"หยุด! ร่างพ.ร.บปิโตรเลียม ฯ ฉบับปล้นกลางแดด"

"หยุด! ร่างพ.ร.บปิโตรเลียม ฯ ฉบับปล้นกลางแดด"

 

 

 

 

 

 

"หยุด! ร่างพ.ร.บปิโตรเลียม ฯ ฉบับปล้นกลางแดด"

 

 

 

ร่างพ.ร.บ นิรโทษกรรมสุดซอยในรัฐบาลก่อนหน้านี้ถูกขนานนามว่ากฎหมายฉบับลักหลับประชาชน เพราะรัฐสภาผ่านร่างกฎหมายนี้ในยามวิกาล

 

ส่วนร่างพ.ร.บ ปิโตรเลียมควรถูกขนานนามว่าเป็นกฎหมายฉบับปล้นกลางแดดหรือไม่?

 

ร่างกฎหมายปิโตรเลียม2ฉบับนี้กำลังจะนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันที่ 30 มีนาคม 2560 เพื่อโหวตผ่านเป็นกฎหมายที่จะนำมาใช้เป็นกติกาบริหารทรัพยากรปิโตรเลียมของชาติที่มีมูลค่าประมาณปีละ 4-5 แสนล้านบาท

 

ที่ควรถูกขนานนามเช่นนี้เพราะ

 

1)กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์แก้เพื่อนำมาใช้กับการต่ออายุสัมปทานในแปลงเอราวัณและแปลงบงกช ซึ่งมีมูลค่าปีละ2แสนล้านบาท และกำลังจะหมดอายุสัมปทานในปี2565,2566 ทั้ง2แปลงจะกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศหลังจากให้กรรมสิทธิ์เอกชนไปพัฒนาทำกำไรมาแล้ว50ปี แต่รัฐบาลอ้างว่าไม่สามารถบริหารเองด้วยระบบการจ้างผลิต เลยจะยกกรรมสิทธิ์ให้เอกชนต่อไป ทั้งที่กฎหมายปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ห้ามต่อสัมปทานอีกก็เลยอำพรางด้วยระบบแบ่งปันผลผลิตแบบกำมะลอที่ไม่ให้มีหน่วยงานของรัฐมาบริหารส่วนแบ่งปิโตรเลียมที่รัฐได้มาในระบบแบ่งปันผลผลิต แต่ต้องยกให้เอกชนเป็นผู้ขายปิโตรเลียมส่วนของรัฐด้วย จึงควรเรียกว่าเป็นระบบสัมปทานจำแลง

 

2)ร่างกฎหมายปิโตรเลียมฉบับนี้ยังจะนำมาใช้กับการเปิดสัมปทานรอบใหม่ รอบที่21 ที่ประชาชนคัดค้านมาตั้งแต่ปี2554ในรัฐบาลเลือกตั้งและเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายไม่ให้รัฐเสียเปรียบก่อนเปิดสัมปทานรอบใหม่

 

แต่การแก้ไขคราวนี้เป็นการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์เอกชนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ ใช่หรือไม่ เพราะแก้คราวนี้ เป็นการแก้ให้สัมปทานเอกชนรวดเดียว 39ปี ทั้งที่ในพ.ร.บ ปิโตรเลียม 2514 แบ่งระยะเวลาเป็น3ช่วง คือช่วงสำรวจไม่เกิน9ปี ช่วงผลิตครั้งแรก20ปี ต่ออายุสัมปทานได้อีก1ครั้งคือ10ปี รวม39ปี

 

การยกสัมปทานรวดเดียว39ปี จะยิ่งทำให้รัฐบาลในอนาคตไม่สามารถแก้ไขสัญญาให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด การที่ร่างกฎหมายปิโตรเลียมฉบับนี้ไม่ยกเลิกข้อบัญญัติเดิมในพ.ร.บ ปิโตรเลียม2514ที่บัญญัติให้การระงับข้อพิพาทกับเอกชนกรณีรัฐบาลจะเพิกถอนสัมปทานเอกชนต้องใช้ระบบอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้รัฐเสียเปรียบเอกชนมาตลอด

 

การยกสัมปทานให้เอกชนรวดเดียว39ปี เมื่อบวกกับการต้องเข้าระบบอนุญาโตตุลาการถ้าจะยกเลิกสัมปทานคือการเขียนกติกามัดมือมัดเท้าประเทศให้แน่นหนาขึ้น กล่าวคือตลอด39ปีที่เอกชนได้สัมปทานไป รัฐจะไม่มีโอกาสยกเลิกสัมปทานเลยก็ว่าได้ ถ้าจะยกเลิกสัมปทานกับเอกชนต้องเข้าระบบอนุญาโตตุลาการที่จะมีอนุญาโตตุลาการ

คนที่3 มาจากศาลแห่งสหพันธรัฐสวิส หรือตัวแทนที่เลือกโดยผู้อำนวยการใหญ่ธนาคารโลก ทั้งที่ในโลกสมัยใหม่ สัญญาทางปกครองที่รัฐทำกับเอกชนไม่ต้องใช้ระบบอนุญาโตตุลาการที่ทำให้รัฐเป็นฝ่ายเสียเปรียบเอกชนอีกแล้ว การไม่แก้ไขข้อเสียเปรียบที่รัฐมีกับเอกชน ทำให้เราเสียอธิปไตยทางศาลเหมือนการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอีกครั้ง ใช่หรือไม่

 

แค่กติกา2ข้อนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะเรียกกฎหมายปิโตรเลียม2ฉบับนี้ว่าเป็นฉบับปล้นกลางแดด คือปล้นสิทธิประโยชน์ของประเทศและประชาชนให้เอกชนแบเห็นจะๆใช่หรือไม่

 

ขนาดกรรมการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ อย่างเช่นประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ชี้จุดที่ประเทศจะเสียเปรียบในร่างกฎหมายปิโตรเลียม2ฉบับนี้ แต่ทั้งรัฐบาลและสนช.ก็ไม่ยอมแก้ไข

 

อย่างนี้หาก

ไม่เรียกว่ากฎหมายปิโตรเลียม2ฉบับนี้เป็นฉบับปล้นกลางแดดแล้ว ควรจะเรียกว่ากระไรดี?

 

ประชาชนชาวไทยทั้งหลายจะยอมให้เขาปล้นกลางแดด หรือลักหลับกลางวันแสกๆโดยไม่คัดค้านกันละหรือ!?!

 

รสนาโตสิตระกูล

23 มีนาคม 2560