แถลงการณ์กรีนพีซ กรณีคณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.)เห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)

แถลงการณ์กรีนพีซ กรณีคณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.)เห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)

 

 

 

แถลงการณ์กรีนพีซ

กรณีคณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.)เห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA)

โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา

 

 

 

กรุงเทพฯ, 19 สิงหาคม 2560 - จากการที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.) เห็นชอบรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลาในการประชุมที่เร่งด่วน ปิดลับและปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในวันที่ 17 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา นางสาวจริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า

 

“เป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิกฤตความชอบธรรมของระบบและกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ถูกครอบงำโดยผู้มีอำนาจตัดสินใจที่มีโจทย์อยู่แล้วว่า จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ได้ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า สิ่งที่ชัดเจนคือ แม้ว่า คชก.จะเห็นชอบผ่านรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความบกพร่องในรายงาน EHIA จะถูกแก้ไขหมดแล้ว ซ้ำร้ายการประทับตราเห็นชอบต่อรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ต่ำเกินจริงของคชก. นั้นไม่มีภาระรับผิดใดๆ กับการให้ความเห็นชอบรายงาน EHIA แม้ว่าจะยังมีข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่ครบถ้วน บกพร่องและไม่คำนึงถึงศักยภาพพื้นที่ที่สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิต ลักษณะเฉพาะทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น และความเปราะบางของระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล ตลอดจนทรัพยากรประมงที่จำเป็นต้องปกปักรักษาไว้ คชก. ยังไม่ต้องรับผิดชอบกับการไม่กำกับ ดูแล ติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่ต้องรับผิดชอบกับการที่หน่วยงานรัฐและเจ้าของโครงการไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใดทั้งสิ้น”

 

ผลการคำนวณแบบจำลองบรรยากาศ(Atmospheric Modeling) ที่ดำเนินการโดยทีมวิจัย Atmospheric Chemistry Modeling ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าแบบจำลอง การเคลื่อนที่ของเคมีในบรรยากาศ (Atmospheric chemistry-transport model- GEOS-Chem) ระบุว่า หากมีการดําเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 จะเกิดขึ้นใน บริเวณทิศตะวันตกของพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างอันเป็นผลมาจากลักษณะการกระจายตัวของ PM2.5 ที่จะครอบคลุมทั่วคาบสมุทร โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะได้Œรับผลกระทบในวันท่ีไม่‹ค่อยมีลม ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน เมื่อลมประจําทิศพัดจากทิศตะวันออกไป ยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงที่สภาวะอากาศย่ำแย่ อัตราการปล่อย PM2.5 จะสูงเพิ่มขึ้นถึงร้Œอยละ 50 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยรายปี แบบจำลอง GEOS-Chem ยังได้ประมาณว่า หากมีการดําเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาจะมีการตก สะสมของเถ้าถ่านหิน(เถ้าลอย)ในอากาศ ลงในพื้นที่ในราว 10-20 กิโลกรัมต่อตารางกิโลเมตร และการตกสะสมของฝนกรดในพื้นที่ราว 50 กิโลกรัมต่อตารางกิโลเมตร

 

การปล่อยมลพิษทางอากาศจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพายังมีผลต่อคุณภาพอากาศในทางตอนเหนือ ของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และตอนเหนือของมาเลเซียและก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพ ข้ามพรมแดนประเทศอย่างมีนัยสําคัญ และหากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพามีการดำเนินการ โดยมีอายุการใช้งาน 40 ปี อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด หลอดลมและท่อลมรวมถึงโรคทางเดินหายใจและหัวใจเรื้อรังอื่นๆ ท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้นอยู่ในราว 4,420 ราย (1)

 

 

 

 

“การที่ คชก. ให้ความเห็นชอบต่อรายงาน EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา ก็เท่ากับเป็นใบเบิกทางให้กับอุตสาหกรรมถ่านหินในการก่ออาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม กรีนพีซเรียกร้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ตัดสินใจยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาในทันที และทบทวนกระบวนการวางแผนพลังงานของประเทศเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนแบบ กระจายศูนย์ที่สะอาด ยั่งยืนและเป็นธรรมอันเป็นเจตนารมย์หลักตามพันธะกรณีที่ประเทศไทยให้คำมั่นในความตกลงปารีสและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(2) รวมถึงการดำเนินมาตรการในข้อ 8(Article 8) ของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท(3)” นางสาวจริยา เสนพงศ์ กล่าวปิดท้าย

 

หมายเหตุ :

(1) www.greenpeace.or.th/Thailand-human-cost-of-coal-power/th.pdf

(2) www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals และอ่านเพิ่มเติมใน www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/pm25-sdgs/blog/59868

(3) http://oic.mnre.go.th/download/pdf/chem4-text.pdf มาตรการในข้อ 8(Article 8) ของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยลงนามเข้าร่วม เป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท(Minamata Convention on Mercury) เป็นอันดับที่ 66 ของโลก และเป็นประเทศแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคีอนุสัญญาได้ยอมรับร่วมกันว่า “ปรอทเป็นสารเคมีที่ทั่วโลกมีความกังวลเนื่องจากปรอท สามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในชั้นบรรยากาศ ปรอทตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมของมนุษย์ ปรอทมีความสามารถในการสะสมในสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ และปรอทส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสําคัญ อนึ่ง เป็นที่รับรู้กันดีว่า ปรอทที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศนั้นเป็นองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) โดยอนุสัญญาข้อนี้มุ่งเน้นถึงการควบคุมและลดการปล่อย (emission)ปรอทออกสู่บรรยากาศจากแหล่งกำเนิดที่มีจุดกำเนิดแน่นอน(point sources) ตามรายการที่ระบุไว้ในภาคผนวก D (Annex D) ของอนุสัญญาฯ รวมถึง โรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โทร. 081 692 8978081 692 8978 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โทร. 081 929 5747081 929 5747 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.