บ้านสไตล์อิงลิชคลาสสิก วิทยา สินทราพรรณทร “อยู่แล้วต้องอบอุ่น”

บ้านสไตล์อิงลิชคลาสสิก วิทยา สินทราพรรณทร “อยู่แล้วต้องอบอุ่น”

 

 

 

เรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง • ภาพ : ชวรินทร์ เผงสวัสดิ์

 แต่งหน้า : วิโรจน์ ชมแค • ทำผม : วรพงษ์ พลเวียงคำ

 

 

 บ้านสไตล์อิงลิชคลาสสิก

 วิทยา สินทราพรรณทร “อยู่แล้วต้องอบอุ่น”

 

บ้านหนุ่มผู้บริหารระดับสูงแห่งธนาคารทีเอ็มบี ในสไตล์อิงลิชคลาสสิก ใจกลางสีลม เผยหลักการบริหารและเคล็ดลับอยากให้บ้านสวยไม่เหมือนใครต้องเชื่อใจอินทีเรียร์

 

 

มาพูดคุยกับผู้บริหารสายการตลาด ตุ้ย-วิทยา สินทราพรรณทร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทีเอ็มบี ในการใช้ชีวิตกับภรรยาสุดสวย เอมี่-รพีพร วงศ์ทองคำ ภายในบ้านย่านสีลมกับแนวคิดของนักบริหารสู่นักอนุรักษ์ความเป็นแอนทีก

 

 //บ้านในฝัน

 ย้อนตำนานบ้านหลังนี้ที่สร้างมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี เป็นทาวน์เฮาส์ 2 หลัง หลังละ 36 ตารางวา เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ซื้อไว้นานแล้ว โดยได้ปล่อยให้ฝรั่งเช่าก่อนหน้านี้ “ระหว่างที่ผมทำงานอยู่ที่สิงคโปร์นานประมาณ 6-7 ปี พอกลับมาอยู่เมืองไทยก็ไม่อยากอยู่คอนโด ก็เลยบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าจะขอทำบ้าน 2 หลังนี้ ของผมหลังหนึ่ง ส่วนอีกหลังเป็นของคุณพ่อคุณแม่และน้องสาว จะได้อยู่ใกล้ๆ กันเพื่อดูแลกัน

 “สมัยก่อนผมเรียนอยู่ต่างประเทศ พอเรียนจบกลับมาทำงานก็ต้องเดินทางไปดูงานต่างประเทศค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป ทำให้ผมหลงใหลใฝ่ฝันว่าสักวันอยากมีบ้านเหมือนในแถบยุโรป แล้วคิดว่าถ้ามีบ้านก็อยากมีสไตล์เก่าๆ คลาสสิกๆ กำแพงเป็นอิฐก้อน พอเดินเข้ามาแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น เพราะผมไม่ค่อยชอบบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือสไตล์เอเชียนโอเรียนทอลมากๆ (หัวเราะ)

 

“เวลาผมไปอยู่โรงแรมหรือไปเที่ยวในแถบยุโรป จะรู้สึกแฮปปี้มาก แล้วอยากมีบ้านสไตล์นั้น ผมเลยบอกกับอินทีเรียร์ดีไซเนอร์ คุณโป้ง-ณัฐวุฒิ สาระเขตต์ ซึ่งเป็นรุ่นน้องของเพื่อนสนิท ซึ่งครั้งแรกที่รู้จักกันก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะทำอย่างที่เราฝันไว้ได้หรือเปล่า (หัวเราะ) เขาก็ถามผมว่าต้องการฟังก์ชันอะไรบ้าง บ้านมีกี่ชั้น อยากได้บ้านสไตล์ไหน แต่ละชั้นต้องการฟังก์ชันประมาณไหน ผมบอกไปว่าชั้นที่ 1 ให้เป็นห้องรับแขกเล็กๆ มีครัว โต๊ะอาหาร และลานจอดรถยนต์

 

 “ส่วนชั้น 2 อยากมีห้องทำงานส่วนตัว มีห้องปาร์ตี้สำหรับเพื่อนฝูง และระเบียง เพราะมีเพื่อนที่สูบบุหรี่ เลยอยากให้มีระเบียงหน้าและหลังบ้าน มองเข้ามาจะเหมือนบ้านในยุโรป และชั้น 3 ขอเป็นส่วนตัวทั้งชั้น เป็นห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ ห้องนั่งดูทีวี และชั้น 4 ขอเป็นดาดฟ้า คุณโป้งก็ไปดีไซน์มาว่าจะต้องปรับหรือทุบตรงไหน ตอนที่ทุบบ้านหลังนี้เหลือแต่เสาเท่านั้นที่คงเดิม (หัวเราะ) ทุกอย่างปรับระดับ เปลี่ยนพื้นใหม่ทั้งหมด และมีบางจุดที่ต่อเสาเพิ่ม ส่วนชั้น 4 ที่ทำเป็นดาดฟ้าแล้วยังมีการต่อเติมให้มีหลังคาด้วย”

 

 //ต้องเชื่อใจ “อินทีเรียร์”

 เมื่อเริ่มสร้างบ้านทุกคนก็ย่อมคาดหวังว่านิวาสสถานของตัวเองนั้นจะต้องสวยและโดดเด่น คุณตุ้ยเผยว่ามันต้องอยู่ที่ความเชื่อใจผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการตามใจตัวเอง

 “พอคุณโป้งเริ่มวาดแบบ ผมก็ขนหนังสือเกี่ยวกับบ้านเป็นตั้งๆ ยกไปให้ดู แล้วบอกว่าห้องนี้อยากได้สไตล์ประมาณนี้ เขาก็ประกอบภาพแล้วดีไซน์ออกมาว่าแต่ละห้องน่าจะเป็นแบบนี้ พอผมได้ทำงานกับคุณโป้งแล้วรู้สึกแฮปปี้มาก เพราะเขาให้คำแนะนำเราได้เยอะ บางอย่างที่เขาบอกว่าไม่เหมาะ ผมก็มีเสียงค้านอยู่ในใจนิดๆ แต่พอคุยไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าสิ่งที่เขาพูดหรือคำแนะนำของเขามันตรง มันใช่ ผมก็พยายามแนะนำเพื่อนหรือน้องๆ ว่าอินทีเรียร์ดีไซเนอร์คนนี้เจ๋ง ทำงานด้วยแล้วสบายใจสุดๆ

 “ผมจะบอกทุกคนว่า ถ้าเราคิดที่จะใช้อินทีเรียร์ แม้ว่าเราจะมีสไตล์ส่วนตัวที่ชอบยังไงก็แล้วแต่ อย่าพยายามที่จะไปเถียงอินทีเรียร์เลย เพราะเขาเป็นคนที่ร่ำเรียนมาทางนี้ จะต้องรู้ดีกว่าเราแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่สีหรือการดีไซน์ฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสม ผมเห็นบางบ้านที่ดูราคาแพงมาก แต่พอสร้างเสร็จหมดแล้วดูไม่ค่อยสวย ผมเลยมาคิดว่าเจ้าของบ้านอาจไม่ฟังอินทีเรียร์ หรือทำตามใจตัวเองมากจนเกินไป ทำให้สไตล์บ้านออกมาไม่ค่อยจะลงตัวสักเท่าไหร่ บางคนบอกว่าเราอยากทำบ้านที่เราชอบ ไม่ได้สร้างให้อินทีเรียร์อยู่ แต่มุมมองของผมคิดว่าถ้าคิดจะใช้อินทีเรียร์แล้ว มันน่าจะมีจุดที่เจอกันตรงกลางดีกว่า

 “เราอยากได้บ้านอย่างที่เราต้องการ เพราะเราเป็นผู้อยู่ แต่ถ้าอยากได้บ้านสวยอินทีเรียร์ก็สำคัญ อินทีเรียร์เปรียบเสมือนศิลปิน ถ้าเราไปสั่งให้เขาทำแบบนั้นแบบนี้ เขาคงจะไม่แฮปปี้ แต่ถ้าเรามีความเชื่อใจกัน เปิดใจรับฟังเขาในฐานะที่เป็นมืออาชีพ ผมว่าเขาจะสามารถให้คำแนะนำดีๆ ได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสไตล์หรือวัสดุต่างๆ ที่เลือกใช้ รวมถึงเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้น อย่างเคสบ้านผม ผมจะบอกเลยว่าผมชอบให้บ้านมีส่วนผสมของไม้ หินอ่อน และวอลเปเปอร์ คุณโป้งก็จะแนะนำว่าห้องไหนควรจะใช้วัสดุอะไร วอลเปเปอร์แบบไหน ผ้าม่าน วอลเปเปอร์ควรจะเป็นสีอะไร แล้วเฟอร์นิเจอร์ที่เอามาวางควรเป็นลักษณะไหน ขนาดเท่าไหร่ ของเก่าเองมันก็มีหลายยุคหลายสมัยหลายสไตล์ เพราะมีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายร้อยปี บางสไตล์จะจัดมาก บางสไตล์ก็เรียบง่าย บางชิ้นไม้จะสีเข้ม บางชิ้นสีอ่อน ไม่ใช่เราชอบของเก่าแล้วเอาอะไรมาใส่ก็ไม่ใช่ เพราะของต่างๆ ก็มียุคของมันด้วย การจะเอาของหลายๆ ยุค หลายๆ สไตล์มาอยู่ในบ้านให้เหมือนเป็นบ้านที่ได้รับมรดกตกทอดผ่านมาหลายๆ เจเนอเรชั่น ผมว่ามันไม่ง่าย ดังนั้นเวลาผมจะซื้อเฟอร์นิเจอร์อะไรก็จะส่งให้อินทีเรียร์ดูก่อนว่าใช้ได้มั้ย เหมาะกับแต่ละห้องมั้ย ต้องปรึกษาและขอคำแนะนำตลอดหนึ่งปีของการตกแต่งใหม่ทั้งหมดจนเสร็จพร้อมเข้าอยู่”

 

//นิยามบ้าน “ต้องอบอุ่น”

 จากนั้นเจ้าของบ้านพาเดินชมห้องที่ตกแต่งออกมาได้อย่างถูกใจ “ห้องนั่งดูทีวีภายในห้องนอนเป็นห้องที่ผมใช้เป็นประจำ เพราะเป็นห้องที่เก็บสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคาทอลิก และก็มีเตาผิง ผมบอกอินทีเรียร์ไปว่าผมชอบเตาผิง อยากได้ ใส่ไว้ให้หน่อย จะไว้ห้องไหนก็ได้ เขาก็พยายามดูว่าห้องไหนจะเหมาะสมที่สุด ในที่สุดก็มาลงตัวที่ห้องนั่งดูทีวี ซึ่งเป็นส่วนต่อจากห้องนอน เตาผิงมีหลายแบบ ทั้งไม้ หินอ่อน สีอ่อน สีเข้ม ลายเยอะหรือลายน้อย เขาบอกว่าห้องดูทีวีของผมมันค่อนข้างเล็ก เตาผิงต้องเป็นสีขาว เรียบๆ ขนาดต้องประมาณนี้เท่านั้น เพื่อให้เหมาะกับความกว้างของผนัง

 “สำหรับผม นิยามของบ้านคืออยู่แล้วต้องอบอุ่น พอเดินเข้ามาแล้วจะต้องได้รับความรู้สึกนั้นทันที บ้านไม่ใช่สวยสำหรับคนอื่น แต่บ้านต้องสวยสำหรับเรา เพราะเราเป็นคนอยู่ ไม่ใช่ให้คนอื่นเดินเข้ามาแล้วบอกว่าสวย แต่เราต้องเดินเข้ามาแล้วบอกว่า Yes, This is my home เพื่อนผมบางคนเดินเข้ามาแล้วบอกว่าของเยอะโคตร ไม่มีจุดพักสายตา (หัวเราะ) แต่ผมกลับรู้สึกว่าของเยอะทำให้รู้สึกอบอุ่นดี อารมณ์เหมือนตอนที่ผมไปร้านอาหารเก่าแก่ที่สุดในลอนดอนที่ชื่อ Rules แล้วเห็นของที่ตกแต่งในร้านมันเยอะๆ รกๆ ทำให้ผมรู้สึกอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูก

 

 “สำหรับมุมโปรดของผมจะเป็นห้องทำงานชั้น 2 เพราะมันเป็นห้องส่วนตัวที่เข้าไปเช็กอีเมล ทำงาน หรือเตรียมพรีเซนเทชั่น ผมเลยใช้เวลาอยู่ในห้องนี้เยอะ มันเป็นห้องที่ไม่เหมือนห้องนอนที่เห็นเตียงแล้วกระโดดลงไปนอนได้เลย แล้วก็ไม่ใช่ห้องครัวที่จะเดินเข้าไปหยิบของกินได้ตลอดเวลา ดังนั้นห้องโปรดของผมเลยเป็นห้องทำงาน ที่เวลาอยากทำงานหรือคิดงานอะไรก็จะสร้างไอเดียตรงนี้ แต่ถ้าเป็นห้องโปรดที่เวลามีเพื่อนมาที่บ้านเยอะๆ ก็จะเป็นห้องปาร์ตี้ ที่มารวมตัวกันเป็นสิบคนก็สบาย”

 นอกจากนี้ คุณตุ้ยยังเล่าถึงของสะสมที่เก็บไว้เพื่อเป็นรางวัลชีวิตให้กับตัวเอง อาทิ รูปปั้นสัญลักษณ์คาทอลิกที่เป็นทั้งของสะสมและบูชา รูปภาพสีน้ำมันเก่าๆ รวมทั้งของเก่าที่เป็นแอนทีก และนาฬิกา

 

 //Passion นำทางสู่ความสำเร็จ

 คุณวิทยาเกิดมาในครอบครัวทำธุรกิจเกี่ยวกับจิวเวลรี ที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า มีพี่น้อง 3 คน (พี่ชาย คุณวรวุฒิ และ น้องสาว คุณวรางคณา สินทราพรรณทร) เริ่มเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ถึง ม.4 และได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศแคนาดา จากนั้นกลับมาเรียนต่อปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และจบปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ MBA จาก The George Washington University, Washington D.C., U.S.A.

 

 “พอเรียนจบกลับมาก็ทำงานสายการตลาดมาโดยตลอด ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ 20 ปีแล้ว เพราะเรียนจบมาทางสายการตลาดและสายการพัฒนาธุรกิจ เริ่มทำงานที่บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ จากนั้นไปอยู่บริษัทบุหรี่ประมาณ 9 ปี แต่ประจำอยู่ต่างประเทศ 6-7 ปี พอกลับมาเมืองไทยก็มาทำงานให้กับหน่วยงานรัฐบาล เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติ จากนั้นมาอยู่ในเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของสเวนเซ่นส์ และล่าสุดก็มาอยู่แบงก์ทีเอ็มบีได้ประมาณ 1 ปีแล้ว

 

 “ผมคิดว่าถึงแม้จะเปลี่ยนธุรกิจหรืออุตสาหกรรม แต่ก็ยังทำงานสายการตลาดเหมือนเดิม แค่เราเปลี่ยนประเภทธุรกิจเท่านั้นเอง เพราะในแง่ของการทำการตลาดมันไม่ค่อยต่างกันมาก สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือตัวสินค้าและบริการ และสองต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ แต่ความยากและความท้าทายของงานที่ผมทำอยู่คือลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นลูกค้าธุรกิจ ความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินก็จะซับซ้อนกว่าลูกค้าบุคคลทั่วไป ลูกค้าธุรกิจก็จะมีทั้ง SME รวมไปถึงลูกค้าที่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งความต้องการก็จะซับซ้อนแตกต่างกันไป ดังนั้นงานนี้สำหรับผมจึงถือว่าท้าทายเป็นอย่างมาก

 “ความสำเร็จของผมวันนี้คิดว่าคนเราต้องมี passion กับทุกสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ถ้าเราไม่มี passion กับสิ่งที่ทำ เราก็จะทำได้ไม่ดี อย่างแต่งบ้านผมก็ต้องมี passion คืออยากทำและตั้งใจทำกับมันจริงๆ ทุ่มเทแบบสุดๆ เรื่องงานก็เหมือนกัน ไม่ว่าผมจะได้รับผิดชอบในงานไหน ใจเราต้องไปก่อน ยังทำไม่ได้ ยังไม่มีความรู้ แต่ถ้าใจไปแล้วผมว่าอย่างอื่นมันจะตามมา พอใจมามันจะ force ให้เราเกิดการเรียนรู้ อ่าน ค้นหา พยายาม และเข้าไปเรียนรู้ลึกๆ กับมัน ผมถึงบอกว่า passion เป็นเรื่องสำคัญ

 “และการทำงานเราต้องมีความซื่อสัตย์กับสิ่งที่ทำ ผมว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน เพราะว่าถ้าเรามีความซื่อสัตย์ในสิ่งที่ทำ ไม่ว่ากับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือลูกน้อง มันคือเครดิตที่เราสร้างมาตลอด คนที่รู้จักเราก็จะพูดว่าน่าเชื่อถือและเชื่อถือได้ ไม่มีอะไรตุกติก ทุกอย่าง clean ผมคิดว่าการทำงานด้วยความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรา อีกสิ่งหนึ่งเราต้องมี commitment คือ เต็มที่กับมัน ทุกงานที่ได้รับมอบหมายเราต้องทำให้เต็มที่ เพราะเขาจ้างเราเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเข้ามาอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เรามีคนที่ต้องดูแล เช่นผมมีลูกน้องในฝ่ายประมาณ 30 คน มีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆ อยู่ 5 ส่วน ฉะนั้นมันก็ไม่ง่าย ด้วยความที่เราก็เคยเป็นเด็กมาก่อน เราต้องดูแลลูกน้องด้วยการให้ใจ ไม่ใช่ดูแลเรื่องส่วนตัว แต่เราต้องดูไปถึงเรื่องสวัสดิการ เรื่องการพัฒนา เพราะพนักงานเหล่านี้อีกหน่อยก็ต้องโตเหมือนเรา เขามาอยู่ในองค์กร ก็ต้องหวังที่จะเจริญก้าวหน้าและได้รับการพัฒนาเช่นเดียวกัน ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ เพราะว่าพอเราโต เราต้องเก่งในเรื่องของการบริหารคน จากที่ในอดีตตอนเป็นเด็กเราเคยเป็นผู้ทำมาเยอะ แต่ตอนนี้เราเป็นผู้บริหาร เราต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้คิด และบริหารงานให้ลูกน้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องดึงศักยภาพให้เขาทำงานได้อย่างดีที่สุด”

 

 //ชีวิตคู่คือการค้นหา

 คนเราส่วนใหญ่ที่มีชีวิตคู่ต้องเกิดจากความรัก ความเข้าใจ การให้อภัย ที่สำคัญต้องมีการยอมรับในตัวตนของกันและกัน เช่นเดียวกับนักบริหารการตลาดคนนี้ที่แบ่งเวลาการทำงานและครอบครัวได้อย่างลงตัว

 “ผมมีเวลาว่างก็จะให้เวลากับครอบครัวเป็นหลัก เพราะจันทร์ถึงศุกร์ผมทำงาน ก็จะอยู่คอนโดแถวหลังสวน พอเสาร์-อาทิตย์ก็กลับมานอนบ้านหลังนี้เพื่อที่จะได้เจอคุณพ่อคุณแม่ (สุรินทร์ และ สมใจ สินทราพรรณทร) ด้วย ผมอยู่บ้านก็อยู่กับภรรยาสองคน แต่ตอนนี้ภรรยากำลังจะมีน้อง อีกไม่นานครอบครัวเราก็จะได้สมาชิกใหม่ เลยต้องจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวตัวเอง และครอบครัวภรรยา เพื่อนเราเพื่อนเขา แต่ผมก็ไม่เคยละเลยในเรื่องของการออกกำลังกาย พยายามให้ได้อาทิตย์ละ 3-4 วัน

 

 “ในการใช้ชีวิตคู่ให้ราบเรียบได้นั้น ผมคิดว่าพื้นฐานเราต้องมีความรักให้กันก่อน ถ้าไม่รักกันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ ไม่ใช่อยู่ด้วยกันแค่ความเหมาะสม ผมคิดว่ามันไม่พอ การที่เราจะอยู่ด้วยกันได้นานๆ มันต้องมีพื้นฐานจากความรัก ต้องยอมรับในพื้นฐานความเป็นตัวตนของกันและกัน อย่าไปคาดหวังให้เขาต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมคิดว่ามันจะกลายเป็นการครอบงำ สิ่งสำคัญเวลามีอะไรต้องคุยกัน แชร์กัน ทั้งเรื่องสุขและทุกข์ ส่วนเรื่องปลีกย่อยก็ต้องปรับตัวกันไป เพราะชีวิตคู่มันเปรียบเสมือนการค้นหากันไปเรื่อยๆ เหมือนคำกล่าวที่ว่า Marriage is a lifetime discovery ดังนั้นการปรับตัวมันเลยมีอยู่ทุกช่วงเวลา และตลอดระยะทางที่เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน”เรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง • ภาพ : ชวรินทร์ เผงสวัสดิ์
แต่งหน้า : วิโรจน์ ชมแค • ทำผม : วรพงษ์ พลเวียงคำ


บ้านสไตล์อิงลิชคลาสสิก
วิทยา สินทราพรรณทร “อยู่แล้วต้องอบอุ่น”

บ้านหนุ่มผู้บริหารระดับสูงแห่งธนาคารทีเอ็มบี ในสไตล์อิงลิชคลาสสิก ใจกลางสีลม เผยหลักการบริหารและเคล็ดลับอยากให้บ้านสวยไม่เหมือนใครต้องเชื่อใจอินทีเรียร์


มาพูดคุยกับผู้บริหารสายการตลาด ตุ้ย-วิทยา สินทราพรรณทร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทีเอ็มบี ในการใช้ชีวิตกับภรรยาสุดสวย เอมี่-รพีพร วงศ์ทองคำ ภายในบ้านย่านสีลมกับแนวคิดของนักบริหารสู่นักอนุรักษ์ความเป็นแอนทีก

//บ้านในฝัน
ย้อนตำนานบ้านหลังนี้ที่สร้างมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี เป็นทาวน์เฮาส์ 2 หลัง หลังละ 36 ตารางวา เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ซื้อไว้นานแล้ว โดยได้ปล่อยให้ฝรั่งเช่าก่อนหน้านี้ “ระหว่างที่ผมทำงานอยู่ที่สิงคโปร์นานประมาณ 6-7 ปี พอกลับมาอยู่เมืองไทยก็ไม่อยากอยู่คอนโด ก็เลยบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าจะขอทำบ้าน 2 หลังนี้ ของผมหลังหนึ่ง ส่วนอีกหลังเป็นของคุณพ่อคุณแม่และน้องสาว จะได้อยู่ใกล้ๆ กันเพื่อดูแลกัน
“สมัยก่อนผมเรียนอยู่ต่างประเทศ พอเรียนจบกลับมาทำงานก็ต้องเดินทางไปดูงานต่างประเทศค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป ทำให้ผมหลงใหลใฝ่ฝันว่าสักวันอยากมีบ้านเหมือนในแถบยุโรป แล้วคิดว่าถ้ามีบ้านก็อยากมีสไตล์เก่าๆ คลาสสิกๆ กำแพงเป็นอิฐก้อน พอเดินเข้ามาแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น เพราะผมไม่ค่อยชอบบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือสไตล์เอเชียนโอเรียนทอลมากๆ (หัวเราะ)

“เวลาผมไปอยู่โรงแรมหรือไปเที่ยวในแถบยุโรป จะรู้สึกแฮปปี้มาก แล้วอยากมีบ้านสไตล์นั้น ผมเลยบอกกับอินทีเรียร์ดีไซเนอร์ คุณโป้ง-ณัฐวุฒิ สาระเขตต์ ซึ่งเป็นรุ่นน้องของเพื่อนสนิท ซึ่งครั้งแรกที่รู้จักกันก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะทำอย่างที่เราฝันไว้ได้หรือเปล่า (หัวเราะ) เขาก็ถามผมว่าต้องการฟังก์ชันอะไรบ้าง บ้านมีกี่ชั้น อยากได้บ้านสไตล์ไหน แต่ละชั้นต้องการฟังก์ชันประมาณไหน ผมบอกไปว่าชั้นที่ 1 ให้เป็นห้องรับแขกเล็กๆ มีครัว โต๊ะอาหาร และลานจอดรถยนต์

“ส่วนชั้น 2 อยากมีห้องทำงานส่วนตัว มีห้องปาร์ตี้สำหรับเพื่อนฝูง และระเบียง เพราะมีเพื่อนที่สูบบุหรี่ เลยอยากให้มีระเบียงหน้าและหลังบ้าน มองเข้ามาจะเหมือนบ้านในยุโรป และชั้น 3 ขอเป็นส่วนตัวทั้งชั้น เป็นห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ ห้องนั่งดูทีวี และชั้น 4 ขอเป็นดาดฟ้า คุณโป้งก็ไปดีไซน์มาว่าจะต้องปรับหรือทุบตรงไหน ตอนที่ทุบบ้านหลังนี้เหลือแต่เสาเท่านั้นที่คงเดิม (หัวเราะ) ทุกอย่างปรับระดับ เปลี่ยนพื้นใหม่ทั้งหมด และมีบางจุดที่ต่อเสาเพิ่ม ส่วนชั้น 4 ที่ทำเป็นดาดฟ้าแล้วยังมีการต่อเติมให้มีหลังคาด้วย”

//ต้องเชื่อใจ “อินทีเรียร์”
เมื่อเริ่มสร้างบ้านทุกคนก็ย่อมคาดหวังว่านิวาสสถานของตัวเองนั้นจะต้องสวยและโดดเด่น คุณตุ้ยเผยว่ามันต้องอยู่ที่ความเชื่อใจผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการตามใจตัวเอง
“พอคุณโป้งเริ่มวาดแบบ ผมก็ขนหนังสือเกี่ยวกับบ้านเป็นตั้งๆ ยกไปให้ดู แล้วบอกว่าห้องนี้อยากได้สไตล์ประมาณนี้ เขาก็ประกอบภาพแล้วดีไซน์ออกมาว่าแต่ละห้องน่าจะเป็นแบบนี้ พอผมได้ทำงานกับคุณโป้งแล้วรู้สึกแฮปปี้มาก เพราะเขาให้คำแนะนำเราได้เยอะ บางอย่างที่เขาบอกว่าไม่เหมาะ ผมก็มีเสียงค้านอยู่ในใจนิดๆ แต่พอคุยไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าสิ่งที่เขาพูดหรือคำแนะนำของเขามันตรง มันใช่ ผมก็พยายามแนะนำเพื่อนหรือน้องๆ ว่าอินทีเรียร์ดีไซเนอร์คนนี้เจ๋ง ทำงานด้วยแล้วสบายใจสุดๆ
“ผมจะบอกทุกคนว่า ถ้าเราคิดที่จะใช้อินทีเรียร์ แม้ว่าเราจะมีสไตล์ส่วนตัวที่ชอบยังไงก็แล้วแต่ อย่าพยายามที่จะไปเถียงอินทีเรียร์เลย เพราะเขาเป็นคนที่ร่ำเรียนมาทางนี้ จะต้องรู้ดีกว่าเราแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่สีหรือการดีไซน์ฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสม ผมเห็นบางบ้านที่ดูราคาแพงมาก แต่พอสร้างเสร็จหมดแล้วดูไม่ค่อยสวย ผมเลยมาคิดว่าเจ้าของบ้านอาจไม่ฟังอินทีเรียร์ หรือทำตามใจตัวเองมากจนเกินไป ทำให้สไตล์บ้านออกมาไม่ค่อยจะลงตัวสักเท่าไหร่ บางคนบอกว่าเราอยากทำบ้านที่เราชอบ ไม่ได้สร้างให้อินทีเรียร์อยู่ แต่มุมมองของผมคิดว่าถ้าคิดจะใช้อินทีเรียร์แล้ว มันน่าจะมีจุดที่เจอกันตรงกลางดีกว่า
“เราอยากได้บ้านอย่างที่เราต้องการ เพราะเราเป็นผู้อยู่ แต่ถ้าอยากได้บ้านสวยอินทีเรียร์ก็สำคัญ อินทีเรียร์เปรียบเสมือนศิลปิน ถ้าเราไปสั่งให้เขาทำแบบนั้นแบบนี้ เขาคงจะไม่แฮปปี้ แต่ถ้าเรามีความเชื่อใจกัน เปิดใจรับฟังเขาในฐานะที่เป็นมืออาชีพ ผมว่าเขาจะสามารถให้คำแนะนำดีๆ ได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสไตล์หรือวัสดุต่างๆ ที่เลือกใช้ รวมถึงเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้น อย่างเคสบ้านผม ผมจะบอกเลยว่าผมชอบให้บ้านมีส่วนผสมของไม้ หินอ่อน และวอลเปเปอร์ คุณโป้งก็จะแนะนำว่าห้องไหนควรจะใช้วัสดุอะไร วอลเปเปอร์แบบไหน ผ้าม่าน วอลเปเปอร์ควรจะเป็นสีอะไร แล้วเฟอร์นิเจอร์ที่เอามาวางควรเป็นลักษณะไหน ขนาดเท่าไหร่ ของเก่าเองมันก็มีหลายยุคหลายสมัยหลายสไตล์ เพราะมีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายร้อยปี บางสไตล์จะจัดมาก บางสไตล์ก็เรียบง่าย บางชิ้นไม้จะสีเข้ม บางชิ้นสีอ่อน ไม่ใช่เราชอบของเก่าแล้วเอาอะไรมาใส่ก็ไม่ใช่ เพราะของต่างๆ ก็มียุคของมันด้วย การจะเอาของหลายๆ ยุค หลายๆ สไตล์มาอยู่ในบ้านให้เหมือนเป็นบ้านที่ได้รับมรดกตกทอดผ่านมาหลายๆ เจเนอเรชั่น ผมว่ามันไม่ง่าย ดังนั้นเวลาผมจะซื้อเฟอร์นิเจอร์อะไรก็จะส่งให้อินทีเรียร์ดูก่อนว่าใช้ได้มั้ย เหมาะกับแต่ละห้องมั้ย ต้องปรึกษาและขอคำแนะนำตลอดหนึ่งปีของการตกแต่งใหม่ทั้งหมดจนเสร็จพร้อมเข้าอยู่”

//นิยามบ้าน “ต้องอบอุ่น”
จากนั้นเจ้าของบ้านพาเดินชมห้องที่ตกแต่งออกมาได้อย่างถูกใจ “ห้องนั่งดูทีวีภายในห้องนอนเป็นห้องที่ผมใช้เป็นประจำ เพราะเป็นห้องที่เก็บสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคาทอลิก และก็มีเตาผิง ผมบอกอินทีเรียร์ไปว่าผมชอบเตาผิง อยากได้ ใส่ไว้ให้หน่อย จะไว้ห้องไหนก็ได้ เขาก็พยายามดูว่าห้องไหนจะเหมาะสมที่สุด ในที่สุดก็มาลงตัวที่ห้องนั่งดูทีวี ซึ่งเป็นส่วนต่อจากห้องนอน เตาผิงมีหลายแบบ ทั้งไม้ หินอ่อน สีอ่อน สีเข้ม ลายเยอะหรือลายน้อย เขาบอกว่าห้องดูทีวีของผมมันค่อนข้างเล็ก เตาผิงต้องเป็นสีขาว เรียบๆ ขนาดต้องประมาณนี้เท่านั้น เพื่อให้เหมาะกับความกว้างของผนัง
“สำหรับผม นิยามของบ้านคืออยู่แล้วต้องอบอุ่น พอเดินเข้ามาแล้วจะต้องได้รับความรู้สึกนั้นทันที บ้านไม่ใช่สวยสำหรับคนอื่น แต่บ้านต้องสวยสำหรับเรา เพราะเราเป็นคนอยู่ ไม่ใช่ให้คนอื่นเดินเข้ามาแล้วบอกว่าสวย แต่เราต้องเดินเข้ามาแล้วบอกว่า Yes, This is my home เพื่อนผมบางคนเดินเข้ามาแล้วบอกว่าของเยอะโคตร ไม่มีจุดพักสายตา (หัวเราะ) แต่ผมกลับรู้สึกว่าของเยอะทำให้รู้สึกอบอุ่นดี อารมณ์เหมือนตอนที่ผมไปร้านอาหารเก่าแก่ที่สุดในลอนดอนที่ชื่อ Rules แล้วเห็นของที่ตกแต่งในร้านมันเยอะๆ รกๆ ทำให้ผมรู้สึกอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูก

“สำหรับมุมโปรดของผมจะเป็นห้องทำงานชั้น 2 เพราะมันเป็นห้องส่วนตัวที่เข้าไปเช็กอีเมล ทำงาน หรือเตรียมพรีเซนเทชั่น ผมเลยใช้เวลาอยู่ในห้องนี้เยอะ มันเป็นห้องที่ไม่เหมือนห้องนอนที่เห็นเตียงแล้วกระโดดลงไปนอนได้เลย แล้วก็ไม่ใช่ห้องครัวที่จะเดินเข้าไปหยิบของกินได้ตลอดเวลา ดังนั้นห้องโปรดของผมเลยเป็นห้องทำงาน ที่เวลาอยากทำงานหรือคิดงานอะไรก็จะสร้างไอเดียตรงนี้ แต่ถ้าเป็นห้องโปรดที่เวลามีเพื่อนมาที่บ้านเยอะๆ ก็จะเป็นห้องปาร์ตี้ ที่มารวมตัวกันเป็นสิบคนก็สบาย”
นอกจากนี้ คุณตุ้ยยังเล่าถึงของสะสมที่เก็บไว้เพื่อเป็นรางวัลชีวิตให้กับตัวเอง อาทิ รูปปั้นสัญลักษณ์คาทอลิกที่เป็นทั้งของสะสมและบูชา รูปภาพสีน้ำมันเก่าๆ รวมทั้งของเก่าที่เป็นแอนทีก และนาฬิกา

//Passion นำทางสู่ความสำเร็จ
คุณวิทยาเกิดมาในครอบครัวทำธุรกิจเกี่ยวกับจิวเวลรี ที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า มีพี่น้อง 3 คน (พี่ชาย คุณวรวุฒิ และ น้องสาว คุณวรางคณา สินทราพรรณทร) เริ่มเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ถึง ม.4 และได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศแคนาดา จากนั้นกลับมาเรียนต่อปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และจบปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ MBA จาก The George Washington University, Washington D.C., U.S.A.

“พอเรียนจบกลับมาก็ทำงานสายการตลาดมาโดยตลอด ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ 20 ปีแล้ว เพราะเรียนจบมาทางสายการตลาดและสายการพัฒนาธุรกิจ เริ่มทำงานที่บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ จากนั้นไปอยู่บริษัทบุหรี่ประมาณ 9 ปี แต่ประจำอยู่ต่างประเทศ 6-7 ปี พอกลับมาเมืองไทยก็มาทำงานให้กับหน่วยงานรัฐบาล เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติ จากนั้นมาอยู่ในเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของสเวนเซ่นส์ และล่าสุดก็มาอยู่แบงก์ทีเอ็มบีได้ประมาณ 1 ปีแล้ว

“ผมคิดว่าถึงแม้จะเปลี่ยนธุรกิจหรืออุตสาหกรรม แต่ก็ยังทำงานสายการตลาดเหมือนเดิม แค่เราเปลี่ยนประเภทธุรกิจเท่านั้นเอง เพราะในแง่ของการทำการตลาดมันไม่ค่อยต่างกันมาก สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือตัวสินค้าและบริการ และสองต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ แต่ความยากและความท้าทายของงานที่ผมทำอยู่คือลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นลูกค้าธุรกิจ ความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินก็จะซับซ้อนกว่าลูกค้าบุคคลทั่วไป ลูกค้าธุรกิจก็จะมีทั้ง SME รวมไปถึงลูกค้าที่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งความต้องการก็จะซับซ้อนแตกต่างกันไป ดังนั้นงานนี้สำหรับผมจึงถือว่าท้าทายเป็นอย่างมาก
“ความสำเร็จของผมวันนี้คิดว่าคนเราต้องมี passion กับทุกสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ถ้าเราไม่มี passion กับสิ่งที่ทำ เราก็จะทำได้ไม่ดี อย่างแต่งบ้านผมก็ต้องมี passion คืออยากทำและตั้งใจทำกับมันจริงๆ ทุ่มเทแบบสุดๆ เรื่องงานก็เหมือนกัน ไม่ว่าผมจะได้รับผิดชอบในงานไหน ใจเราต้องไปก่อน ยังทำไม่ได้ ยังไม่มีความรู้ แต่ถ้าใจไปแล้วผมว่าอย่างอื่นมันจะตามมา พอใจมามันจะ force ให้เราเกิดการเรียนรู้ อ่าน ค้นหา พยายาม และเข้าไปเรียนรู้ลึกๆ กับมัน ผมถึงบอกว่า passion เป็นเรื่องสำคัญ
“และการทำงานเราต้องมีความซื่อสัตย์กับสิ่งที่ทำ ผมว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน เพราะว่าถ้าเรามีความซื่อสัตย์ในสิ่งที่ทำ ไม่ว่ากับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือลูกน้อง มันคือเครดิตที่เราสร้างมาตลอด คนที่รู้จักเราก็จะพูดว่าน่าเชื่อถือและเชื่อถือได้ ไม่มีอะไรตุกติก ทุกอย่าง clean ผมคิดว่าการทำงานด้วยความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรา อีกสิ่งหนึ่งเราต้องมี commitment คือ เต็มที่กับมัน ทุกงานที่ได้รับมอบหมายเราต้องทำให้เต็มที่ เพราะเขาจ้างเราเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเข้ามาอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เรามีคนที่ต้องดูแล เช่นผมมีลูกน้องในฝ่ายประมาณ 30 คน มีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆ อยู่ 5 ส่วน ฉะนั้นมันก็ไม่ง่าย ด้วยความที่เราก็เคยเป็นเด็กมาก่อน เราต้องดูแลลูกน้องด้วยการให้ใจ ไม่ใช่ดูแลเรื่องส่วนตัว แต่เราต้องดูไปถึงเรื่องสวัสดิการ เรื่องการพัฒนา เพราะพนักงานเหล่านี้อีกหน่อยก็ต้องโตเหมือนเรา เขามาอยู่ในองค์กร ก็ต้องหวังที่จะเจริญก้าวหน้าและได้รับการพัฒนาเช่นเดียวกัน ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ เพราะว่าพอเราโต เราต้องเก่งในเรื่องของการบริหารคน จากที่ในอดีตตอนเป็นเด็กเราเคยเป็นผู้ทำมาเยอะ แต่ตอนนี้เราเป็นผู้บริหาร เราต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้คิด และบริหารงานให้ลูกน้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องดึงศักยภาพให้เขาทำงานได้อย่างดีที่สุด”

//ชีวิตคู่คือการค้นหา
คนเราส่วนใหญ่ที่มีชีวิตคู่ต้องเกิดจากความรัก ความเข้าใจ การให้อภัย ที่สำคัญต้องมีการยอมรับในตัวตนของกันและกัน เช่นเดียวกับนักบริหารการตลาดคนนี้ที่แบ่งเวลาการทำงานและครอบครัวได้อย่างลงตัว
“ผมมีเวลาว่างก็จะให้เวลากับครอบครัวเป็นหลัก เพราะจันทร์ถึงศุกร์ผมทำงาน ก็จะอยู่คอนโดแถวหลังสวน พอเสาร์-อาทิตย์ก็กลับมานอนบ้านหลังนี้เพื่อที่จะได้เจอคุณพ่อคุณแม่ (สุรินทร์ และ สมใจ สินทราพรรณทร) ด้วย ผมอยู่บ้านก็อยู่กับภรรยาสองคน แต่ตอนนี้ภรรยากำลังจะมีน้อง อีกไม่นานครอบครัวเราก็จะได้สมาชิกใหม่ เลยต้องจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวตัวเอง และครอบครัวภรรยา เพื่อนเราเพื่อนเขา แต่ผมก็ไม่เคยละเลยในเรื่องของการออกกำลังกาย พยายามให้ได้อาทิตย์ละ 3-4 วัน

“ในการใช้ชีวิตคู่ให้ราบเรียบได้นั้น ผมคิดว่าพื้นฐานเราต้องมีความรักให้กันก่อน ถ้าไม่รักกันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ ไม่ใช่อยู่ด้วยกันแค่ความเหมาะสม ผมคิดว่ามันไม่พอ การที่เราจะอยู่ด้วยกันได้นานๆ มันต้องมีพื้นฐานจากความรัก ต้องยอมรับในพื้นฐานความเป็นตัวตนของกันและกัน อย่าไปคาดหวังให้เขาต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมคิดว่ามันจะกลายเป็นการครอบงำ สิ่งสำคัญเวลามีอะไรต้องคุยกัน แชร์กัน ทั้งเรื่องสุขและทุกข์ ส่วนเรื่องปลีกย่อยก็ต้องปรับตัวกันไป เพราะชีวิตคู่มันเปรียบเสมือนการค้นหากันไปเรื่อยๆ เหมือนคำกล่าวที่ว่า Marriage is a lifetime discovery ดังนั้นการปรับตัวมันเลยมีอยู่ทุกช่วงเรื่อง : สุทธิคุณ กองทอง • ภาพ : ชวรินทร์ เผงสวัสดิ์
แต่งหน้า : วิโรจน์ ชมแค • ทำผม : วรพงษ์ พลเวียงคำ


บ้านสไตล์อิงลิชคลาสสิก
วิทยา สินทราพรรณทร “อยู่แล้วต้องอบอุ่น”

บ้านหนุ่มผู้บริหารระดับสูงแห่งธนาคารทีเอ็มบี ในสไตล์อิงลิชคลาสสิก ใจกลางสีลม เผยหลักการบริหารและเคล็ดลับอยากให้บ้านสวยไม่เหมือนใครต้องเชื่อใจอินทีเรียร์


มาพูดคุยกับผู้บริหารสายการตลาด ตุ้ย-วิทยา สินทราพรรณทร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทีเอ็มบี ในการใช้ชีวิตกับภรรยาสุดสวย เอมี่-รพีพร วงศ์ทองคำ ภายในบ้านย่านสีลมกับแนวคิดของนักบริหารสู่นักอนุรักษ์ความเป็นแอนทีก

//บ้านในฝัน
ย้อนตำนานบ้านหลังนี้ที่สร้างมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี เป็นทาวน์เฮาส์ 2 หลัง หลังละ 36 ตารางวา เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ซื้อไว้นานแล้ว โดยได้ปล่อยให้ฝรั่งเช่าก่อนหน้านี้ “ระหว่างที่ผมทำงานอยู่ที่สิงคโปร์นานประมาณ 6-7 ปี พอกลับมาอยู่เมืองไทยก็ไม่อยากอยู่คอนโด ก็เลยบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าจะขอทำบ้าน 2 หลังนี้ ของผมหลังหนึ่ง ส่วนอีกหลังเป็นของคุณพ่อคุณแม่และน้องสาว จะได้อยู่ใกล้ๆ กันเพื่อดูแลกัน
“สมัยก่อนผมเรียนอยู่ต่างประเทศ พอเรียนจบกลับมาทำงานก็ต้องเดินทางไปดูงานต่างประเทศค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป ทำให้ผมหลงใหลใฝ่ฝันว่าสักวันอยากมีบ้านเหมือนในแถบยุโรป แล้วคิดว่าถ้ามีบ้านก็อยากมีสไตล์เก่าๆ คลาสสิกๆ กำแพงเป็นอิฐก้อน พอเดินเข้ามาแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น เพราะผมไม่ค่อยชอบบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือสไตล์เอเชียนโอเรียนทอลมากๆ (หัวเราะ)

“เวลาผมไปอยู่โรงแรมหรือไปเที่ยวในแถบยุโรป จะรู้สึกแฮปปี้มาก แล้วอยากมีบ้านสไตล์นั้น ผมเลยบอกกับอินทีเรียร์ดีไซเนอร์ คุณโป้ง-ณัฐวุฒิ สาระเขตต์ ซึ่งเป็นรุ่นน้องของเพื่อนสนิท ซึ่งครั้งแรกที่รู้จักกันก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะทำอย่างที่เราฝันไว้ได้หรือเปล่า (หัวเราะ) เขาก็ถามผมว่าต้องการฟังก์ชันอะไรบ้าง บ้านมีกี่ชั้น อยากได้บ้านสไตล์ไหน แต่ละชั้นต้องการฟังก์ชันประมาณไหน ผมบอกไปว่าชั้นที่ 1 ให้เป็นห้องรับแขกเล็กๆ มีครัว โต๊ะอาหาร และลานจอดรถยนต์

“ส่วนชั้น 2 อยากมีห้องทำงานส่วนตัว มีห้องปาร์ตี้สำหรับเพื่อนฝูง และระเบียง เพราะมีเพื่อนที่สูบบุหรี่ เลยอยากให้มีระเบียงหน้าและหลังบ้าน มองเข้ามาจะเหมือนบ้านในยุโรป และชั้น 3 ขอเป็นส่วนตัวทั้งชั้น เป็นห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ ห้องนั่งดูทีวี และชั้น 4 ขอเป็นดาดฟ้า คุณโป้งก็ไปดีไซน์มาว่าจะต้องปรับหรือทุบตรงไหน ตอนที่ทุบบ้านหลังนี้เหลือแต่เสาเท่านั้นที่คงเดิม (หัวเราะ) ทุกอย่างปรับระดับ เปลี่ยนพื้นใหม่ทั้งหมด และมีบางจุดที่ต่อเสาเพิ่ม ส่วนชั้น 4 ที่ทำเป็นดาดฟ้าแล้วยังมีการต่อเติมให้มีหลังคาด้วย”

//ต้องเชื่อใจ “อินทีเรียร์”
เมื่อเริ่มสร้างบ้านทุกคนก็ย่อมคาดหวังว่านิวาสสถานของตัวเองนั้นจะต้องสวยและโดดเด่น คุณตุ้ยเผยว่ามันต้องอยู่ที่ความเชื่อใจผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการตามใจตัวเอง
“พอคุณโป้งเริ่มวาดแบบ ผมก็ขนหนังสือเกี่ยวกับบ้านเป็นตั้งๆ ยกไปให้ดู แล้วบอกว่าห้องนี้อยากได้สไตล์ประมาณนี้ เขาก็ประกอบภาพแล้วดีไซน์ออกมาว่าแต่ละห้องน่าจะเป็นแบบนี้ พอผมได้ทำงานกับคุณโป้งแล้วรู้สึกแฮปปี้มาก เพราะเขาให้คำแนะนำเราได้เยอะ บางอย่างที่เขาบอกว่าไม่เหมาะ ผมก็มีเสียงค้านอยู่ในใจนิดๆ แต่พอคุยไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าสิ่งที่เขาพูดหรือคำแนะนำของเขามันตรง มันใช่ ผมก็พยายามแนะนำเพื่อนหรือน้องๆ ว่าอินทีเรียร์ดีไซเนอร์คนนี้เจ๋ง ทำงานด้วยแล้วสบายใจสุดๆ
“ผมจะบอกทุกคนว่า ถ้าเราคิดที่จะใช้อินทีเรียร์ แม้ว่าเราจะมีสไตล์ส่วนตัวที่ชอบยังไงก็แล้วแต่ อย่าพยายามที่จะไปเถียงอินทีเรียร์เลย เพราะเขาเป็นคนที่ร่ำเรียนมาทางนี้ จะต้องรู้ดีกว่าเราแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่สีหรือการดีไซน์ฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสม ผมเห็นบางบ้านที่ดูราคาแพงมาก แต่พอสร้างเสร็จหมดแล้วดูไม่ค่อยสวย ผมเลยมาคิดว่าเจ้าของบ้านอาจไม่ฟังอินทีเรียร์ หรือทำตามใจตัวเองมากจนเกินไป ทำให้สไตล์บ้านออกมาไม่ค่อยจะลงตัวสักเท่าไหร่ บางคนบอกว่าเราอยากทำบ้านที่เราชอบ ไม่ได้สร้างให้อินทีเรียร์อยู่ แต่มุมมองของผมคิดว่าถ้าคิดจะใช้อินทีเรียร์แล้ว มันน่าจะมีจุดที่เจอกันตรงกลางดีกว่า
“เราอยากได้บ้านอย่างที่เราต้องการ เพราะเราเป็นผู้อยู่ แต่ถ้าอยากได้บ้านสวยอินทีเรียร์ก็สำคัญ อินทีเรียร์เปรียบเสมือนศิลปิน ถ้าเราไปสั่งให้เขาทำแบบนั้นแบบนี้ เขาคงจะไม่แฮปปี้ แต่ถ้าเรามีความเชื่อใจกัน เปิดใจรับฟังเขาในฐานะที่เป็นมืออาชีพ ผมว่าเขาจะสามารถให้คำแนะนำดีๆ ได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสไตล์หรือวัสดุต่างๆ ที่เลือกใช้ รวมถึงเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้น อย่างเคสบ้านผม ผมจะบอกเลยว่าผมชอบให้บ้านมีส่วนผสมของไม้ หินอ่อน และวอลเปเปอร์ คุณโป้งก็จะแนะนำว่าห้องไหนควรจะใช้วัสดุอะไร วอลเปเปอร์แบบไหน ผ้าม่าน วอลเปเปอร์ควรจะเป็นสีอะไร แล้วเฟอร์นิเจอร์ที่เอามาวางควรเป็นลักษณะไหน ขนาดเท่าไหร่ ของเก่าเองมันก็มีหลายยุคหลายสมัยหลายสไตล์ เพราะมีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายร้อยปี บางสไตล์จะจัดมาก บางสไตล์ก็เรียบง่าย บางชิ้นไม้จะสีเข้ม บางชิ้นสีอ่อน ไม่ใช่เราชอบของเก่าแล้วเอาอะไรมาใส่ก็ไม่ใช่ เพราะของต่างๆ ก็มียุคของมันด้วย การจะเอาของหลายๆ ยุค หลายๆ สไตล์มาอยู่ในบ้านให้เหมือนเป็นบ้านที่ได้รับมรดกตกทอดผ่านมาหลายๆ เจเนอเรชั่น ผมว่ามันไม่ง่าย ดังนั้นเวลาผมจะซื้อเฟอร์นิเจอร์อะไรก็จะส่งให้อินทีเรียร์ดูก่อนว่าใช้ได้มั้ย เหมาะกับแต่ละห้องมั้ย ต้องปรึกษาและขอคำแนะนำตลอดหนึ่งปีของการตกแต่งใหม่ทั้งหมดจนเสร็จพร้อมเข้าอยู่”

//นิยามบ้าน “ต้องอบอุ่น”
จากนั้นเจ้าของบ้านพาเดินชมห้องที่ตกแต่งออกมาได้อย่างถูกใจ “ห้องนั่งดูทีวีภายในห้องนอนเป็นห้องที่ผมใช้เป็นประจำ เพราะเป็นห้องที่เก็บสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคาทอลิก และก็มีเตาผิง ผมบอกอินทีเรียร์ไปว่าผมชอบเตาผิง อยากได้ ใส่ไว้ให้หน่อย จะไว้ห้องไหนก็ได้ เขาก็พยายามดูว่าห้องไหนจะเหมาะสมที่สุด ในที่สุดก็มาลงตัวที่ห้องนั่งดูทีวี ซึ่งเป็นส่วนต่อจากห้องนอน เตาผิงมีหลายแบบ ทั้งไม้ หินอ่อน สีอ่อน สีเข้ม ลายเยอะหรือลายน้อย เขาบอกว่าห้องดูทีวีของผมมันค่อนข้างเล็ก เตาผิงต้องเป็นสีขาว เรียบๆ ขนาดต้องประมาณนี้เท่านั้น เพื่อให้เหมาะกับความกว้างของผนัง
“สำหรับผม นิยามของบ้านคืออยู่แล้วต้องอบอุ่น พอเดินเข้ามาแล้วจะต้องได้รับความรู้สึกนั้นทันที บ้านไม่ใช่สวยสำหรับคนอื่น แต่บ้านต้องสวยสำหรับเรา เพราะเราเป็นคนอยู่ ไม่ใช่ให้คนอื่นเดินเข้ามาแล้วบอกว่าสวย แต่เราต้องเดินเข้ามาแล้วบอกว่า Yes, This is my home เพื่อนผมบางคนเดินเข้ามาแล้วบอกว่าของเยอะโคตร ไม่มีจุดพักสายตา (หัวเราะ) แต่ผมกลับรู้สึกว่าของเยอะทำให้รู้สึกอบอุ่นดี อารมณ์เหมือนตอนที่ผมไปร้านอาหารเก่าแก่ที่สุดในลอนดอนที่ชื่อ Rules แล้วเห็นของที่ตกแต่งในร้านมันเยอะๆ รกๆ ทำให้ผมรู้สึกอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูก

“สำหรับมุมโปรดของผมจะเป็นห้องทำงานชั้น 2 เพราะมันเป็นห้องส่วนตัวที่เข้าไปเช็กอีเมล ทำงาน หรือเตรียมพรีเซนเทชั่น ผมเลยใช้เวลาอยู่ในห้องนี้เยอะ มันเป็นห้องที่ไม่เหมือนห้องนอนที่เห็นเตียงแล้วกระโดดลงไปนอนได้เลย แล้วก็ไม่ใช่ห้องครัวที่จะเดินเข้าไปหยิบของกินได้ตลอดเวลา ดังนั้นห้องโปรดของผมเลยเป็นห้องทำงาน ที่เวลาอยากทำงานหรือคิดงานอะไรก็จะสร้างไอเดียตรงนี้ แต่ถ้าเป็นห้องโปรดที่เวลามีเพื่อนมาที่บ้านเยอะๆ ก็จะเป็นห้องปาร์ตี้ ที่มารวมตัวกันเป็นสิบคนก็สบาย”
นอกจากนี้ คุณตุ้ยยังเล่าถึงของสะสมที่เก็บไว้เพื่อเป็นรางวัลชีวิตให้กับตัวเอง อาทิ รูปปั้นสัญลักษณ์คาทอลิกที่เป็นทั้งของสะสมและบูชา รูปภาพสีน้ำมันเก่าๆ รวมทั้งของเก่าที่เป็นแอนทีก และนาฬิกา

//Passion นำทางสู่ความสำเร็จ
คุณวิทยาเกิดมาในครอบครัวทำธุรกิจเกี่ยวกับจิวเวลรี ที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า มีพี่น้อง 3 คน (พี่ชาย คุณวรวุฒิ และ น้องสาว คุณวรางคณา สินทราพรรณทร) เริ่มเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ถึง ม.4 และได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศแคนาดา จากนั้นกลับมาเรียนต่อปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และจบปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ MBA จาก The George Washington University, Washington D.C., U.S.A.

“พอเรียนจบกลับมาก็ทำงานสายการตลาดมาโดยตลอด ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ 20 ปีแล้ว เพราะเรียนจบมาทางสายการตลาดและสายการพัฒนาธุรกิจ เริ่มทำงานที่บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ จากนั้นไปอยู่บริษัทบุหรี่ประมาณ 9 ปี แต่ประจำอยู่ต่างประเทศ 6-7 ปี พอกลับมาเมืองไทยก็มาทำงานให้กับหน่วยงานรัฐบาล เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติ จากนั้นมาอยู่ในเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของสเวนเซ่นส์ และล่าสุดก็มาอยู่แบงก์ทีเอ็มบีได้ประมาณ 1 ปีแล้ว

“ผมคิดว่าถึงแม้จะเปลี่ยนธุรกิจหรืออุตสาหกรรม แต่ก็ยังทำงานสายการตลาดเหมือนเดิม แค่เราเปลี่ยนประเภทธุรกิจเท่านั้นเอง เพราะในแง่ของการทำการตลาดมันไม่ค่อยต่างกันมาก สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือตัวสินค้าและบริการ และสองต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ แต่ความยากและความท้าทายของงานที่ผมทำอยู่คือลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นลูกค้าธุรกิจ ความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินก็จะซับซ้อนกว่าลูกค้าบุคคลทั่วไป ลูกค้าธุรกิจก็จะมีทั้ง SME รวมไปถึงลูกค้าที่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งความต้องการก็จะซับซ้อนแตกต่างกันไป ดังนั้นงานนี้สำหรับผมจึงถือว่าท้าทายเป็นอย่างมาก
“ความสำเร็จของผมวันนี้คิดว่าคนเราต้องมี passion กับทุกสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ถ้าเราไม่มี passion กับสิ่งที่ทำ เราก็จะทำได้ไม่ดี อย่างแต่งบ้านผมก็ต้องมี passion คืออยากทำและตั้งใจทำกับมันจริงๆ ทุ่มเทแบบสุดๆ เรื่องงานก็เหมือนกัน ไม่ว่าผมจะได้รับผิดชอบในงานไหน ใจเราต้องไปก่อน ยังทำไม่ได้ ยังไม่มีความรู้ แต่ถ้าใจไปแล้วผมว่าอย่างอื่นมันจะตามมา พอใจมามันจะ force ให้เราเกิดการเรียนรู้ อ่าน ค้นหา พยายาม และเข้าไปเรียนรู้ลึกๆ กับมัน ผมถึงบอกว่า passion เป็นเรื่องสำคัญ
“และการทำงานเราต้องมีความซื่อสัตย์กับสิ่งที่ทำ ผมว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน เพราะว่าถ้าเรามีความซื่อสัตย์ในสิ่งที่ทำ ไม่ว่ากับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือลูกน้อง มันคือเครดิตที่เราสร้างมาตลอด คนที่รู้จักเราก็จะพูดว่าน่าเชื่อถือและเชื่อถือได้ ไม่มีอะไรตุกติก ทุกอย่าง clean ผมคิดว่าการทำงานด้วยความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรา อีกสิ่งหนึ่งเราต้องมี commitment คือ เต็มที่กับมัน ทุกงานที่ได้รับมอบหมายเราต้องทำให้เต็มที่ เพราะเขาจ้างเราเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเข้ามาอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เรามีคนที่ต้องดูแล เช่นผมมีลูกน้องในฝ่ายประมาณ 30 คน มีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆ อยู่ 5 ส่วน ฉะนั้นมันก็ไม่ง่าย ด้วยความที่เราก็เคยเป็นเด็กมาก่อน เราต้องดูแลลูกน้องด้วยการให้ใจ ไม่ใช่ดูแลเรื่องส่วนตัว แต่เราต้องดูไปถึงเรื่องสวัสดิการ เรื่องการพัฒนา เพราะพนักงานเหล่านี้อีกหน่อยก็ต้องโตเหมือนเรา เขามาอยู่ในองค์กร ก็ต้องหวังที่จะเจริญก้าวหน้าและได้รับการพัฒนาเช่นเดียวกัน ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ เพราะว่าพอเราโต เราต้องเก่งในเรื่องของการบริหารคน จากที่ในอดีตตอนเป็นเด็กเราเคยเป็นผู้ทำมาเยอะ แต่ตอนนี้เราเป็นผู้บริหาร เราต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้คิด และบริหารงานให้ลูกน้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องดึงศักยภาพให้เขาทำงานได้อย่างดีที่สุด”

//ชีวิตคู่คือการค้นหา
คนเราส่วนใหญ่ที่มีชีวิตคู่ต้องเกิดจากความรัก ความเข้าใจ การให้อภัย ที่สำคัญต้องมีการยอมรับในตัวตนของกันและกัน เช่นเดียวกับนักบริหารการตลาดคนนี้ที่แบ่งเวลาการทำงานและครอบครัวได้อย่างลงตัว
“ผมมีเวลาว่างก็จะให้เวลากับครอบครัวเป็นหลัก เพราะจันทร์ถึงศุกร์ผมทำงาน ก็จะอยู่คอนโดแถวหลังสวน พอเสาร์-อาทิตย์ก็กลับมานอนบ้านหลังนี้เพื่อที่จะได้เจอคุณพ่อคุณแม่ (สุรินทร์ และ สมใจ สินทราพรรณทร) ด้วย ผมอยู่บ้านก็อยู่กับภรรยาสองคน แต่ตอนนี้ภรรยากำลังจะมีน้อง อีกไม่นานครอบครัวเราก็จะได้สมาชิกใหม่ เลยต้องจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวตัวเอง และครอบครัวภรรยา เพื่อนเราเพื่อนเขา แต่ผมก็ไม่เคยละเลยในเรื่องของการออกกำลังกาย พยายามให้ได้อาทิตย์ละ 3-4 วัน

“ในการใช้ชีวิตคู่ให้ราบเรียบได้นั้น ผมคิดว่าพื้นฐานเราต้องมีความรักให้กันก่อน ถ้าไม่รักกันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ ไม่ใช่อยู่ด้วยกันแค่ความเหมาะสม ผมคิดว่ามันไม่พอ การที่เราจะอยู่ด้วยกันได้นานๆ มันต้องมีพื้นฐานจากความรัก ต้องยอมรับในพื้นฐานความเป็นตัวตนของกันและกัน อย่าไปคาดหวังให้เขาต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมคิดว่ามันจะกลายเป็นการครอบงำ สิ่งสำคัญเวลามีอะไรต้องคุยกัน แชร์กัน ทั้งเรื่องสุขและทุกข์ ส่วนเรื่องปลีกย่อยก็ต้องปรับตัวกันไป เพราะชีวิตคู่มันเปรียบเสมือนการค้นหากันไปเรื่อยๆ เหมือนคำกล่าวที่ว่า Marriage is a lifetime discovery ดังนั้นการปรับตัวมันเลยมีอยู่ทุกช่วง