ไปรษณีย์ไทย ชูมาตรการ 3 ระยะ คุมเข้มรถขนส่งลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 พร้อมจับมือเขตหลักสี่ ตรวจวัดค่าควันดำ ป้องกันก่อมลพิษเพิ่ม

ไปรษณีย์ไทย ชูมาตรการ 3 ระยะ คุมเข้มรถขนส่งลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 พร้อมจับมือเขตหลักสี่ ตรวจวัดค่าควันดำ ป้องกันก่อมลพิษเพิ่ม

 

 

 

 

ไปรษณีย์ไทย ชูมาตรการ 3 ระยะ คุมเข้มรถขนส่งลดปัญหาฝุ่น PM 2.5
พร้อมจับมือเขตหลักสี่ ตรวจวัดค่าควันดำ ป้องกันก่อมลพิษเพิ่ม

 

 

กรุงเทพฯ 8 กุมภาพันธ์ 2562 - บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ชูมาตรการคุมเข้มรถขนส่ง 3 ระยะ เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน คือ 1. ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ 2. ใช้น้ำมันชนิดอื่นทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล และ 3. ใช้รถยนต์พลังงานงานทดแทน พร้อมจับมือสำนักงานเขตหลักสี่ เปิดตัว โครงการ “ไปรษณีย์ไทย ส่งต่อด้วยใจ…รักษ์” นำร่องตรวจวัดค่าควันดำรถขนส่งไปรษณีย์ เพื่อควบคุมไม่ให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทย ยังมีมาตรการให้รถขนส่งทุกประเภท เข้ารับการตรวจสภาพทั้งก่อนและหลังใช้งาน รวมถึงต้องได้รับการบำรุงรักษาตามกำหนดระยะเวลาอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ พิธีเปิดโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (สำนักงานใหญ่) เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือเว็บไซต์ www.thailandpost.co.th


นายกาหลง ทรัพย์สอาด รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายงานระบบปฏิบัติการ) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทย ตระหนักถึงสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากระบบการคมนาคม จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานเขตหลักสี่ เปิดโครงการ “ไปรษณีย์ไทย ส่งต่อด้วยใจ…รักษ์” นำร่องตรวจวัดค่าควันดำรถขนส่งไปรษณีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน พร้อมชูมาตรการควบคุมดูแลรถขนส่งทุกประเภทใน 3 ระยะ เพื่อป้องกันการเกิดมลพิษเพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


• ระยะสั้น - ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ รถยนต์ขนส่งที่ใช้งานในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ต้องเข้ารับการตรวจเช็ค บำรุงรักษาทั้งสภาพเครื่องยนต์และตรวจวัดควันดำ ในระยะทาง-ระยะเวลาลดลงจากมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนดประมาณ 30% เช่น ทำความสะอาดไส้กรองอากาศจากเดิมทุก 10,000 กิโลเมตร หรือ 6 เดือน เป็น 7,000 กิโลเมตร หรือ 5 เดือน ให้เจ้าหน้าที่ขับรถดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ล้างท่อไอเสียเร็วขึ้น เป็นต้น

• ระยะกลาง - ใช้น้ำมันชนิดอื่นทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ปรับให้รถยนต์ขนส่งของไปรษณีย์ไทยใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล B20 หรือเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ เช่น ไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ เอทานอล ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งจัดหาเครื่องตรวจวัดไอเสียรถยนต์ไว้ใช้ตรวจวัดรถยนต์ขนส่งของไปรษณีย์ไทย

• ระยะยาว - ใช้รถยนต์พลังงานทดแทน ไปรษณีย์ไทย มีแผนจะใช้รถยนต์พลังงานงานทดแทน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า มาใช้ในการให้บริการเพื่อลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท เป็นการแก้ปัญหาฝุ่นละอองอย่างยั่งยืน


อย่างไรก็ตาม ไปรษณีย์ไทย ในฐานะผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ต้องอาศัยยานพาหนะในการให้บริการ เป็นจำนวน 2,500 คัน จึงมีมาตรการตั้งรับเพื่อป้องกันไม่ให้รถขนส่งทุกประเภทเป็นแหล่งกำเนิดค่าควันดำที่เกินมาตรฐาน คือ รถขนส่งทุกประเภท จะต้องได้รับการตรวจสภาพทั้งก่อนและหลังใช้งาน รวมถึงต้องได้รับการบำรุงรักษาตามกำหนดระยะเวลาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ทั้งนี้ ไปรษณีย์ไทย พร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด นายกาหลง กล่าวทิ้งท้าย


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545 หรือเว็บไซต์ www.thailandpost.co.th