“มาตราการลดฝุ่น PM 2.5 ในภาวะวิกฤติด้วยน้ำมันไบโอดีเซล”

“มาตราการลดฝุ่น PM 2.5 ในภาวะวิกฤติด้วยน้ำมันไบโอดีเซล”

 

 

 

 

 

CHANGE The World รสนา โตสิตระกูล
 
 
“มาตราการลดฝุ่น PM 2.5 ในภาวะวิกฤติด้วยน้ำมันไบโอดีเซล”
 
 
 
 
 
 
ตามข้อมูลของกระทรวงพลังงานเมื่อปี2560 แหล่งกำเนิดPM 2.5 ในกทม.ที่มาจากไอเสียของรถดีเซลอยู่ที่ 26 % ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของPM 2.5 ที่สูงสุด
 
 
มาตรการที่จะลดฝุ่น PM 2.5 จึงควรใช้มาตรการลดจำนวนรถในท้องถนนให้มากที่สุด เพราะปัจจุบันจำนวนรถในกทม.มีมากกว่าพื้นที่ถนนจะรองรับได้ ประกอบกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า ยิ่งทำให้พื้นที่ถนนลดน้อยลงไป ยิ่งรถติดมาก ไอเสียจากรถยนต์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
 
 
 
 
มีงานวิจัยของต่างประเทศเกี่ยวกับน้ำมันไบโอดีเซล ว่า รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลจะปล่อยก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC)ออกมา ค่า HC สูงเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของน้ำมันดีเซล ยิ่งเร่งความเร็วรถยนต์สูงขึ้น การปล่อย HC ก็จะยิ่งสูงตาม ในรถยนต์ดีเซลโดยทั่วไปจะมีการเผาไหม้ที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์อยู่แล้ว เนื่องจากใช้เทคนิคการอัดอากาศในห้องเผาไหม้ ไม่เหมือนรถยนต์เบนซิน ที่ใช้หัวเทียนในการจุดระเบิด
 
 
 
 
 
ค่า HC คือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะเป็นดัชนีชี้วัดว่า    ถ้ามีมาก ค่า PM 2.5   มีโอกาสสูงขึ้นมากเช่นเดียวกัน   การเพิ่มสัดส่วนของไบโอดีเซลในส่วนผสมของน้ำมันดีเซลเป็น B5 B10 B20 หรือ B50 นั้น จะส่งผลให้การเผาไหม้ดีขึ้น เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของน้ำมันไบโอดีเซลมีองค์ประกอบของอ๊อกซิเจนอยู่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเผาไหม้ ดังนั้น สัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซลจึงมีผลต่อการลดสารไฮโดรคาร์บอนที่ออกมาเป็นควันดำที่มีฝุ่นPM 2.5  จากภาพประกอบจะเห็นได้ชัดว่า ไบโอดีเซล 50% ขึ้นไปจึงจะมีโอกาสลดฝุ่น PM 2.5 อย่างมีนัยยะสำคัญ
 
 
 
 
ดิฉันจึงขอเสนอให้รัฐบาลและรมว.กระทรวงพลังงานพิจารณาทดลองให้รถเมล์ที่ปล่อยควันดำเหล่านี้เปลี่ยนมาใช้ ไบโอดีเซลอย่างน้อย50% ขึ้นไป ถ้าไม่ใช่ไบโอดีเซล100% อย่างน้อยเมื่อยังไม่สามารถกำจัดรถเก่าที่เป็นรถสาธารณะออกจากถนน ก็ควรเปลี่ยนเชื้อเพลิงที่ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น และควันดำ ในระยะยาว รถสาธารณะทั้งหมด ควรเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า เพื่อไม่เป็นแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5