“คสช.ทำตัวเป็นไส้ศึกทำลายรัฐวิสาหกิจของชาติ ใช่หรือไม่”

“คสช.ทำตัวเป็นไส้ศึกทำลายรัฐวิสาหกิจของชาติ ใช่หรือไม่”

 

  

 

 

 

“คสช.ทำตัวเป็นไส้ศึกทำลายรัฐวิสาหกิจของชาติ ใช่หรือไม่”

 


มติของรัฐบาลคสช.ที่จะแยกทรัพย์สินออกจาก
บริษัทกสท.(CAT) และบริษัททีโอที(TOT)มาตั้งบริษัทลูกอีก2บริษัท ได้แก่
1)บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด (National Broadband Network : NBN Co)

2)บริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูล อินเทอร์เน็ต จำกัด (Neutral Gateway & Data Center: NGDC Co)


การล้วงทรัพย์สินหลักซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการประกอบการของบริษัทกสท.และบริษัททีโอทีที่เป็นรัฐวิสาหกิจ100% มาตั้งบริษัทลูก เป็นการจงใจบริหารให้ทั้ง2 บริษัทรัฐวิสาหกิจต้องเจ๊ง เพราะทั้ง2บริษัทต้องเช่าโครงข่ายของตนเองที่ถูกแยกไปเป็นของบริษัทลูก ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุน ทำให้แข่งขันกับเอกชนไม่ได้ เป็นขั้นตอนในการทำลายทั้ง 2รัฐวิสาหกิจให้ล้มหายตายจากไปในที่สุด เพื่อถ่ายโอนทรัพย์สินที่เป็นโครงข่ายพื้นฐานให้เอกชนไว้ใช้หากำไร ใช่หรือไม่


ในขณะที่คสช.เตรียมใช้มาตรา44 อุ้มบริษัทเอไอเอส และบริษัททรูให้สามารถผ่อนจ่ายค่าใบอนุญาตงวดสุดท้ายเพื่อช่วยบริษัทเอกชนลดดอกเบี้ยได้ถึง 3หมื่นล้านบาท แต่กลับบริหารให้กสท.และทีโอทีมีต้นทุนสูงขึ้น เพื่อให้เจ๊ง ใช่หรือไม่


ควรแล้วหรือที่รัฐบาลคสช.จากการรัฐประหารจะเข้ามาบริหารเพื่อล้วงตับไตใส้พุงทำลายรัฐวิสาหกิจที่สร้างขึ้นมาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 เพื่อให้เป็นกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับประชาชน ?


ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจคือทรัพย์สินของชาติและประชาชน คสช.ถือสิทธิอะไรเข้ามาเปลี่ยนแปลงภารกิจหลักของรัฐวิสาหกิจที่เป็นกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องว่าเห็นด้วยหรือไม่


พฤติกรรมของรัฐบาลคสช.ที่ส่งคนมาบริหารรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย ส่อไปในทางทำลายให้รัฐวิสาหกิจอ่อนแอ เพื่อให้ล้มละลายในที่สุดจนต้องยกทุกกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานให้เอกชนได้หาประโยชน์ หากำไร ยกตัวอย่างเช่น

1)การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ทำให้โรงงานยาสูบต้องขาดทุนเป็นครั้งแรกในรัฐบาลนี้ เป็นการเปิดช่องให้บริษัทบุหรี่นอกเข้ามากินส่วนแบ่งของโรงงานยาสูบ

2)การบริหารสายการบินของชาติให้ขาดทุน แต่บริษัทเอกชนกำไรกันโครมๆบนทรัพย์สินที่สร้างจากภาษีของประชาชน

3)การไม่ยอมค้ำประกันบริษัทการทางพิเศษซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ100%ในการกู้เงินเพื่อสร้างทางด่วนอ้างว่าทำให้หนี้สาธารณะเพิ่ม แต่บีบบังคับให้การทางพิเศษกู้เงินจากกองทุน Thailand Future Fund โดยขายรายได้ล่วงหน้าของทางด่วนเส้นที่มีแนวโน้มกำไรสูง โดยประกันผลตอบแทนให้บรรดาเศรษฐีที่ต้องการให้เงินทำงานที่มาลงทุนในกองทุนถึง8%ต่อปี

4)รัฐบาลไม่รับข้อเสนอการตั้งหน่วยงานที่เป็นบริษัทของรัฐมารับมอบทรัพย์สินของเอกชนที่ต้องยกให้รัฐหลังหมดสัมปทานแหล่งปิโตรเลียม2แหล่งใหญ่สุดของประเทศ และเพื่อมาบริหารส่วนแบ่งปิโตรเลียมที่รัฐจะได้รับจากระบบใหม่คือระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิตในการประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ บงกช ที่กำลังจะมีขึ้น เป็นต้น


ภาพรวมที่รัฐบาลคสช.กระทำกับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งตลอด4ปีที่ยึดอำนาจมาบริหารประเทศ ประชาชนเห็นแต่พฤติกรรมเอื้อประโยชน์ให้เอกชนสุดๆ ใช่หรือไม่


กรณีของกสท.และทีโอทีทำให้คาดหมายอนาคตได้ว่าเป็นการบริหารเพื่อทำลาย2องค์กรนี้ สภาพเช่นนี้ ทำให้สังคมอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า นี่เป็นการกระทำของไส้ศึกที่ชักพาเอกชนผูกขาด เข้ามาโจมตีทำลายฐานที่มั่นของประชาชนจากข้างในเลย ใช่หรือไม่


รสนา โตสิตระกูล
23 มีนาคม 2561

สรส.ประกาศกร้าว อย่าให้ กสท –ทีโอทีถูกแปรรูป

http://news1live.com/detail.aspx?NewsID=9610000029100

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1627100327366524&id=236945323048705