ฤาสื่อโซเชี่ยลติดหนวด!!?? เฟซบุ๊คบล็อคดิฉัน3วันเพราะประกาศแจกหนังสือ “ฟ้าทะลายโจร : ฟ้าทะลายโควิด”

ฤาสื่อโซเชี่ยลติดหนวด!!?? เฟซบุ๊คบล็อคดิฉัน3วันเพราะประกาศแจกหนังสือ “ฟ้าทะลายโจร : ฟ้าทะลายโควิด”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 CHANGE The World รสนา โตสิตระกูล

 

ฤาสื่อโซเชี่ยลติดหนวด!!??
 
เฟซบุ๊คบล็อคดิฉัน3วันเพราะประกาศแจกหนังสือ “ฟ้าทะลายโจร : ฟ้าทะลายโควิด”
 
ดิฉันมารู้ตัวว่าถูกเฟซบุ๊ค บล็อคตอนดึกมากของเมื่อคืน วันที่ 6 ก.ค หรือเข้าเช้าวันใหม่ของวันที่ 7 ก.ค 2564 (เวลา 0.51 น.) ดิฉันเพิ่งทราบว่าเฟซบุ๊คบล็อคตอนจะโพส “ข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงพระราชทานฟ้าทะลายโจรให้ผู้ว่าฯกรุงเทพไว้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 “ ซึ่งเป็นสัญญะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
 
Fbอ้างว่าดิฉันถูกบล็อคเพราะบทความที่โพสต์เมื่อ 3วันก่อน นับตั้งแต่วันที่6ก.ค เพราะได้โพสต์บทความ “แจกฟรี!หนังสือ”ฟ้าทะลายโจร : ฟ้าทะลายโควิด “ติดอาวุธความรู้ สู้โควิด” แต่ปรากฎว่าตอน บ่าย 2 (14.00น) ของเมื่อวานนี้ (6ก.ค2564) ดิฉันยังสามารถโพสต์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวน้องพอส ฮีโร่นักผจญเพลิงที่เสียสละทำงานอาสาสมัครจนเสียชีวิตในการดับเพลิงที่โรงงานโฟมในซอยกิ่งแก้ว สมุทรปราการ แต่พอจะโพสต์เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯทรงพระราชทานฟ้าทะลายโจรให้คนกรุงเทพฯใช้ดูแลรักษาโควิด-19 เฟซบุ๊คก็บล็อคไม่ให้โพส และแจ้งว่าดิฉันว่าไม่สามารถโพสต์หรือแสดงความเห็นเป็นเวลา 3วัน เพราะเหตุผล “โพสต์ของคุณไม่เป็นไปตามมาตรฐานชุมชนของเรา”
 
เฟซบุ๊คอ้างว่ามีอย่างน้อย3บทความที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานชุมชนของเขา คือ
1)บทความ “แจกฟรี!หนังสือ”ฟ้าทะลายโจร : ฟ้าทะลายโควิด “ติดอาวุธความรู้ สู้โควิด”(วันที่ 3 กรกฎาคม 2564)
2)บทความ เสนอให้ “รัฐบาลใช้ฟ้าทะลายโจร สรุปบทเรียนจากการลดลงของผู้ติดเชื้อโควิดในเรือนจำ” (29 มิถุนายน 2564)
 
3) บทความ “อะเมซิ่งไทยแลนด์ !ค้นพบฟ้าทะลายโจร สมุนไพรตัวแรกในโลกที่ฆ่าเชื้อโควิด-19ได้” (26 มกราคม 2564)
 
การที่เฟซบุ๊คเที่ยวปิดกั้นการโพสต์แสดงข้อมูล การค้นพบและการทดลองเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรเพื่อเป็นทางออกของคนไทยใช้รักษาตัวเองเมื่อมีการติดเชื้อโควิด-19 เป็นสิ่งที่ถูกต้องเเล้วหรือ มาตราฐานชุมชนของเฟซบุ๊คคืออะไรกันแน่!?
 
ในเมื่อประเทศไทยยังไม่สามารถนำเข้าวัคซีนในปริมาณที่เพียงพอมาฉีดให้ประชาชนไทยถึง70%จนสามารถเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้อย่างที่บรรดาประเทศโลกกบาลทั้งหลายได้ประชาสัมพันธ์อ้างเอาไว้ และบรรดาประเทศโลกกบาลก็ยังผูกขาดการซื้อ การกักตุนวัคซีนเอาไว้ใช้เองมากจนใช้ไม่ทัน พอใกล้หมดอายุก็เอามาระดมแจกให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
 
ในขณะเดียวกันองค์กรโลกกบาลอย่างWHO ก็ขัดขวางประเทศเล็กๆที่พยายามหาทางรอดนอกเหนือจากวัคซีนอย่างประเทศมาดากัสการ์ ประธานาธิบดีของมาดากัสการ์ใช้สมุนไพรโกฐจุฬาลัมพามาทำเป็นเครื่องดื่มให้ประชาชนได้ป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19 เพราะประเทศจนๆไม่สามารถแย่งชิงซื้อวัคซีนในช่วงที่วัคซีนยังเป็นตลาดของผู้ขาย ถึงพอจะมีเงินซื้อได้ ก็ไม่ใช่จะซื้อได้อย่างง่ายดาย ถ้าประเทศนั้นไม่ใช่ขาใหญ่พอ ก็จะถูกปฏิบัติด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม อย่างที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่
 
ดิฉันเขียนบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรตั้งแต่มกราคม 2564 และก็เคยถูกเฟซบุ๊คลบบทความไปครั้งหนึ่ง โดยที่ตอนนั้นดิฉันไม่ทราบว่าถูกลบเพราะเขียนเรื่องฟ้าทะลายโจรกับโควิด-19 นึกว่าระบบผิดพลาด ก็เลยเอาบทความมาลงใหม่ ซึ่งเพิ่งรับรู้ว่าบทความ “อะเมซิ่งไทยแลนด์ !ค้นพบฟ้าทะลายโจร สมุนไพรตัวแรกในโลกที่ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้” เป็นบทความที่เคยถูกลบ และเฟซบุ๊คนำมาเป็นเหตุผลที่ดิฉันทำผิดมาตรฐานของชุมชนของเขาหลายครั้งจนถูกห้ามโพสต์และเขียนความเห็นใดๆ เป็เวลา 3วันนับจากวันที่6ก.ค 2564 เป็นต้นไป
 
ดิฉันอยากทราบว่ามาตรฐานชุมชนเฟซบุ๊คคืออะไร !?
 
 
 
 
คือการล่าอาณานิคมยุคใหม่กับบรรดาประเทศที่ใช้แพลตฟอร์มของFbใช่หรือไม่ ?!
 
คือการไม่ให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ด้วยสมุนไพรในประเทศตัวเอง ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ใช่หรือไม่!?
 
คือการปิดหูปิดตาโอกาสที่ประชาชนจะเงยหัวขึ้นมาหาทางออกในการต่อสู้กับเชื้อโรคโควิด-19 ด้วยตัวเองจากเชื้อโรคที่อาจถูกปล่อยหรือหลุดออกมาจากการวิจัยอาวุธชีวภาพที่บรรดาประเทศโลกกบาลกำลังซุ่มทำกันอยู่ ใช่หรือไม่!?
 
คือการให้ทุกประเทศต้องถูกล้วงกระเป๋าซื้อวัคซีนที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยบริษัทมหาอำนาจพวกนั้นไม่ต้องรับผิดชอบกับผลแทรกซ้อนใดๆต่อประชากรโลกทั้งโลก ใช่หรือไม่ !?
 
กล่าวให้ชัดเจนคือ Fb ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้ได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นทางรอดจากโรคระบาดโควิด-19 ทางอื่นๆนอกเหนือจากวัคซีนของบริษัทในประเทศมหาอำนาจเท่านั้น ใช่หรือไม่?
 
ขอให้ประชาชนคนไทยได้เท่าทัน จับตาใส่เครื่องหมายคำถามตัวโตๆกับการล่าอาณานิคมยุคใหม่ผ่านสื่อโซเชี่ยล ที่น่าจะเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการสื่อสารการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการของประชาชนในโลกประชาธิปไตย
รสนา โตสิตระกูล
7 กรกฎาคม 2564