"น้ำผึ้งคลุกข้าว" น้ำผึ้งแผ่นดิน – น้ำนมแม่ธรณี (ตอน 2)

"น้ำผึ้งคลุกข้าว" น้ำผึ้งแผ่นดิน – น้ำนมแม่ธรณี (ตอน 2)

 

 

CHANGE The World  รสนา โตสิตระกูล

 

                                    "น้ำผึ้งคลุกข้าว"

                            น้ำผึ้งแผ่นดิน – น้ำนมแม่ธรณี (ตอน 2)

 

 

โบลิเวีย เป็นตัวอย่างหนึ่งของประเทศที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรปิโตรเลียมเทียบเท่า อธิปไตยของชาติอันไม่มีผู้ใดละเมิดได้  แต่แม้ภาครัฐไทยจะไม่ให้ความสำคัญกับอธิปไตยของปิโตรเลียมเท่าที่ควร แต่เสียงสะท้อนจากภาคประชาชนไทยคนเล็กคนน้อย นับวันจะดังยิ่งขึ้นทุกที ที่ต้องการทวงคืนอธิปไตยทางพลังงานกลับมาอยู่ในอำนาจของประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรมในสังคมไทย ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างประชานิยมพลังงานขึ้นมาแทนที่ทุนนิยมพลังงานที่ กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้

 

คุณ สุรพล ปัญญาวชิระ ได้นำเสนอผลงานศิลปะชุด"น้ำผึ้งคลุกข้าว" ด้วยแนวความคิดการสร้างสรรค์ที่เข้าใจปัญหาเรื่องข้าวและน้ำมันอย่างน่าทึ่ง ทั้งที่2เรื่องนี้เป็นมหากาพย์ที่ยากและซับซ้อน แต่ภาพงานศิลปะง่ายๆงามๆของศิลปินใหญ่ของเราก็สามารถสะท้อนมหภาพรวมอันซับ ซ้อนของสองมหากาพย์ได้ พลังสื่อสาร

ของ งานศิลปะไม่ใช่อยู่ที่การให้ข้อมูล แต่คือการสื่อภาพลักษณ์แห่งความจริงและความหมายที่สะทือนไหวความรู้สึกของ ผู้คน เช่นการสร้างความหมายให้กับน้ำมันเสมือนน้ำผึ้งหรือน้ำนมที่หล่อเลี้ยงลูกๆ ของแม่ธรณี

โดยเพิ่ม ประเด็นเรียกร้องให้ลูกหลานไทยได้ดื่มกินค่าน้ำนม(น้ำมัน)อย่างเป็นธรรม เฉกเช่นเดียวกับที่โบลิเวียให้ค่าน้ำมันเทียบเท่ากับอธิปไตยแห่งชาติเลยที เดียว

 

ภาย ใต้บรรยากาศที่ปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลสาธารณะโดยเฉพาะเรื่องจริงเกี่ยวกับ น้ำมัน การสื่อสารข้อมูลทางใจผ่านงานศิลปะอย่างเช่นที่คุณสุรพลได้รังสรรค์ไว้เป็น แบบอย่าง จึงนับว่ามีคุณูปการอย่างสำคัญในการทวงคืนความเป็นธรรมด้านพลังงานให้แก่ปวง ชนชาวไทย

 

และ แล้วปาฏิหาริย์ก็มีจริง!!ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อวันที่13 มกราคม 2558 เพื่อพิจารณาการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 130:79 ไม่เห็นด้วยกับมติเสียงข้างมากของกรรมาธิการพลังงานที่เสนอให้เดินหน้าเปิด สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21ตามกระทรวงพลังงาน โดยไม่แก้ไขพ.ร.บ ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากระบบสัมปทาน แบบเก่ามาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนมากกว่า

 

ปรากฏการณ์พลิกล็อกเช่นนี้มิได้มีบ่อยนัก

 

เพราะ โดยทั่วไปแล้ว ข้อเสนอของกรรมาธิการเสียงข้างมากจะได้รับการสนับสนุนจาก สปช.โดยเฉพาะ กรณีการเปิดสัมปทานรอบใหม่ซึ่งรัฐบาล คสช. ขอหารือมา 

 

แต่ แล้วคะแนนเสียงของสปช.ที่ท่วมท้นถึง130เสียง ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารทรัพยากรของชาติไปแบบเดิมๆ นับเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่ให้ความหวังกับประชาชนในการเป็นเจ้าของ พลังงานอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาหลังจากการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไปแล้ว ประชาชนมีข้อสงสัยว่าการบริหารจัดทรัพยากรปิโตรเลียมของชาตินั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน หรือเพื่อผลกำไรสูงสุดของกลุ่มธุรกิจพลังงานกันแน่!!