SCGC ร่วมกับ กนอ. และ 23 พันธมิตร จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล 2022

SCGC ร่วมกับ กนอ. และ 23 พันธมิตร จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล 2022

 

 

 

SCGCร่วมกับ กนอ. และ 23 พันธมิตร จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล 2022 #SeatheChange                                  
ชูการจัดการขยะทะเลอย่างเป็นระบบ ร่วมกู้วิกฤตสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืน

 

 

 

ระยอง - 17 กันยายน 2565 : เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและบ้านฉาง จ.ระยอง จำนวน 23 องค์กร จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล ประจำปี 2565 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจกับประชาชน ในการร่วมมือจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทางอย่างเป็นระบบ เพื่อลดปัญหาขยะทะเลและช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)นำไปสู่การลดปัญหาสภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน

 

 

 

SCGC ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยได้เดินหน้าจัดการปัญหาขยะทะเลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ผนึกกำลังความร่วมมือระดับโลก จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล จังหวัดระยอง ประจำปี 2565 หรือ International Coastal Cleanup 2022 ภายใต้ธีม #SeatheChange เพื่อร่วมสะท้อนผลกระทบจากมลภาวะขยะทางทะเล ที่ได้สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ ครอบคลุมตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างแพลงก์ตอนไปจนถึงปลาวาฬ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงผันผวนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงฉับพลันและภัยแล้งไปทั่วทุกมุมโลก อันเนื่องมาจากสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate emergency)


เพื่อร่วมกันเปลี่ยนโลก SCGC ได้เชิญชวนเหล่าอาสาสมัครแสดงพลังเพื่อท้องทะเลไทย และเพื่อระบบนิเวศทางทะเลที่สมบูรณ์ จากเพียงคนละไม้คนละมือ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ โดยหนึ่งในกุญแจสำคัญของการแก้ปัญหานี้ คือ การจัดการขยะอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการปลูกฝังวิธีการคัดแยกขยะบกให้ถูกต้องตามประเภทตั้งแต่ต้นทาง โดย SCGC พร้อมประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อส่งต่อองค์ความรู้และปลูกฝังทัศนคติเพื่อสิ่งแวดล้อมและโลกที่ยั่งยืน

 

นายปรีดา วัชรเธียรสกุล Vice-President Manufacturing และ Polyolefins Manufacturing Director เอสซีจี เคมิคอลส์ เผยว่า “SCGC ได้ขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ เพื่อดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการขยะทะเล ซึ่งพบว่าขยะทะเลกว่าร้อยละ 80 มาจากกิจกรรมบนบก ทั้งขยะจากครัวเรือนที่หลุดรอดออกสู่ท้องทะเลและการทิ้งขยะบนชายหาด มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มาจากกิจกรรมทางทะเลโดยตรง ซึ่งผลกระทบของขยะทะเลไม่ได้มีผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงวิถีชีวิตของชุมชนริมชายฝั่งอีกด้วย SCGC จึงให้ความสำคัญกับการจัดการขยะที่ต้นทางเพื่อลดปริมาณขยะที่อาจหลุดรอดสู่แหล่งน้ำ และไหลลงสู่ทะเล โดยมีกระบวนการนำขยะไปจัดการอย่างถูกวิธี เกิดเป็น โครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ เน้นการปรับพฤติกรรม ได้แก่ “ใช้ให้คุ้ม” “แยกให้เป็น” และ “ทิ้งให้ถูก” ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อส่งเสริมความรู้และเข้าใจถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยเพิ่มปริมาณขยะรีไซเคิล ควบคู่กับการลดปริมาณการฝังกลบขยะ ซึ่งนำไปสู่การลดวิกฤตโลกร้อนอีกด้วย โดยได้ส่งต่อความรู้และความร่วมมือสู่เยาวชน ร้านค้าและผู้ประกอบการริมหาด กลุ่มประมงพื้นบ้าน และชุมชน”

 

SCGC ยังมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer โดยเน้นการออกแบบให้รีไซเคิลได้ตั้งแต่ต้นทาง มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านรีไซเคิลเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า SCGC ได้วางระบบตั้งแต่ต้นทาง การบริหารจัดการระหว่างทาง และสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค ตลอดจนการเก็บกลับเข้าระบบเพื่อลดปัญหาขยะ ทั้งหมดนี้จึงเป็นแนวทางการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทางอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

 



ว่าที่ ร.ต.พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “เป็นเวลา 20 ปี ที่กิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล ยังได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นกิจกรรมครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี ที่สามารถดึงความร่วมมือของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ที่ต่างมีเป้าหมายชัดเจนร่วมกันพร้อมร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะ ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล สร้างทะเลระยองให้สวยสะอาด ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดระยอง สร้างแหล่งทำกินที่ยั่งยืนให้กลุ่มประมงพื้นบ้าน นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมไปพร้อมกัน”

 

ภายในงานมีจิตอาสากว่า 450 คน ร่วมเก็บขยะชายหาด นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานยังได้รับความรู้จากนิทรรศการเรื่องการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง พร้อมมีการจัดแสดงนวัตกรรม SCGC GREEN POLYMER™ ที่ตอบโจทย์การดูแลสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ มีกลุ่มตัวแทนเยาวชนจาก CS BEACH YOUTH (เยาวชน อนุรักษ์ ทะเล) มาร่วมขับกล่อมบทเพลงรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เป็นตัวแทนเสียงของเยาวชนที่แสดงออกถึงการมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการตระหนักถึงการจัดการปัญหาขยะร่วมกัน เพื่อรักษาระบบนิเวศที่ดี และส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนไปสู่รุ่นต่อไป


ทั้งนี้ วันเสาร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล หรือ International Coastal Cleanup (ICC) ซึ่งมีการจัดกิจกรรมเก็บขยะชาดหาดพร้อมกันทั่วโลก ซึ่งจังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 ณ บริเวณชายหาดแสงจันทร์-แหลมเจริญ อำเภอเมือง และบริเวณหาดน้ำริน-หาดพยูน-หาดพลา อำเภอ บ้านฉาง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดระยอง มีผู้ประกอบการ หน่วยงาน และประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นทุกปี สามารถเก็บขยะได้แล้วกว่า 850,000 ชิ้น รวมน้ำหนักทั้งสิ้นกว่า 95,000 กิโลกรัม โดยข้อมูลของขยะที่เก็บได้จะถูกส่งไปยังองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรวมกับประเทศอื่น ๆ นำไปสู่การแก้ปัญหาขยะในทะเลอย่างยั่งยืน

 

ผู้สนใจสามารถติดตามนวัตกรรมและข่าวสารอื่นๆ ของเอสซีจีได้ที่ https://www.scg.com/esg/https://scgnewschannel.com /Facebook: scgnewschannel / Twitter: @scgnewschannel หรือ Line@: @scgnewschannel

 

SCGC hosts the International Coastal Cleanup 2022 #SeatheChange in collaboration with IEAT and 23 partners, promoting systematic marine debris management as a sustainable solution to the ocean crisis

 

Rayong 17 September 2022: SCG Chemicals (SCGC), an integrated petrochemical leader for sustainability, has joined forces with the Industrial Estate Authority of Thailand and 23 businesses in Map Ta Phut and Ban Chang industrial estates in Rayong to host the International Coastal Cleanup 2022 to foster private-public collaboration for systemic upstream-to-downstream waste management in order to mitigate the issue of marine litter and revitalize coastal ecosystems. The activity also promotes the recovery and reuse of resources in accordance with circular economy principles, which leads to a sustainable solution to global warming.

 

Placing emphasis on environmental conservation alongside business operations,SCGC, which has been engaging in upstream-to-downstream marine debris management,hasjoined a global collaboration to host the International Coastal Cleanup 2022under the theme #SeatheChange. The activity seeks to draw attention to the impact of marine pollution to the ecosystem, from the smallest organisms such as plankton all the way to whales, as well as its role as a contributor to global warming, irregular weather patterns in recent years, and the ongoingclimate emergency, which has triggered flash floods and droughts across the world.

 

To change the world for the better, SCGC has invited volunteers to help revitalize the seas and marine ecosystems as their small contribution can make a big difference. As one of the keys to solving this problem is effective and systematic waste management and the instillation of proper at-source waste segregationpractice, SCGC is ready to join hands with all sectors to pass on knowledge and cultivate eco-conscious attitudes for the sustainability of the environment and the world.

 

Mr. Preeda Vatchratiensakul, Vice-President Manufacturing and Polyolefins Manufacturing Director, SCGC, said, “SCGC has driven various projects for marine and coastal ecosystem revitalization, with particular focus on marine debris management. It is found that over 80% of marine litter originates from land-based activities, including waste from households and littering on beaches. Only about 20% is generated directly by marine activities. Ocean trash affects not only marine life but also the way of life in coastal communities. SCGC thus places great emphasis on at-source waste management, which reduces the amount of waste that will make its way into waterways and eventually to the sea. Our effort to create proper waste management has led to the Waste-free Community Project, which focuses on fostering behaviors such as “resource maximization,” “correct sorting,” and “proper disposal” in accordance with circular economy principles in order to foster an understanding of resource efficiency, increase recycling, as well as reducing landfilling, which ultimately helps mitigate global warming. Through this project, we have passed on knowledge to and fostered collaboration among youths, beachfront store and business owners, local fishery groups, and communities.”

 

 

SCGC is also committed to designing and developing green polymers that are readily designed to be recyclable from the beginning and has innovated recycling technology to enable the recovery and reuse of plastics. It is thus clear that SCGC has planned out the entire system, from upstream to downstream management all the way to educating consumers and retrieval of materials back into the system to minimize waste problems, thus forming systematic and sustainable end-to-end waste management.

 

Acting Sub-Lieutenant Pirun Hemarak, Deputy Governor of Rayong, stated, “Over the past 20 years, the International Coastal Cleanup has garnered tremendous attention and has been a major annual event that can bring together all sectors, including government agencies, private businesses, and the general public, who all share the goals of tackling waste problems, restoring the marine ecosystem, keeping Rayong’s seas clean and pristine, promoting the province’s natural tourism, creating a sustainable source of livelihood for local fishery groups, and generating a steady source of income for local residents, which ultimately plays a vital role in the simultaneous development of the environment, economy, and society.”

 

Over 450 volunteers participated in the beach cleanup. The event also featured an educational exhibition on waste management at the source, a showcase of SCGC GREEN POLYMER™, which addresses various environmental needs, and a vocal performance by representatives of CS BEACH YOUTH, where they performed songs promoting sustainable conservation of marine resources and conveying their hopes on behalf of young people everywhere that all sectors will recognize the significance of collaborative waste management in order to preserve healthy ecosystems and pass on a sustainable environment to the next generation.

 

The International Coastal Cleanup is held annually on the third Saturday of September across the world. The activity has been organized in Rayong for 20 consecutive years at Saeng Chan and Laem Charoen beaches in Muang District and at Nam Rin, Phayun, and Phla beaches in Ban Chang District, which are Rayong’s vital natural tourist attractions. The event has drawn an increasing number of business owners, government agencies, and members of the general public each year. Over 850,000 pieces of trash, weighing more than 95,000 kilograms in total, have been collected, and the data of the waste collected is sent to Ocean Conservancy in the United States to be added to the numbers of other participating countries in order to solve the issue of marine pollution sustainably.

 

 

For more SCG innovation for living solutions, better communities, and a healthier environment please visit https://www.scg.com/esg/ https://scgnewschannel.com /Facebook:scgnewschannel / Twitter: @scgnewschannel / Line@: @scgnewschannel