"กติกาหรือกติกูกันแน่?"

"กติกาหรือกติกูกันแน่?"

 

 

 

CHANGE The World  รสนา โตสิตระกูล 

 

 

 

 

 

"กติกาหรือกติกูกันแน่?"

 

 

 

รมว.พลังงานให้สัมภาษณ์เมื่อวานนี้(19พ.ค) กรณีที่ นางสาว รสนา โตสิตระกูล หนึ่งในแกนนำเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เดินทางไปยื่นเอกสารเพิ่มเติมให้กับผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่..) พ.ศ. ....ที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  ว่า ไม่ได้ให้ความสนใจ

 

"คนเราควรจะต้องรู้ว่าอะไรคือกติกา เมื่อเรื่องจบไปแล้วก็ควรจะต้องจบ แต่ถ้ายังไม่รู้กติกา ก็ต้องปล่อย จะไปยื่นกี่ที่ก็ยื่นไปเถอะ" พลเอก อนันตพร กล่าว

 

ในบทสรุปผู้บริหารของคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม2514 ของสนช.ที่เสนอรายงานต่อสนช.เมื่อ 12 พ.ค 2558 ได้ระบุข้อเสนอชัดเจนว่า

 

ผลการศึกษาเกี่ยวกับบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ผู้บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม "เห็นควรให้จัดตั้ง National Oil Company ในรูปแบบของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวเกี่ยวกับการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับ รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม โดยการตราเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย เป็นผู้ถือสิทธิในทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐ (Resource holder) ในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหลาย ควบคุมดูแลระบบสำรวจและการแสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้าง รวมถึงสัมปทานที่หมดอายุ" ซึ่งรายงานผลการศึกษาดังกล่าวเมื่อเสนอในที่ประชุมไม่มีเสียงโหวตคัดค้านแม้แต่เสียงเดียว

 

เมื่อมาถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ ปิโตรเลียม(ฉบับที่...)พ.ศ...ที่ได้เพิ่มมาตรา10/1 ว่าด้วย"การจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อพร้อม" ซึ่งเป็นมติครม.2ครั้ง ออกเมื่อวันที่ 7 และ28 ก.พ.2560ให้เพิ่มมาตราดังกล่าว แต่ปรากฎว่าเมื่อมีเสียงทักท้วงจากม.ร.ว ปรีดียาธร เทวกุล ขอให้ผ่านร่างกฎหมายปิโตรเลียมโดยขอให้ตัดมาตรา10/1 ออกไป ก็ปรากฎว่าสภานิติบัญญัติยอมตัดมาตรา10/1 ออกไปโดยใช้วิธี "ล้มมวย" คือให้กรรมาธิการถอนมาตรานี้ออกไปโดยขัดต่อข้อบังคับการประชุมของสนช. ขอถามตรงนี้ว่า นี่คือ"กติกาหรือกติกู"

 

ที่ต้อง"ล้มมวย"ด้วยเทคนิคตัดมาตรานี้ด้วยการให้กรรมาธิการฯเป็นผู้ถอนออกเอง จะได้ไม่ต้องมีการโหวต เพราะถ้าโหวตคว่ำ เท่ากับสนช.ขัดกับครม.ที่เป็นผู้มีมติให้เพิ่มมาตรานี้ และนอกจากนี้ สนช.ใดที่โหวตคว่ำย่อมถูกประชาชนนำชื่อมาประจาน แต่ถ้าปล่อยให้โหวตตามกติกาที่ถูกต้องของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว มาตรา10/1นี้ย่อมปรากฎอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียมซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของกลุ่มทุนพลังงาน ใช่หรือไม่?

 

ถ้าเป็นเทคนิคของ"สภาเผด็จการเสียงข้างมาก" คือการส่งสัญญาณให้ส.ส ,ส.ว

โหวตเห็นคว่ำ แต่สำหรับ"เผด็จการสภาเสียงข้างเดียว" ต้องใช้เทคนิค"ล้มมวย"ไม่ต้องโหวต เพื่อเซฟเหล่าสนช.และครม.ที่เล่นละครตบตาประชาชน ใช่หรือไม่?

 

แล้วแบบนี้ละหรือที่ทั่นรัฐมนตรีเรียกว่า "กติกา" แบบนี้คนโบราณเขาเรียกว่า "เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า"  เพื่อให้เป็นไปตาม "กติกู" มากกว่า ใช่หรือไม่?

 

สำหรับดิฉันที่ยื่นองค์กรตามรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตรวจสอบการใช้อำนาจแบบ"กติกู" นี้ว่าจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้หรือไม่

 

ดิฉันเพียงแต่ใช้สิทธิตรวจสอบตามกติกาของรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ

แต่ใครกันแน่กำลังใช้อำนาจตาม"กติกู"ล้มกระดานมาตรา10/1ซึ่งได้ดำเนินกันมาตามกติกาโดยตลอด.

 

การใช้สิทธิของดิฉันที่ผู้ใช้อำนาจมองว่า"ไม่รู้จักกติกาว่าเรื่องมันจบแล้ว" ก็ต้องเรียนไว้ด้วยความเคารพว่า นี่คือการแสดงความเคารพต่อกติกาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและเพื่อเป็นการทดสอบว่า สิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่ได้บัญญัติไว้นั้น เมื่อใช้กลไกที่ออกแบบมาประกอบการรับรองสิทธิของประชาชนแล้ว จะสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ในการถ่วงดุลอำนาจของผู้บริหารบ้านเมือง ที่มีอยู่2ประเภท ไม่ว่าจะเป็น"เผด็จการเสียงข้างมาก" จากการเลือกตั้ง หรือ "เผด็จการเสียงข้างเดียว" จากการรัฐประหาร ว่าจะมีประสิทธิภาพสมคำกล่าวอ้างของผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับปราบคอร์รัปชันจริงหรือไม่ หรือกลไกที่เขียนไว้ จะเป็นเพียง "ประดับยนต์" หรือ"ตรายาง"อีกชิ้นหนึ่งหรือไม่ เท่านั้นเอง

 

รสนา โตสิตระกูล

20 พ.ค 2560

 

 

 

 

"กติกาหรือกติกูกันแน่?"

รมว.พลังงานให้สัมภาษณ์เมื่อวานนี้(19พ.ค) กรณีที่ นางสาว รสนา โตสิตระกูล หนึ่งในแกนนำเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เดินทางไปยื่นเอกสารเพิ่มเติมให้กับผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่..) พ.ศ. ....ที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ว่า ไม่ได้ให้ความสนใจ

"คนเราควรจะต้องรู้ว่าอะไรคือกติกา เมื่อเรื่องจบไปแล้วก็ควรจะต้องจบ แต่ถ้ายังไม่รู้กติกา ก็ต้องปล่อย จะไปยื่นกี่ที่ก็ยื่นไปเถอะ" พลเอก อนันตพร กล่าว

ในบทสรุปผู้บริหารของคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม2514 ของสนช.ที่เสนอรายงานต่อสนช.เมื่อ 12 พ.ค 2558 ได้ระบุข้อเสนอชัดเจนว่า

ผลการศึกษาเกี่ยวกับบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ผู้บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม "เห็นควรให้จัดตั้ง National Oil Company ในรูปแบบของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวเกี่ยวกับการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับ รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม โดยการตราเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย เป็นผู้ถือสิทธิในทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐ (Resource holder) ในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหลาย ควบคุมดูแลระบบสำรวจและการแสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้าง รวมถึงสัมปทานที่หมดอายุ" ซึ่งรายงานผลการศึกษาดังกล่าวเมื่อเสนอในที่ประชุมไม่มีเสียงโหวตคัดค้านแม้แต่เสียงเดียว

เมื่อมาถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ ปิโตรเลียม(ฉบับที่...)พ.ศ...ที่ได้เพิ่มมาตรา10/1 ว่าด้วย"การจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อพร้อม" ซึ่งเป็นมติครม.2ครั้ง ออกเมื่อวันที่ 7 และ28 ก.พ.2560ให้เพิ่มมาตราดังกล่าว แต่ปรากฎว่าเมื่อมีเสียงทักท้วงจากม.ร.ว ปรีดียาธร เทวกุล ขอให้ผ่านร่างกฎหมายปิโตรเลียมโดยขอให้ตัดมาตรา10/1 ออกไป ก็ปรากฎว่าสภานิติบัญญัติยอมตัดมาตรา10/1 ออกไปโดยใช้วิธี "ล้มมวย" คือให้กรรมาธิการถอนมาตรานี้ออกไปโดยขัดต่อข้อบังคับการประชุมของสนช. ขอถามตรงนี้ว่า นี่คือ"กติกาหรือกติกู"

ที่ต้อง"ล้มมวย"ด้วยเทคนิคตัดมาตรานี้ด้วยการให้กรรมาธิการฯเป็นผู้ถอนออกเอง จะได้ไม่ต้องมีการโหวต เพราะถ้าโหวตคว่ำ เท่ากับสนช.ขัดกับครม.ที่เป็นผู้มีมติให้เพิ่มมาตรานี้ และนอกจากนี้ สนช.ใดที่โหวตคว่ำย่อมถูกประชาชนนำชื่อมาประจาน แต่ถ้าปล่อยให้โหวตตามกติกาที่ถูกต้องของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว มาตรา10/1นี้ย่อมปรากฎอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียมซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของกลุ่มทุนพลังงาน ใช่หรือไม่?

ถ้าเป็นเทคนิคของ"สภาเผด็จการเสียงข้างมาก" คือการส่งสัญญาณให้ส.ส ,ส.ว
โหวตเห็นคว่ำ แต่สำหรับ"เผด็จการสภาเสียงข้างเดียว" ต้องใช้เทคนิค"ล้มมวย"ไม่ต้องโหวต เพื่อเซฟเหล่าสนช.และครม.ที่เล่นละครตบตาประชาชน ใช่หรือไม่?

แล้วแบบนี้ละหรือที่ทั่นรัฐมนตรีเรียกว่า "กติกา" แบบนี้คนโบราณเขาเรียกว่า "เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า" เพื่อให้เป็นไปตาม "กติกู" มากกว่า ใช่หรือไม่?

สำหรับดิฉันที่ยื่นองค์กรตามรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตรวจสอบการใช้อำนาจแบบ"กติกู" นี้ว่าจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้หรือไม่

ดิฉันเพียงแต่ใช้สิทธิตรวจสอบตามกติกาของรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ
แต่ใครกันแน่กำลังใช้อำนาจตาม"กติกู"ล้มกระดานมาตรา10/1ซึ่งได้ดำเนินกันมาตามกติกาโดยตลอด.

การใช้สิทธิของดิฉันที่ผู้ใช้อำนาจมองว่า"ไม่รู้จักกติกาว่าเรื่องมันจบแล้ว" ก็ต้องเรียนไว้ด้วยความเคารพว่า นี่คือการแสดงความเคารพต่อกติกาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและเพื่อเป็นการทดสอบว่า สิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่ได้บัญญัติไว้นั้น เมื่อใช้กลไกที่ออกแบบมาประกอบการรับรองสิทธิของประชาชนแล้ว จะสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ในการถ่วงดุลอำนาจของผู้บริหารบ้านเมือง ที่มีอยู่2ประเภท ไม่ว่าจะเป็น"เผด็จการเสียงข้างมาก" จากการเลือกตั้ง หรือ "เผด็จการเสียงข้างเดียว" จากการรัฐประหาร ว่าจะมีประสิทธิภาพสมคำกล่าวอ้างของผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับปราบคอร์รัปชันจริงหรือไม่ หรือกลไกที่เขียนไว้ จะเป็นเพียง "ประดับยนต์" หรือ"ตรายาง"อีกชิ้นหนึ่งหรือไม่ เท่านั้นเอง

รสนา โตสิตระกูล
20 พ.ค 2560