กรีนพีซเรียกร้องให้ลดการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาวะของโลก

กรีนพีซเรียกร้องให้ลดการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาวะของโลก

 

  

 

 

 

กรีนพีซเรียกร้องให้ลดการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาวะของโลก

 

 

กรุงเทพฯ, 5 มีนาคม 2561 — รายงานฉบับใหม่ของกรีนพีซ ระบุว่า ทั่วโลกต้องลดการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมลงครึ่งหนึ่งให้ได้ภายในปี 2593 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เป็นหายนะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงปารีส หากไม่ทำอะไรเลย ประมาณการณ์ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 52 ในอีกทศวรรษข้างหน้า โดยที่ร้อยละ 70 จะมาจากการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม [1]

 

รายงานกรีนพีซระบุด้วยว่า การผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุที่ซ่อนเร้นของวิกฤตสุขภาพของคนทั่วโลก การบริโภคเนื้อแดงในปริมาณมากมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน และ เบาหวาน ขณะที่คนนับล้านอาจมีอายุยืนขึ้นจากการเข้าถึงแหล่งอาหารที่มีพืชผักเป็นหลัก การผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมล้วนเกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศว่า “เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข” และเป็นแหล่งของเชื้อโรคที่มากับอาหาร [2]


บันนี แมคดิอาร์มิด ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซสากล กล่าวว่า

“ระบบอาหารของเรามีปัญหา รัฐบาลต่าง ๆ ยังคงสนับสนุนการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม อันเป็นการกระตุ้นให้บริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่สุขภาพของเรา สุขภาพของลูกหลานเราและโลกของเราอยู่ในความเสี่ยง รัฐบาลควรสนับสนุนเกษตรกรรมเชิงนิเวศมากขึ้น เพื่อการผลิตอาหารที่มีประโยชน์และช่วยให้ผู้คนเข้าถึงอาหารที่มีพืชผักเป็นหลักได้ง่ายขึ้น


ขบวนการเคลื่อนไหวระดับโลกที่หลากหลายในรูปแบบใหม่ ๆ กำลังขยายตัวขึ้น เพื่อการบริโภคและการผลิตอาหารที่ดีและสอดคล้องกับตัวของเราและสิ่งแวดล้อมของเรา พวกเราสามารถทำให้ระบบอาหารของเราลดการพึ่งพิงการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม และช่วยกันสร้างโลกที่ดีขึ้นเพื่อคนรุ่นต่อไป”


กรีนพีซเริ่มงานรณรงค์ระดับโลกเพื่อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการกินและการผลิตเนื้อเชิงอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากผลกระทบของการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเรียกร้องให้มีการลดการบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมลงร้อยละ 50 และมีการเพิ่มการผลิตและบริโภคอาหารที่มีพืชผักเป็นหลักภายในปี 2593


พีท สมิธ อดีตผู้เขียนหลักของรายงานการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) กล่าวว่า “ความจำเป็นในการลดความต้องการในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเป็นความเห็นตามกระแสหลักในทางวิทยาศาสตร์ การลดการบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญเท่านั้นที่จะทำให้เรามีระบบอาหารที่เหมาะสมกับอนาคต เป็นประโยชน์กับมนุษย์และกับโลกทั้งมวล การผลิตอาหารในรูปแบบที่เราบริโภคในปัจจุบันนี้ ไม่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ แม้ว่าเราจะพยายามทำอย่างยั่งยืนมากขึ้นก็ตาม เราทุกคนต้องปกป้องโลกเพื่อคนลูกหลานของเราในอนาคต”


รายงานของกรีนพีซได้ตีแผ่ผลกระทบอื่น ๆ ที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วจากการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงหลายสิบปีมานี้ นับตั้งปี 2513 สัตว์ป่าสูญพันธุ์ไปแล้วครึ่งหนึ่ง แต่ประชากรปศุสัตว์กลับเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว การผลิตปศุสัตว์ในปัจจุบันใช้พื้นที่ทั้งหมดในโลกถึงร้อยละ 26 [3]


กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศล้มเลิกนโยบายสนับสนุนการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม แต่ให้ช่วยเกษตรกรให้หันไปทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศและทำปศุสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสม กรีนพีซยังเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศสนับสนุนให้ผู้คนเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์และมีพืชผักเป็นหลัก และเรียกร้องให้ทุกคนร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมลง เพื่อโลกที่มีสุขภาวะมากขึ้น


“สิ่งที่เราเลือกกิน ไม่ว่าจะในฐานะปัจเจกชน หรือเป็นประชากรโลก คือเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดที่จะใช้ต่อกรกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทำลายสิ่งแวดล้อม” บันนี แมคดิอาร์มิด กล่าวเพิ่มเติม

 

หมายเหตุ

[1] Less is more: “ลด” เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม “เพิ่ม” สุขภาวะที่ดีของมนุษย์และโลก- กรีนพีซสากล

[2] องค์การอนามัยโลก http://www.who.int/mediacentre/news/releases/2017/running-out-antibiotics/en/

[3] Less is more: “ลด” บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม “เพิ่ม” สุขภาวะที่ดีของมนุษย์และโลก - กรีนพีซสากล


อ่าน Less is more: “ลด” เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม “เพิ่ม” สุขภาวะที่ดีของมนุษย์และโลก- กรีนพีซสากล หรือ Less is more: reducing meat and dairy for a healthier life and planet และบทพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ได้ที่: www.greenpeace.org/livestock_vision


ภาพจากรายงาน http://media.greenpeace.org/collection/27MZIFJXWWYYQ


ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ:
วัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โทร 081 734 4435081 734 4435 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โทร 081 929 5747081 929 5747 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โต๊ะข่าว กรีนพีซสากล อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทร +31 (0) 20 718 2470+31 (0) 20 718 2470 (ตลอด 24 ชั่วโมง)