ชป.เดินหน้าศึกษา EIA ประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง เพื่อช่วยบริหารจัดการน้ำท่วมในเขตเมืองตรัง

ชป.เดินหน้าศึกษา EIA ประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง เพื่อช่วยบริหารจัดการน้ำท่วมในเขตเมืองตรัง

 

 

 

 

ชป.เดินหน้าศึกษา EIA ประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง เพื่อช่วยบริหารจัดการน้ำท่วมในเขตเมืองตรัง

 

 

กรมชลประทาน เร่งดำเนินการโครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง หวังช่วยการบริหารจัดการน้ำทั้งยังสามารถช่วยผลักดันน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง และลดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในหน้าแล้ง


นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำตรัง ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากปริมาณน้ำจากแม่น้ำตรัง ที่ไหลล้นเข้าท่วมในเขตอำเภอเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และกระทบต่อความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างมาก จึงเกิดโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตรัง ซึ่งในขณะนั้นเสนอให้ดำเนินการขุดลอกและขยายลำน้ำเดิม ขุดช่องลัด ขุดคลองผันน้ำ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก

 

 


กรมชลประทาน จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง ซึ่งประตูระบายน้ำแห่งนี้จะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเข้าสู่ตัวเมืองตรังได้มากกว่า 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วินาที) ในช่วงฤดูน้ำหลาก และทดน้ำเข้าคลองผันน้ำในอัตราที่เหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ อีกทั้ง ยังสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย


นอกจากนี้ ยังได้วางแผนขุดลอก/ปรับปรุงแม่น้ำตรังร่วมกับการขุดช่องลัดแม่น้ำตรัง เนื่องจากพบว่าแม่น้ำตรังบริเวณช่วงสุดท้ายจุดบรรจบกับคลองผันน้ำมีลักษณะคดเคี้ยว เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ดังนั้น เพื่อให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น จะต้องดำเนินการขุดขยายแม่น้ำตรังช่วงท้ายน้ำร่วมกับการขุดช่องลัดแม่น้ำตรัง ด้วยการขุด ช่องลัดที่ 1 (ขุดใหม่) บริเวณพื้นที่ตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมืองตรัง ระยะทางประมาณ 245 เมตร ช่องลัดที่ 2 (ขุดใหม่) บริเวณพื้นที่ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 563 เมตร ช่องลัดที่ 3 (แนวคลองเดิม) บริเวณพื้นที่ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 350 เมตร และช่องลัดที่ 4 (แนวคลองเดิม) บริเวณพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 874 เมตร รวมระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถย่นระยะทางการระบายน้ำได้มากกว่า 6 กิโลเมตร ช่วยบรรเทาและลดปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองตรังได้เป็นอย่างมาก