enterprises Are Adapting to Survive and Thrive

 

               The COVID-19 crisis has triggered a tidal wave of disruption with massive economic impact, setting off a chain reaction that hits businesses reliant on international customers, including tourism business operators, importers and exporters, and even community enterprises.

Staying adaptable, always looking for new opportunities, and trying new things – these might be the key that enables retailers and community enterprises to handle the disruption brought on by the COVID-19 pandemic sustainably. In Rayong, it appears that local communities and community enterprises are well aware of this fact and are making adjustments to overcome this crisis. To support local communities in their transition to “online retail,” Chemicals Business, SCG, has opened up a virtual marketplace on Facebook named “Rayong Shop Hi,” where local vendors can try their hand at online e-commerce – a new experience for most of them – and sell local goodies in their own style.  Chemicals Business, SCG has also given them suggestions on social media posts and delivery services. Because the community members have been quick to adopt the new technology that gives them additional sales channels as well as strictly maintain physical distancing and hygiene, they have successfully turned the situation around to thrive in the new normal era and get through this crisis sustainably.

 

Moving Online Is a Lifeline, Not an Alternative

               E-commerce has enabled community members to make posts and sell their products online anytime, offering great flexibility for both customers and vendors. Also, because they do not have to maintain a physical store, they can save on rent. These advantages have drawn sellers across Rayong to “Rayong Shop Hi,” a marketplace where they can sell local products under the close guidance of Chemicals Business, SCG team.

               Lampoei “Gob” Waewsieng, Chairman of Suchada Beach Folk Fishing Community Enterprise in Noen Phra Sub-district, Muang District, Rayong, and Chairman of the Aquaculture Promoters Group, said that his community enterprise, which had also expanded from fisheries to processed seafood products, such as dried and seasoned beltfish, sillago bones, and deep-fried beltfish, is among the many that have adapted in response to the crisis.

“When COVID-19 broke out, at first we could not sell to other provinces and had to find ways to overcome this crisis. The SCG team advised us to sell our products on the Facebook Page ‘Rayong Shop Hi.’ It was interesting, so I decided to join the group. SCG taught us how to write social media posts, set prices, deliver products and helped us find other distribution channels. Because we did everything we could, our sales went up by 30,000-35,000 baht per month from our usual 20,000 baht per month. The feedback has been amazing. Also, to extend the shelf life of our products, we have introduced nitrogen flushing to the packaging process. As a result, our products can last 2-3 months.”

 

Delivery Services: Boosting Convenience for Customers

Lawan Yungyune, Chairman of Tulip Housewife Group Community Enterprise in Noen Phayom Community, Rayong, said that thanks to SCG’s support and guidance, the group’s Eight Immortals Chinese Pastries successfully earned the Thai FDA’s approval. However, their business was severely affected by the serious COVID-19 outbreak in March.

“When the COVID-19 outbreak first began, we could not sell our pastries at all. Our sales went from over a hundred thousand to zero baht. The good thing was that we had orchards, so we started selling fruits instead. However, we could not send them to markets either as they were all closed down during the first phase of the lockdown. Because customers did not come to us, we had to go to them. So, I decided to join ‘Rayong Shop Hi’ to sell our mangosteens, Mon Thong durians, rambutans, lanzones, and santols. The SCG team also recommended to us SCG Express, an express small-parcel delivery service provider that could deliver fruits over long distances.

 

Keeping the Guard up: Enforcing Strict Safety and Hygiene Measures

Hygiene and physical distancing are first and foremost in any services during the COVID-19 pandemic, and that applies to online selling as well. When hit by the coronavirus outbreak, Thanyaphat “Chompooh” Saengprasert, member of Ban Bon Community in Map Ta Phut, Rayong, originally a mangosteen exporter, was forced to sell her fruits to local people instead.

“We all have to adapt. As customers grew more reluctant to leave their houses because of COVID-19,we shifted online and started looking for Facebook pages where we could sell our products. That was when the SCG Team recommended ‘Rayong Shop Hi’ to us. Because we saw posts by local people, we jumped in and started pushing our fruits, too. That opened up an opportunity for us to expand our domestic market to make up for the lost export volume and improved our sales. Also, hygiene is our top priority. Our delivery staff must always wear a mask while on duty and maintain physical distance by asking customers to leave cash in front of their homes and hanging their orders on the front door. This is to assure our customers of the hygiene.

 

            These are only a few examples of how sellers and community enterprises in Rayong are adapting to a new way of selling their products. In this new landscape, the ability to access and learn how to use technology is crucial, and business owners must work to ensure excellent management of their delivery services as well as hygiene and safety. As a result, every day will be a new learning experience until everyone can mutually achieve a new harmony and develop a new sustainable way of life. Those interested in buying Rayong products and support local businesses can visit the Facebook Page “Rayong Shop Hi” and start shopping today.