เอสซีจี จับมือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอสซีจี จับมือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

           

เอสซีจี จับมือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ลงนาม MOU ภายใต้หัวข้อ Pathway to NET ZERO Building

 

 

บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนประเทศไทยมุ่งสู่สังคม NET ZERO ภายใต้หัวข้อ Pathway to NET ZERO Building เพื่อให้ความรู้และเผยแพร่ แนวทางการออกแบบอาคารที่มีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ตลอดจนแนวทางการออกแบบเพื่อสุขภาวะที่ดี เทคโนโลยีและนวัตกรรมประหยัดพลังงานอาคาร นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นต้นแบบความร่วมมือแห่งอนาคต ที่ระดมทรัพยากรที่เป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ จากภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ ให้เกิดประโยชน์ ในวงกว้างต่อไป

นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี ตามแนวทาง ESG โดย เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในฐานะผู้นำด้านสินค้า บริการ รวมถึงโซลูชันด้านสินค้าวัสดุก่อสร้าง ที่ได้ให้ความสำคัญในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในอาคารมาโดยตลอด โดยปัจจุบันสถิติการปลดปล่อยคาร์บอนจากอาคาร (building carbon emissions) นับเป็นกว่า 39% ของการปลดปล่อยคาร์บอนทั้งหมดจากทั่วโลก ความร่วมมือครั้งนี้จึงถือเป็นวาระเร่งด่วนและมีความสำคัญมากที่จะต้องพัฒนามาตรการและวิธีในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

 

 

ในครั้งนี้ เอสซีจี โดย SCG Building and Living Care Consulting ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืนและเพื่อสุขภาวะที่ดี ซึ่งมุ่งเผยแพร่ Pathway to NET ZERO Building Guideline เพื่อนำพาสังคมมุ่งสู่ NET ZERO ในปี 2050 และ SCG Smart Building Solution ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านพลังงานอาคาร มีความยินดีที่จะนำองค์ความรู้มาต่อยอด ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนา Pathway to net zero building guideline เผยแพร่สู่สาธารณะและผลักดันการพัฒนา NET ZERO Building ในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการนำผลการศึกษาร่วมกันไปเริ่มดำเนินการในโครงการนำร่องต่างๆ ตามแผนต่อไป

ด้าน ผศ.อาสาฬ์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า บทบาทของสถาบันการศึกษาในการมองเห็นอนาคต สร้างนวัตกรรมและเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสังคมสู่ความยั่งยืน เป็นพันธกิจสำคัญของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะฯให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทางออกในการแก้ปัญหาใหม่ๆบนความท้าทายของบริบทใหม่ๆที่ยั่งยืนและส่งผลกระทบอย่างสร้างสรรค์ต่อสังคมและประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โลกในอนาคตถูกขับเคลื่อนด้วย แรงขับ (driving force) ที่สำคัญ ด้าน ได้แก่ มิติด้านสุขภาวะและคุณภาพชีวิต (well-being and quality of life) มิติด้านคุณค่าหมุนเวียนและความยั่งยืน (circular value and sustainability) และมิติด้านการผสานทางออกในการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (digital solution and integration) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านคุณค่าหมุนเวียนและความยั่งยืน ที่เป็นโจทย์ความท้าทายสำคัญของโลก ที่ต้องได้รับความร่วมมือในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ซึ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างผลกระทบที่เป็นบวกอย่างสร้างสรรค์ได้

 

 

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการออกแบบ และสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (built environment) เล็งเห็นความสำคัญของบทบาทของคณะฯในการประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจในการร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามกรอบนโยบายที่ถูกผลักดันให้เป็นวาระเร่งด่วนระดับประเทศและระดับโลก ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำระดับภูมิภาคอาเซียนในธุรกิจสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการก่อสร้างที่ยั่งยืน จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการร่วมผลักดันแนวนโยบายดังกล่าวสู่การลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในการมส่วนร่วมขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน