"จับตาการสอบเพื่อไม่ให้มีการฟอกความผิด กรณีการยึดน้ำมันเถื่อนที่ด่านสงขลา"
"จับตาการสอบเพื่อไม่ให้มีการฟอกความผิด กรณีการยึดน้ำมันเถื่อนที่ด่านสงขลา"
กรณีเรือบริการ ( supply boat) ของบริษัทเชฟรอนสำรวจและผลิต(สผ.) จำกัดซื้อน้ำมันจากบริษัทเชฟรอน(ไทย) จำกัด ที่อ้างว่าส่งออก และได้ยกเว้นภาษีขาออกตั้งแต่ออกจากโรงกลั่นน้ำมัน แต่กลับนำไปขายให้บริษัทในเครือเดียวกัน และนำมาวิ่งเข้าออกน่านน้ำไทย ซึ่งเป็นน้ำมันที่ใส่สารมาร์กเกอร์เขียวให้เห็นว่าเป็นน้ำมันส่งออก แต่กลับนำมาใช้ในประเทศ ซึ่งถือเป็นน้ำมันเถื่อน เพราะน้ำมันที่มีมาร์กเกอร์สีเขียว ทำไว้เพื่อป้องกันการอ้างส่งออกแต่ลักลอบเอากลับมาใช้ในประเทศ เรือของเชฟรอนสผ.ถูกจับได้ที่ด่านสงขลาจำนวน8ลำ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 บริษัทเชฟรอน สผ.จำกัดขอทำเรื่องระงับคดีกับด่านสงขลา โดยยอมให้ยึดน้ำมันกว่า1ล้าน6แสนลิตร ซึ่งด่านสงขลาขายไปได้เงินมา 48ล้านบาท แต่มูลค่าของที่ยึดได้เกิน 5แสนบาท จึงไม่สามารถอนุมัติการระงับคดีที่ด่านสงขลา ต้องส่งมาให้คณะกรรมการเปรียบเทียบระงับคดีตามพ.ร.บ ศุลกากรอนุมัติ
เรื่องการอนุมัติการระงับคดีเพื่อจะได้ส่งเงิน 48ล้านบาทเข้าเป็นรายได้แผ่นดินยังค้างคามาเกิน2ปีครึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ มีคำถามว่าเหตุใดจึงปล่อยเรื่องค้างคาไว้นานเช่นนี้ ซึ่งหากมิใช่เพราะความหย่อนยานของระบบตรวจสอบภายใน ก็อาจจะกำลังหาทางช่วยบริษัทเอกชนให้พ้นผิด ใช่หรือไม่?
เวลานี้มีข่าวว่ากำลังสอบกันวงในเงียบๆในกระทรวงการคลัง และมีข่าวแว่วมาว่า จะมีการยกข้อต่อสู้ว่า เป็น"น้ำมันติดเรือมา" ซึ่งหากเป็นเช่นข่าวร่ำลือจริง ก็ต้องบอกว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ขัดหลักกฎหมายและข้อเท็จจริง หากผู้สอบในกระทรวงคลังยอมให้มีข้อต่อสู้แบบนี้ ก็อาจจะถูกตั้งข้อสงสัยได้ว่ากำลังใช้หลักเกณฑ์ที่บิดเบี้ยว เพื่อช่วยบริษัทเอกชนหรือไม่ ? และอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประเทศในอนาคต ซึ่งความเสียหายจะเกิดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1 ) เมื่อบริษัทเชฟรอนถูกจับที่ด่านสงขลา ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นน้ำมันติดเรือ หากจะอ้างว่าเป็นน้ำมันติดเรือ ต้องเป็นเรือที่มาจากต่างประเทศ และต้องมีใบแจ้งว่ามีของติดเรืออะไรมาบ้างและต้องส่งให้ด่านศุลกากรภายใน24 ชั่วโมง โดยคนแจ้งต้องเป็นกัปตันเรือ เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขึ้นตรวจเรือ
หากพบว่ามีของที่ไม่ได้แจ้งในใบรายงานเรือเข้า เจ้าหน้าที่สามารถยึดได้หมด เพราะถือว่าเป็นการลักลอบเอาของเถื่อนเข้าประเทศ
การที่บริษัทเชฟรอนสผ.ยอมให้ยึดน้ำมันเท่ากับยอมรับว่าเป็นของผิดกฎหมาย ผ่านมากว่า2ปีครึ่ง จึงไม่สามารถต่อสู้ว่าเป็นน้ำมันติดเรือ หากยอมให้มาต่อสู้ย้อนหลังเช่นนี้ ก็จะเป็นบรรทัดฐานต่อไปหรือไม่ว่า ใครๆก็สามารถนำของเข้าประเทศโดยไม่แจ้ง เมื่อถูกจับและยึดของแล้วค่อยมาขอต่อสู้ย้อนหลังเพื่อไม่ให้ถูกยึดของ หากกรณีนี้ทำได้ ต้องตั้งคำถามว่าเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบ กำลังช่วยปกป้องบริษัทเอกชนที่ทำผิด ใช่หรือไม่?
2 ) เรือซัพพลายของเชฟรอน สผ. เป็นเรือที่ใช้ขนอุปกรณ์เพื่อการขุดเจาะ เรือเหล่านี้วิ่งอยู่ระหว่างแท่นขุดเจาะกับท่าเรือในประเทศ เป็นเรือที่วิ่งภายในราชอาณาจักร ตามคำพิพากษาฎีกาที่2899/2557
จึงไม่ใช่เรือสินค้าจากต่างประเทศที่อ้างว่ามีของติดเรือจากนอกราชอาณาจักร คือมาจากแท่นขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีป
การที่กรมศุลกากรไปยอมรับว่าฐานขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีปเป็นพื้นที่นอกราชอาณาจักรคือการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่ผิด เป็นการตีความโดยไม่ดูกฎหมายเพราะ นิติกรศุลกากรในอดีตเข้าใจกันดีว่า หากมีกฎหมายเฉพาะและกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับคำนิยามเรื่องราชอาณาจักร ศุลกากรต้องใช้กฎหมายเฉพาะก่อนตามประเภทของ " ของ" ซึ่งกฎหมายเฉพาะระบุนิยามไว้ ดังนั้น "ของ" ที่เป็น "น้ำมันเชื้อเพลิง" จึงต้องขึ้นอยู่กับนิยามตามกฎหมายเฉพาะคือ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2514 ที่ระบุชัดเจนว่าคำว่า"ราชอาณาจักร" หมายรวมพื้นที่ในไหล่ทวีปด้วย
การตีความแบบไม่ดูเจตนารมณ์ว่าเหตุใด พ.ร.บ ศุลกากรจึงไม่มีคำนิยามของคำว่า ราชอาณาจักร ทั้งนี้ก็เพื่อให้กฎหมายศุลกากรมีความยืดหยุ่นไปตามนิยามของ"ของ"ที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เพื่อการเก็บภาษี กฎหมายศุลกากรต้องใช้ควบคู่กับกฎหมายอื่นเป็นร้อยฉบับ การตีความโดยหาช่องโหว่แบบนี้ ทำให้เกิดปัญหาจนบัดนี้ น่าสงสัยว่าเป็นการพยายามหาช่องว่างของกฎหมายมาตีความเพื่อเอื้อประโยชน์เอกชนหรือไม่? เพราะการตีความเช่นนี้เพิ่งเกิดขึ้นในปี2554 ก่อนหน้านี้ทุกบริษัทที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ ก็จ่ายภาษีให้รัฐถือเป็นการใช้ในประเทศ เพิ่งจะเกิดเหตุตีความแบบนี้เพื่อให้บริษัทเดียวมาใช้เลี่ยงภาษี ใช่หรือไม่?
ข้าราชการที่ดี ต้องไม่ตีความกฎหมายให้รัฐเสียประโยชน์เรื่องภาษี และหากยังยืดเยื้อซื้อเวลาไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น ควรถูกต้ังข้อสงสัยว่าเป็นเรื่องสุจริตหรือไม่?
3 ) น้ำมันเขียวที่อ้างว่าติดเรือนั้น เป็นน้ำมันที่ไม่มีภาษี มีไว้ส่งออก และเพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องให้ไปจับปลานอกน่านน้ำไทยเท่านั้น เรือประมงที่ใช้น้ำมันเขียวจะนำกลับมาใช้ในประเทศไม่ได้
การที่เรือซัพพลายของบริษัทเชฟรอน สผ. ซื้อน้ำมันจากบริษัทในเครือเดียวกันคือจากบริษัทเชฟรอน(ไทย) จำกัดที่อ้างว่าส่งออก จึงเป็นกระบวนการเลี่ยงภาษีที่ออกแบบซับซ้อนแบบ2ชั้นเพื่อตบตาใช่หรือไม่? การที่เรือบริการของเชฟรอนสผ.ถูกจับที่ด่านสงขลาจึงเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าบริษัทเชฟรอนไทยไม่ได้ส่งออกน้ำมันจริง การตีความว่าแท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีปเป็นนอกราชอาณาจักร จึงเป็นการจงใจเปิดช่องให้เอกชนเลี่ยงภาษีได้ใช่หรือไม่?
การนำน้ำมันที่อ้างว่าส่งออกไปขายให้เชฟรอนสผ.ใช้ที่แท่นขุดเจาะและนำมาวิ่งในน่านน้ำอ่าวไทย จึงเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี โดยมีข้าราชการร่วมสมคบคิดออกแบบการตีความผิดๆแบบนี้ใช่หรือไม่?
เมื่อถูกด่านสงขลาจับได้เชฟรอน สผ.จึงยอมระงับคดีโดยให้ยึดน้ำมันเรือไว้
สิ่งที่กระทรวงการคลังควรทำโดยรีบด่วนคืออนุมัติการระงับคดี และส่งเงิน48ล้านบาทเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน อย่าให้ข่าวร่ำลือเป็นจริงว่ากำลังหาทางพลิกคดีว่าน้ำมันเขียวที่ถูกยึดและขายไปแล้วกลายเป็นน้ำมันติดเรือ หากมีการย้อนหลังไปตีความแบบนั้น ผลกระทบที่ตามมาจะเสียหายมากกว่านี้เท่ากับหน่วยงานรัฐสมยอมให้เกิดบรรทัดฐานให้นำน้ำมันเขียวย้อนกลับมาใช้ในประเทศได้ จะกลายเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันเถื่อนภายในประเทศโดยถูกกฎหมายอย่างกว้างขวาง
การสอบเรื่องนี้ ไม่ควรปล่อยให้เป็นการสอบเงียบๆภายในกระทรวง แต่ควรตั้งกรรมการสอบโดยเชิญอดีตนายด่านสงขลาที่จับและยึดน้ำมันของบริษัทเชฟรอนมาสอบถามข้อมูลและเหตุผล เพื่อจะได้สรุปปิดคดีนี้และส่งเงินที่ยึดไว้48ล้านบาทเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดินโดยเร็ว
หากการสอบกรณียึดน้ำมันเถื่อนที่ด่านสงขลา กลายเป็นมวยล้มต้มคนดู ข้าราชการทั้งหลายที่รับผิดชอบ ต้องระวังการกระทำที่จะเข้าข่ายไปฟอกสิ่งที่ผิดให้กลายเป็นสิ่งที่ถูก ผู้บริหารตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีลงมาที่ไม่เข้ามากำกับสั่งการให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้อง อาจเข้าข่ายการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา157 และต้องรับผิดทางแพ่งที่ทำให้รัฐเสียหาย ส่วนข้าราชการนอกจากจะมีความผิดทั้งทางอาญา ทางแพ่งแล้ว ยังมีความผิดวินัยทางราชการอีกด้วย ขอให้ดูอดีตที่ปรึกษาฯกรมสรรพากรที่ใช้อำนาจตอบข้อหารือเอื้อเอกชนให้เลี่ยงภาษี และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกไว้เป็นอนุสติเตือนใจ
รสนา โตสิตระกูล
14 พ.ย 2559"จับตาการสอบเพื่อไม่ให้มีการฟอกความผิด กรณีการยึดน้ำมันเถื่อนที่ด่านสงขลา"
กรณีเรือบริการ ( supply boat) ของบริษัทเชฟรอนสำรวจและผลิต(สผ.) จำกัดซื้อน้ำมันจากบริษัทเชฟรอน(ไทย) จำกัด ที่อ้างว่าส่งออก และได้ยกเว้นภาษีขาออกตั้งแต่ออกจากโรงกลั่นน้ำมัน แต่กลับนำไปขายให้บริษัทในเครือเดียวกัน และนำมาวิ่งเข้าออกน่านน้ำไทย ซึ่งเป็นน้ำมันที่ใส่สารมาร์กเกอร์เขียวให้เห็นว่าเป็นน้ำมันส่งออก แต่กลับนำมาใช้ในประเทศ ซึ่งถือเป็นน้ำมันเถื่อน เพราะน้ำมันที่มีมาร์กเกอร์สีเขียว ทำไว้เพื่อป้องกันการอ้างส่งออกแต่ลักลอบเอากลับมาใช้ในประเทศ เรือของเชฟรอนสผ.ถูกจับได้ที่ด่านสงขลาจำนวน8ลำ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 บริษัทเชฟรอน สผ.จำกัดขอทำเรื่องระงับคดีกับด่านสงขลา โดยยอมให้ยึดน้ำมันกว่า1ล้าน6แสนลิตร ซึ่งด่านสงขลาขายไปได้เงินมา 48ล้านบาท แต่มูลค่าของที่ยึดได้เกิน 5แสนบาท จึงไม่สามารถอนุมัติการระงับคดีที่ด่านสงขลา ต้องส่งมาให้คณะกรรมการเปรียบเทียบระงับคดีตามพ.ร.บ ศุลกากรอนุมัติ
เรื่องการอนุมัติการระงับคดีเพื่อจะได้ส่งเงิน 48ล้านบาทเข้าเป็นรายได้แผ่นดินยังค้างคามาเกิน2ปีครึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ มีคำถามว่าเหตุใดจึงปล่อยเรื่องค้างคาไว้นานเช่นนี้ ซึ่งหากมิใช่เพราะความหย่อนยานของระบบตรวจสอบภายใน ก็อาจจะกำลังหาทางช่วยบริษัทเอกชนให้พ้นผิด ใช่หรือไม่?
เวลานี้มีข่าวว่ากำลังสอบกันวงในเงียบๆในกระทรวงการคลัง และมีข่าวแว่วมาว่า จะมีการยกข้อต่อสู้ว่า เป็น"น้ำมันติดเรือมา" ซึ่งหากเป็นเช่นข่าวร่ำลือจริง ก็ต้องบอกว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ขัดหลักกฎหมายและข้อเท็จจริง หากผู้สอบในกระทรวงคลังยอมให้มีข้อต่อสู้แบบนี้ ก็อาจจะถูกตั้งข้อสงสัยได้ว่ากำลังใช้หลักเกณฑ์ที่บิดเบี้ยว เพื่อช่วยบริษัทเอกชนหรือไม่ ? และอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประเทศในอนาคต ซึ่งความเสียหายจะเกิดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1 ) เมื่อบริษัทเชฟรอนถูกจับที่ด่านสงขลา ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นน้ำมันติดเรือ หากจะอ้างว่าเป็นน้ำมันติดเรือ ต้องเป็นเรือที่มาจากต่างประเทศ และต้องมีใบแจ้งว่ามีของติดเรืออะไรมาบ้างและต้องส่งให้ด่านศุลกากรภายใน24 ชั่วโมง โดยคนแจ้งต้องเป็นกัปตันเรือ เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขึ้นตรวจเรือ
หากพบว่ามีของที่ไม่ได้แจ้งในใบรายงานเรือเข้า เจ้าหน้าที่สามารถยึดได้หมด เพราะถือว่าเป็นการลักลอบเอาของเถื่อนเข้าประเทศ
การที่บริษัทเชฟรอนสผ.ยอมให้ยึดน้ำมันเท่ากับยอมรับว่าเป็นของผิดกฎหมาย ผ่านมากว่า2ปีครึ่ง จึงไม่สามารถต่อสู้ว่าเป็นน้ำมันติดเรือ หากยอมให้มาต่อสู้ย้อนหลังเช่นนี้ ก็จะเป็นบรรทัดฐานต่อไปหรือไม่ว่า ใครๆก็สามารถนำของเข้าประเทศโดยไม่แจ้ง เมื่อถูกจับและยึดของแล้วค่อยมาขอต่อสู้ย้อนหลังเพื่อไม่ให้ถูกยึดของ หากกรณีนี้ทำได้ ต้องตั้งคำถามว่าเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบ กำลังช่วยปกป้องบริษัทเอกชนที่ทำผิด ใช่หรือไม่?
2 ) เรือซัพพลายของเชฟรอน สผ. เป็นเรือที่ใช้ขนอุปกรณ์เพื่อการขุดเจาะ เรือเหล่านี้วิ่งอยู่ระหว่างแท่นขุดเจาะกับท่าเรือในประเทศ เป็นเรือที่วิ่งภายในราชอาณาจักร ตามคำพิพากษาฎีกาที่2899/2557
จึงไม่ใช่เรือสินค้าจากต่างประเทศที่อ้างว่ามีของติดเรือจากนอกราชอาณาจักร คือมาจากแท่นขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีป
การที่กรมศุลกากรไปยอมรับว่าฐานขุดเจาะในพื้นที่ไหล่ทวีปเป็นพื้นที่นอกราชอาณาจักรคือการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่ผิด เป็นการตีความโดยไม่ดูกฎหมายเพราะ นิติกรศุลกากรในอดีตเข้าใจกันดีว่า หากมีกฎหมายเฉพาะและกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับคำนิยามเรื่องราชอาณาจักร ศุลกากรต้องใช้กฎหมายเฉพาะก่อนตามประเภทของ " ของ" ซึ่งกฎหมายเฉพาะระบุนิยามไว้ ดังนั้น "ของ" ที่เป็น "น้ำมันเชื้อเพลิง" จึงต้องขึ้นอยู่กับนิยามตามกฎหมายเฉพาะคือ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2514 ที่ระบุชัดเจนว่าคำว่า"ราชอาณาจักร" หมายรวมพื้นที่ในไหล่ทวีปด้วย
การตีความแบบไม่ดูเจตนารมณ์ว่าเหตุใด พ.ร.บ ศุลกากรจึงไม่มีคำนิยามของคำว่า ราชอาณาจักร ทั้งนี้ก็เพื่อให้กฎหมายศุลกากรมีความยืดหยุ่นไปตามนิยามของ"ของ"ที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เพื่อการเก็บภาษี กฎหมายศุลกากรต้องใช้ควบคู่กับกฎหมายอื่นเป็นร้อยฉบับ การตีความโดยหาช่องโหว่แบบนี้ ทำให้เกิดปัญหาจนบัดนี้ น่าสงสัยว่าเป็นการพยายามหาช่องว่างของกฎหมายมาตีความเพื่อเอื้อประโยชน์เอกชนหรือไม่? เพราะการตีความเช่นนี้เพิ่งเกิดขึ้นในปี2554 ก่อนหน้านี้ทุกบริษัทที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ ก็จ่ายภาษีให้รัฐถือเป็นการใช้ในประเทศ เพิ่งจะเกิดเหตุตีความแบบนี้เพื่อให้บริษัทเดียวมาใช้เลี่ยงภาษี ใช่หรือไม่?
ข้าราชการที่ดี ต้องไม่ตีความกฎหมายให้รัฐเสียประโยชน์เรื่องภาษี และหากยังยืดเยื้อซื้อเวลาไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น ควรถูกต้ังข้อสงสัยว่าเป็นเรื่องสุจริตหรือไม่?
3 ) น้ำมันเขียวที่อ้างว่าติดเรือนั้น เป็นน้ำมันที่ไม่มีภาษี มีไว้ส่งออก และเพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องให้ไปจับปลานอกน่านน้ำไทยเท่านั้น เรือประมงที่ใช้น้ำมันเขียวจะนำกลับมาใช้ในประเทศไม่ได้
การที่เรือซัพพลายของบริษัทเชฟรอน สผ. ซื้อน้ำมันจากบริษัทในเครือเดียวกันคือจากบริษัทเชฟรอน(ไทย) จำกัดที่อ้างว่าส่งออก จึงเป็นกระบวนการเลี่ยงภาษีที่ออกแบบซับซ้อนแบบ2ชั้นเพื่อตบตาใช่หรือไม่? การที่เรือบริการของเชฟรอนสผ.ถูกจับที่ด่านสงขลาจึงเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าบริษัทเชฟรอนไทยไม่ได้ส่งออกน้ำมันจริง การตีความว่าแท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีปเป็นนอกราชอาณาจักร จึงเป็นการจงใจเปิดช่องให้เอกชนเลี่ยงภาษีได้ใช่หรือไม่?
การนำน้ำมันที่อ้างว่าส่งออกไปขายให้เชฟรอนสผ.ใช้ที่แท่นขุดเจาะและนำมาวิ่งในน่านน้ำอ่าวไทย จึงเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี โดยมีข้าราชการร่วมสมคบคิดออกแบบการตีความผิดๆแบบนี้ใช่หรือไม่?
เมื่อถูกด่านสงขลาจับได้เชฟรอน สผ.จึงยอมระงับคดีโดยให้ยึดน้ำมันเรือไว้
สิ่งที่กระทรวงการคลังควรทำโดยรีบด่วนคืออนุมัติการระงับคดี และส่งเงิน48ล้านบาทเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน อย่าให้ข่าวร่ำลือเป็นจริงว่ากำลังหาทางพลิกคดีว่าน้ำมันเขียวที่ถูกยึดและขายไปแล้วกลายเป็นน้ำมันติดเรือ หากมีการย้อนหลังไปตีความแบบนั้น ผลกระทบที่ตามมาจะเสียหายมากกว่านี้เท่ากับหน่วยงานรัฐสมยอมให้เกิดบรรทัดฐานให้นำน้ำมันเขียวย้อนกลับมาใช้ในประเทศได้ จะกลายเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันเถื่อนภายในประเทศโดยถูกกฎหมายอย่างกว้างขวาง
การสอบเรื่องนี้ ไม่ควรปล่อยให้เป็นการสอบเงียบๆภายในกระทรวง แต่ควรตั้งกรรมการสอบโดยเชิญอดีตนายด่านสงขลาที่จับและยึดน้ำมันของบริษัทเชฟรอนมาสอบถามข้อมูลและเหตุผล เพื่อจะได้สรุปปิดคดีนี้และส่งเงินที่ยึดไว้48ล้านบาทเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดินโดยเร็ว
หากการสอบกรณียึดน้ำมันเถื่อนที่ด่านสงขลา กลายเป็นมวยล้มต้มคนดู ข้าราชการทั้งหลายที่รับผิดชอบ ต้องระวังการกระทำที่จะเข้าข่ายไปฟอกสิ่งที่ผิดให้กลายเป็นสิ่งที่ถูก ผู้บริหารตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีลงมาที่ไม่เข้ามากำกับสั่งการให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้อง อาจเข้าข่ายการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา157 และต้องรับผิดทางแพ่งที่ทำให้รัฐเสียหาย ส่วนข้าราชการนอกจากจะมีความผิดทั้งทางอาญา ทางแพ่งแล้ว ยังมีความผิดวินัยทางราชการอีกด้วย ขอให้ดูอดีตที่ปรึกษาฯกรมสรรพากรที่ใช้อำนาจตอบข้อหารือเอื้อเอกชนให้เลี่ยงภาษี และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกไว้เป็นอนุสติเตือนใจ
รสนา โตสิตระกูล
14 พ.ย 2559