ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน
ประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย(GDP) ปี 2562จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงจากปี 2561 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสินคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2562จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงจากปี 2561 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2เป็นผลจากการลงทุนและมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 มีปัจจัยสนับสนุนจาก
(1) เม็ดเงินจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐวงเงิน 38,730 ล้านบาทที่เริ่มทยอยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในเดือน ธ.ค. 61ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายประชาชนฐานราก
(2) การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากการเบิกจ่ายงบลงทุนตามงบประมาณประจำปี 2562
(3)โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก (EEC)ที่หลายโครงการมีความคืบหน้าได้รับการอนุมัติการลงทุนแล้วและคาดว่าจะเร่งก่อสร้างในปี 2562(4) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงขยายตัวได้เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นเป้าหมายการพักผ่อนของนักท่องเที่ยวทั่วโลก(5) ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่งผลดีต่อต้นทุนภาคการผลิตและการขนส่งชดเชยต้นทุนทางการเงินที่มีแนวโน้มสูงขึ้นสำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2562ได้แก่
(1) การส่งออกสินค้าอาจได้รับผลกระทบจาก
การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
(2) การเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐอาจต่ำกว่าเป้าหมาย
ที่คาดไว้เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่มีความซับซ้อนด้านกระบวนการ
(3) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 7 ปีของธนาคารแห่งประเทศไทย ในระยะแรกจะส่งผลให้คุณภาพสินเชื่อและการบริโภคของประชาชนชะลอตัว
(4) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอย่างต่อเนื่องและแรงส่งจากมาตรการปรับลดภาษีรายได้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีกำลังอ่อนลงส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ
(5)การดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนมากยิ่งขึ้นและอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของไทย
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี จากดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ซึ่งเป็นผลจากการเกินดุลการค้าและบริการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวจากแรงกดดันของราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มอย่างช้าๆ ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามยังคงมีแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยลดระดับดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายลงเล็กน้อย รวมถึงการออกมาตรการ Macro Prudential เพื่อจำกัดความเสี่ยงเฉพาะจุด เช่น
(1) มาตรการกำกับในภาคอสังหาริมทรัพย์
(2) มาตรการสินเชื่ออุปโภคบริโภค ทั้งบัตรเครดิตและจำนำทะเบียนรถ
(3) การกำกับดูแลสหกรณ์ที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน และเป็นผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว