"น้ำผึ้งคลุกข้าว" น้ำผึ้งแผ่นดิน – น้ำนมแม่ธรณี (ตอน 1)
CHANGE The World รสนา โตสิตระกูล
"น้ำผึ้งคลุกข้าว"
น้ำผึ้งแผ่นดิน – น้ำนมแม่ธรณี (ตอน 1)
เมือง ไทยใหญ่อุดมของเราไม่ใช่เป็น เมือง"อู่ข้าว อู่น้ำ" เท่านั้น แต่ยังเป็น"อู่ข้าว อู่น้ำมัน"ด้วย ในโลกใบนี้มีไม่กี่ประเทศกระมังที่มีผืนดินอุดมสมบูรณ์ถึงขนาดปลูกข้าว ปลูกพืชอาหารได้เหลือกินเหลือใช้จนสามารถส่งออกได้เป็นจำนวนมากเหมือนอย่าง ประเทศไทย และเมื่อไม่นานมานี้คนไทยก็เพิ่งรับรู้ว่าเมืองไทยเป็นเจ้าของแหล่งน้ำมัน และก๊าซที่มีอันดับกับเขาเหมือนกัน เอาเฉพาะปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดมาขึ้นมาจากแผ่นดินไทยในแต่ละปี เราถูกจัดเรตติ้งในอันดับที่32 ส่วนก๊าซอยู่อันดับ24 ของโลกที่มีทั้งหมด191ประเทศ แต่เรื่องที่น่าเศร้าคือ เมืองอู่ข้าว อู่น้ำมันอย่างไทยเรากลับต้องมาประสบเคราะห์จากวิกฤติข้าวและพลังงาน
"ข้าว"ของ ชาวนาลูกแม่โพสพที่หล่อเลี้ยงคนไทย จากที่เคยเป็นตำนานข้าวที่ดีที่สุดในโลก และเคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ กลายเป็นมหากาพย์ทุจริตจำนำข้าวกว่า6แสนล้านบาทที่กัดกินกันอยู่บนกระดูก สันหลังของชาติ ซึ่งยังเป็นปมขัดแย้งอันเจ็บปวดของชาติที่ยังไม่จบ
"น้ำมัน"ทรัพย์ ในดิน สินใต้น้ำ ซึ่งสร้างรายได้และกำไรมหาศาลให้แก่กลุ่มทุนพลังงานทั้งที่เป็นทุนสัญชาติ ไทยและต่างด้าว เฉพาะธุรกิจพลังงานสัญชาติไทยเอง(ทั้งที่อยู่ในและนอกตลาดหลักทรัพย์)ก็มี รายได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้มวลรวมทั้งประเทศ ในขณะที่ตลอด12ปีหลังแปรรูปแล้ว รัฐได้รับเงินปันผลเข้าสู่งบประมาณแผ่นดินเฉลี่ยเพียง10,000-16,000ล้าน บาท/ปี ทั้งที่ก่อนหน้านี้ (สมัยที่ยังเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย)เคยส่งรายได้ให้รัฐในปีสุดท้าย ถึง20,000ล้านบาทก่อนถูกแปรรูป ทุกวันนี้ประชาชนต้องจ่ายค่าพลังงานแพงขึ้น ทั้งที่มีทรัพยากรปิโตรเลียมของตัวเอง แต่กลับถูกนำไปต่อยอดสร้างความร่ำรวยให้กับกลุ่มทุนพลังงาน หากประชาชนต้องใช้พลังงานแพงขึ้น ซึ่งก็พอรับได้ ถ้าหากรายได้มหาศาลจากก๊าซ-น้ำมันเหล่านั้นกลับมาเลี้ยงดูเจ้าของทรัพยากร อย่างเป็นธรรม
จะว่าไปในอดีต ดินแดนที่เป็นแหล่งน้ำมันมักจะเป็นประเทศยากจนค่นแค้น เช่นในตะวันออกกลาง ลาติน
อเมริกา และอัฟริกา จนเมื่อได้รัฐบาลที่รักประชาชนจริงๆจึงสามารถกอบกู้อธิปไตยทางปิโตรเลียม กลับมาเป็นของประชาชนเพื่อประชาชนได้สำเร็จ บ้างก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศเพื่อปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากมหาอำนาจ ทุนพลังงาน เช่น กลุ่มประเทศโอเปค และบางประเทศ เช่น โบลิเวีย ถึงกับบัญญัติหมวดว่าด้วย"ไฮโดรคาร์บอน"หรือ"ปิโตรเลียม" ไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวไว้ชัดเจนตามมาตรา360 ว่า
"รัฐ เป็นผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับไฮโดรคาร์บอน ส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นธรรม ยั่งยืน และทั่วถึง และรัฐจักต้องสร้างหลักประกันอธิปไตยทางพลังงาน"
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อหากบฏสำหรับผู้กระทำผิดต่อไฮโดรคาร์บอนด้วย ตามมาตรา 359 ได้บัญญัติกฎเหล็กไว้ว่า
"วรรค หนึ่ง ไฮโดรคาร์บอน ไม่ว่าจะพบอยู่ในสถานะ หรือรูปแบบใด ถือเป็นทรัพย์สินของประชาชนชาวโบลิเวีย อันไม่จำกัดและไม่สามารถถ่ายโอนให้แก่ผู้อื่นได้ รัฐในฐานะตัวแทนของประชาชนชาวโบลิเวีย เป็นเจ้าของผลผลิตไฮโดรคาร์บอนทั้งหมดของประเทศ และเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจในการขายผลผลิตไฮโดรคาร์บอน โดยรายได้จากการขายทั้งหมดถือเป็นทรัพย์สินของรัฐ
วรรค สอง ข้อสัญญา ข้อตกลง หรืออนุสัญญาใดๆ ไม่ว่ากระทำโดยตรงหรือโดยอ้อม โดยซ้อนเร้นหรือโดยเปิดเผย ย่อมไม่สามารถฝ่าฝืนข้อบัญญัติแห่งมาตรานี้ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืน ให้ถือว่าข้อสัญญาเหล่านั้นเป็นโมฆียะ ผู้ที่ได้ตกลงยินยอม ลงนาม เห็นชอบ หรือบังคับใช้ข้อสัญญาเหล่านั้น ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดทางอาญาฐานกบฏ"
โบลิเวีย เป็นตัวอย่างหนึ่งของประเทศที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรปิโตรเลียมเทียบเท่า อธิปไตยของชาติอันไม่มีผู้ใดละเมิดได้ แต่แม้ภาครัฐไทยจะไม่ให้ความสำคัญกับอธิปไตยของปิโตรเลียมเท่าที่ควร แต่เสียงสะท้อนจากภาคประชาชนไทยคนเล็กคนน้อย นับวันจะดังยิ่งขึ้นทุกที ที่ต้องการทวงคืนอธิปไตยทางพลังงานกลับมาอยู่ในอำนาจของประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรมในสังคมไทย ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างประชานิยมพลังงานขึ้นมาแทนที่ทุนนิยมพลังงานที่ กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้
คุณ สุรพล ปัญญาวชิระ ได้นำเสนอผลงานศิลปะชุด"น้ำผึ้งคลุกข้าว" ด้วยแนวความคิดการสร้างสรรค์ที่เข้าใจปัญหาเรื่องข้าวและน้ำมันอย่างน่าทึ่ง ทั้งที่2เรื่องนี้เป็นมหากาพย์ที่ยากและซับซ้อน แต่ภาพงานศิลปะง่ายๆงามๆของศิลปินใหญ่ของเราก็สามารถสะท้อนมหภาพรวมอันซับ ซ้อนของสองมหากาพย์ได้ พลังสื่อสาร
ของ งานศิลปะไม่ใช่อยู่ที่การให้ข้อมูล แต่คือการสื่อภาพลักษณ์แห่งความจริงและความหมายที่สะทือนไหวความรู้สึกของ ผู้คน เช่นการสร้างความหมายให้กับน้ำมันเสมือนน้ำผึ้งหรือน้ำนมที่หล่อเลี้ยงลูกๆ ของแม่ธรณี
โดยเพิ่ม ประเด็นเรียกร้องให้ลูกหลานไทยได้ดื่มกินค่าน้ำนม(น้ำมัน)อย่างเป็นธรรม เฉกเช่นเดียวกับที่โบลิเวียให้ค่าน้ำมันเทียบเท่ากับอธิปไตยแห่งชาติเลยที เดียว
ภาย ใต้บรรยากาศที่ปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลสาธารณะโดยเฉพาะเรื่องจริงเกี่ยวกับ น้ำมัน การสื่อสารข้อมูลทางใจผ่านงานศิลปะอย่างเช่นที่คุณสุรพลได้รังสรรค์ไว้เป็น แบบอย่าง จึงนับว่ามีคุณูปการอย่างสำคัญในการทวงคืนความเป็นธรรมด้านพลังงานให้แก่ปวง ชนชาวไทย
และ แล้วปาฏิหาริย์ก็มีจริง!!ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อวันที่13 มกราคม 2558 เพื่อพิจารณาการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 130:79 ไม่เห็นด้วยกับมติเสียงข้างมากของกรรมาธิการพลังงานที่เสนอให้เดินหน้าเปิด สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21ตามกระทรวงพลังงาน โดยไม่แก้ไขพ.ร.บ ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากระบบสัมปทาน แบบเก่ามาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนมากกว่า
ปรากฏการณ์พลิกล็อกเช่นนี้มิได้มีบ่อยนัก
เพราะ โดยทั่วไปแล้ว ข้อเสนอของกรรมาธิการเสียงข้างมากจะได้รับการสนับสนุนจากสปช.โดยเฉพาะ กรณีการเปิดสัมปทานรอบใหม่ซึ่งรัฐบาลคสช.ขอหารือมา
แต่ แล้วคะแนนเสียงของสปช.ที่ท่วมท้นถึง130เสียง ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารทรัพยากรของชาติไปแบบเดิมๆ นับเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่ให้ความหวังกับประชาชนในการเป็นเจ้าของ พลังงานอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาหลังจากการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไปแล้ว ประชาชนมีข้อสงสัยว่าการบริหารจัดทรัพยากรปิโตรเลียมของชาตินั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน หรือเพื่อผลกำไรสูงสุดของกลุ่มธุรกิจพลังงานกันแน่!!