เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567

เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567

  

 

เอสซีจี คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567
สร้าง “คน” ดันนวัตกรรมกรีนสร้างรายได้ ชูสมาร์ทโซลูชันตอบโจทย์
เร่งเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามแนวทาง Inclusive Green Growth
 
 
เอสซีจี โดยนายปรเมศวร์ นิสากรเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – การบริหารกลาง เอสซีจี (ที่ 3 จากซ้าย) นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงาน Polymers Technology and Product Development บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC (ที่ 2 จากซ้าย) และนายอดิศักดิ์ วรคุณพินิจ ผู้อำนวยการ Innovation and Product Development Center บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP (ซ้าย) ร่วมรับรางวัล นวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม ประจำปี 2567 โดยมี ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้มอบโล่รางวัลฯ ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดยมอบให้แก่องค์กรที่มีการบริหารจัดการโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการสร้างคุณค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืนแก่องค์กร ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ กระบวนการไปจนถึงระดับโครงสร้าง ตามกรอบแนวทางการพัฒนาศักยภาพ นวัตกรรมองค์กร (Innovation Organization Model: IOM) ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้มีการพัฒนาขึ้นในปี 2562 และนำมาใช้ประกอบพิจารณารางวัล เป็นต้นมา
 
รางวัลเกียรติคุณดังกล่าวฯ เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของพวกเราชาวเอสซีจี ที่มุ่งมั่นทุ่มเทตามภารกิจ มุ่งสร้างธุรกิจให้เติบโต พร้อมร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ตามแนวคิด Passion for Inclusive Green Growth พร้อมเดินหน้าพัฒนา “นวัตกรรมกรีน” ในทุกธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2050 อาทิ ปูนคาร์บอนต่ำ เจเนอเรชัน 2 ซึ่งลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ร้อยละ 15-20 สมาร์ทโซลูชัน ยกระดับการอยู่อาศัย ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ และช่วยประหยัดพลังงาน เช่น ระบบบำบัดอากาศเสีย Air Scrubber โซลูชันพลังงานสะอาด ‘Solar Hybrid Solutions’ นวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก SCGC GREEN POLYMERTM สู่ตลาดสีเขียวที่มีความต้องการมาก อาทิ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ตอบรับเทรนด์รักษ์โลก และบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย Fest และเส้นใยนาโนเซลลูโลสสำหรับกระดาษบรรจุภัณฑ์ รวมทั้ง มุ่งพัฒนาศักยภาพแก่บุคลากร ด้วยการยกระดับ และฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ (Upskill and Reskill) เพื่อให้สามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งยังเปิดโอกาสให้คนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีศักยภาพเพื่อเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ นวัตกรรม สินค้า และโซลูชัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย พร้อมเดินหน้าสู่ “องค์กรแห่งโอกาส” (Organization of possibilities) และร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และเป็นโอกาสของคนที่มีไอเดียหรือสนใจสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้วิกฤตโลกเดือด โดยการเปิด โอกาสเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม เปลี่ยนแพสชันให้เป็นจริงผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พัฒนาสตาร์ทอัพสตูดิโอ ในโครงการ ZERO TO ONE เป็นต้น