ไอคอนสยาม ร่วมสืบสานวิถีไทย มหัศจรรย์งานบุญครั้งยิ่งใหญ่ ในงาน “ไอคอนสยาม ไหว้พระสุขใจ หล่อเทียนไทยให้เรืองรอง”

ไอคอนสยาม ร่วมสืบสานวิถีไทย มหัศจรรย์งานบุญครั้งยิ่งใหญ่ ในงาน “ไอคอนสยาม ไหว้พระสุขใจ หล่อเทียนไทยให้เรืองรอง”

 

 

 

 

 



ไอคอนสยาม ร่วมสืบสานวิถีไทย มหัศจรรย์งานบุญครั้งยิ่งใหญ่
ในงาน “ไอคอนสยาม ไหว้พระสุขใจ หล่อเทียนไทยให้เรืองรอง”
สักการะขอพรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง 4 ภาค
พร้อมชมต้นเทียนพรรษาสุดวิจิตร และกิจกรรมพฤกษาบูชา ภูมิปัญญาแห่งศรัทธา
วันนี้ – 6 กรกฎาคม 2563 ณ  เจริญนคร ฮอลล์ ชั้น M
 
 
 
 
 
กรุงเทพฯ  -  “ไอคอนสยาม” แลนด์มาร์คของไทยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จัดงาน “ไอคอนสยาม              ไหว้พระสุขใจ หล่อเทียนไทยให้เรืองรอง”  เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทยและร่วมสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายใต้ความมหัศจรรย์งานบุญครั้งยิ่งใหญ่  ร่วมสักการะขอพรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 4 องค์จาก 4 ภาคของไทย พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมการหล่อเทียนพรรษา เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่ตนเองและครอบครัว ตอกย้ำให้แม่น้ำเจ้าพระยากลับมาเป็นแม่น้ำสายวัฒนธรรมอีกครั้ง ตั้งแต่วันนี้  – 6  กรกฎาคม 2563  ณ เจริญนคร ฮอลล์  ชั้น M, ไอคอนสยาม ถนนเจริญนคร
 
คุณสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด  กล่าวถึงการจัดงานว่า “ไอคอนสยามมีปณิธานที่จะเชิดชูเรื่องราวอันมีคุณค่า และเป็นความภาคภูมิใจจากทุกมิติของความเป็นเอกลักษณ์ของไทย โดยนำเสนอเรื่องราวความเป็นไทยที่มีคุณค่าให้แก่ประเทศ  เนื่องในวันเข้าพรรษานี้ “ไอคอนสยาม” จึงได้อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้สักการะบูชาในงาน “ไอคอนสยาม ไหว้พระสุขใจ หล่อเทียนไทยให้เรืองรอง”  กับกิจกรรม  “ศูนย์รวมแห่งศรัทธา”  ชมต้นเทียน “ส่องธรรมนำปัญญา”  และกิจกรรมเวิร์คช้อป “พฤกษาบูชา”  พร้อมกิจกรรม “ดอกผึ้งบูชา” ทำจากเทียน เพื่อเสริมสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
 
สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ ไอคอนสยาม อัญเชิญมาประกอบไปด้วย พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ 4 องค์ จาก 4 ภาคของไทย ได้แก่ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา  โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นมงคลคู่แปดริ้ว ทั้งวัดและองค์พระเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธายึดเหนี่ยว ไม่เฉพาะชาวแปดริ้วเท่านั้น แต่รวมถึงสาธุชนจากทั่วประเทศ,  พระพุทธสิหิงค์ (องค์จำลอง) จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร,  พระเชียงแสน จ.เชียงใหม่ เป็น “พระเชียงแสนแบบสิงห์หนึ่ง”  มีลักษณะะที่สำคัญคือ พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลม แย้มประโอษฐ์ ขมวดพระเกศาใหญ่ เหนืออุษณีษะหรือพระรัศมีเป็นตุ่มกลมหรือลูกแก้วคล้ายดอกบัวตูม ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ส่วนพระพุทธรูปองค์สุดท้ายที่นำมาประดิษฐาน หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนเป็นสำคัญ และจากความศรัทธาเลื่อมใสนี้มักจะมีประชาชนมาบนบานขอพระต่อองค์หลวงพ่อพระใส โดยส่วนใหญ่มักจะขอให้แคล้วคลาดเดินทางปลอดภัย นอกจากนี้ยังขอเกี่ยวกับสุขภาพ หน้าที่การงาน เมื่อสัมฤทธิ์ผลแล้วก็จะมาแก้บน
 
            ภายในงาน ยังมีการหล่อเทียนพรรษาด้วยดอกผึ้งบูชาอันวิจิตร และชมประติมากรรมต้นเทียนสุดตระการตา  “เทียนส่องธรรมนำปัญญา” ผลงานช่างทำเทียนพรรษา จากวัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี  โดยต้นเทียนแสดงเรื่องเล่าปฐมเทศนา เล่าถึงภาพพุทธประวัติตอนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เหล่าเทพธิดา เทพบุตรและพระสงฆ์สาวก มีพญาครุฑจับธงเป็นผู้ชักลากนำขบวนเทียน โดยมีฐานรองรับลำต้นเทียนที่แบกโดยพระโค และพระพุทธเจ้าประทับบนหลังพระโค ซึ่งประดิษฐานตรงหน้าลำต้นเทียน ทั้งสองด้านของต้นเทียน ด้านซ้ายประดับด้วยย่านาคีศรีปทุมา ส่วนด้านขวาคือปู่ศรีสุทโธพญานาค ซึ่งเคยไปขอบวชกับพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้บวชเพราะพญานาคเป็นเดียรัจฉา ปู่ศรีสุทโธเลยทูลขอว่าก่อนที่จะบวชขอให้มีการบวชนาคก่อน ซึ่งเป็นที่มาของการอุปสมบท   พร้อมสัมผัสความสวยงามของดอกไม้จากสวนนงนุชพัทยา ที่จะมาเสริมความยิ่งใหญ่และสร้างความประทับใจให้แก่ต้นเทียนพรรษา โดยตกแต่งฐานรับต้นเทียนพรรษาตามแนวคิด “แมนดาลา” ศูนย์กลางของจักรวาลในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงที่ประทับของพระพุทธเจ้า ที่นำไปสู่รูปแบบของสถาปัตยกรรม การสร้างวิหารที่มีประตูเข้าออก 4 ทิศ อันสอดคล้องกับหลักพรหมวิหารสี่ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และสอดรับการวางต้นเทียนเป็นจุดศูนย์กลางวงกลมที่แผ่ออกไปสู่พระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ เพื่อต้อนรับเทศกาลเข้าพรรษาที่ใกล้จะถึงนี้
 
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเวิร์คช้อปทางธรรมสุดสร้างสรรค์ “พฤกษาบูชา ภูมิปัญญาแห่งศรัทธา”  อาทิ การทำบุหงาพัดโบก  ดอกไม้แห้งอบปรุงประดิษฐ์ทำเป็นรูปพัดโบก งานฝีมือที่จำลองรูปแบบเครื่องสูงในราชสำนัก บรรจุด้วยบุหงาอบกลิ่นดอกไม้ไทย ที่หอมละมุนละไม รูปแบบประณีตงดงาม ใช้ประดับตกแต่ง  การทำเทียนหอมดอกบัว ผู้นิยมจุดเทียนไหว้พระตามสีวันเกิดของตัวเอง เป็นเครื่องสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต จึงมีเทียนสี กลิ่น และมีรูปแบบต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะรูปดอกบัวที่มีความเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา หากผู้ใดได้จุดบูชา แสงเทียนก็จะส่องสว่าง นำปัญญา ช่วยหนุนนำวาสนาบารมีให้ดียิ่งๆ ขึ้น การพับดอกบัวถวายพระ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธมาช้านาน  และเป็นการบูชาที่ชาวพุทธนิยมเพื่อความสวยงาม  และเป็นการยอมรับน้อมรับคำสอนของพระพุทธเจ้า เสมือนดอกบัวที่แย้มบาน  และจำปาดอง  ภูมิปัญญาไทย กรรมวิธีอันแยบยลของบรรพบุรุษ ทำให้เราสามารถมีดอกจำปาดอกสวยๆไว้ดูนานเป็นสิบๆปี ไม่มีเสื่อมสลาย และใช้ในการบูชาพระ บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
 
ไอคอนสยาม ขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีทางพุทธศาสนาที่สำคัญของไทยในงาน “ไอคอนสยาม ไหว้พระสุขใจ หล่อเทียนไทยให้เรืองรอง”  ระหว่างวันที่  3 – 6  กรกฎาคม 2563  ณ เจริญนคร ฮอลล์  ชั้น M, ไอคอนสยาม ถนนเจริญนคร ทั้งนี้ภายในงานยังคงเน้นมาตรการ เพื่อความปลอดภัย และสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุกท่านได้ทำบุญเสริมสิริมงคลได้อย่างมั่นใจ  ผู้สนใจเข้าร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.  1338  หรือ  www.iconsiam.com
 
ICONSIAM jointly preserves Thai traditional way of life and the significant religious ceremonies by organizing “ICONSIAM Prayer Festival: Candle Light for Thai Fortune” that allows visitors to make merit and pay respect to the sacred Buddha statues from four regions of Thailand as well as admire elaborated carved-wax candle trees and participate in a selection of flower worshipping workshops for wisdom of faith from  today till July 6th , 2020 at Charoennakorn Hall, M Floor
                                                                                                                 
              Bangkok – ICONSIAM, a landmark of Thailand along the Chao Phraya river, organizes “ICONSIAM Prayer Festival: Candle Light for Thai Fortune from July 3-6, 2020 at Charoennakorn Hall, M Floor of ICONSIAM on Charoen Nakhon Road with an aim to preserve Thai traditional religious ceremonies and pay respect to the much-revered Buddha statues on the occasion of Asalha Bucha Day and Buddhist Lent Day. Visitors can participate in the significant religious activities including wax candle casting and paying homage to the sacred four Buddha statues from four regions of Thailand to bring propitiousness to themselves and the family members. This cultural and religious event also marks the Chao Phraya River as the river of rich cultures.
              To give visitors a good chance to pay respect to the sacred objects at “ICONSIAM Prayer Festival: Candle Light for Thai Fortune” and the “Center of Faith” activities, ICONSIAM brings in four much-revered Buddhist statues from the country’s four regions to this grand festival. Luang Phor Sothorn of Wat Sothorn Wararam in Mueang district, Chachoengsao province is regarded as the most auspicious icon of the province. Both the Buddha statue and the temple are not only esteemed and venerated by the faithful from the local people, but also Buddhists from all parts of Thailand. Legend of Luang Phor Sothorn’s miracles and sacredness spread very far among Buddhists making them to take a pilgrimage to the temple and worship Luang Phor Sothorn with the faithful belief that their wishes will be granted regarding success in business, invulnerable aspect, safe journey and good health.
              Next up is Phra Buddha Sihing (replica) from Nakhon Si Thammarat province that was crafted in Maravijaya posture, sitting in lotus crossed-leg pose. The statue comes with plumb body, slightly pronounced chin and nose, thick hair and short extra robe with curling ends. The art style was belonged to “Khanom Tom” style – the unique characteristic of Nakhorn Si Thammarat school of craftsmanship dating back to the 21st Buddhist century in the Ayutthaya era.
              There is also Phra Chiang Saen from Chiang Mai province that is crafted in “the First Singha Style of Phra Chiang Saen” with notable features of lotus crossed-leg sitting stance, plumb body, round face, smiling, big curly hair, wearing orb above top bun, and wearing short extra robe just above breast. The style of Buddha image is related to Phra Buddha Sihing legend in Lanna during the 20th Buddhist century and is thus named “Phra Singha” style. The last Buddha statue to be displayed at ICONSIAM is Luang Phor Phra Sai from Wat Pho Chai, Nong Khai province. According to the legend, the Buddha image was built by Setthathirat, one of the kings of Lan Chang Kingdom, as a representative to worship the Lord Buddha and remind the Buddhists to follow the Buddha’s teaching philosophy. Thousands of faithful Buddhists would gather around Luang Phor Phra Sai, praying for good health, safe travel, and good fortune in career and once their wish is fulfilled, they would redeem their offer.
              Visitors are also invited to join the candle casting with elaborated wax flowers and admire the spectacular sculpture of wax candle tree titled “Candle Light of Wisdom” crafted by master Sukhom Chawarit, the head of the candle craftsmen of Wat Buraparam, Ubon Ratchathani province. His highest skill is recognized thanks to his winning awards for the best wax candle craftsmanship for five consecutive years (1992-1996) in the Candle Craft Competition and the best craftsman of Ubon Ratchathani in 2001.
              The candle tree is elaborately crafted to tell the story of the Lord Buddha’s first teaching after attaining enlightenment to common people, devas, angles and apostles. The candle tree is pulled by a Garuda while the base is carried by the divine ox mounted by the Lord Buddha. Sitting alongside the candle, on the left side is Ya Nagi Si Patuma and on the right side is Phu Sri Suttho Naga. Phu Sri Suttho had once asked to be ordained by the Lord Buddha but was refused since he was a serpent. So Phu Sri Suttho asked for, instead, a Naga ordination before ordination into monkhood. This legend is believed to be the origin of the tradition of Buddhist ordination called Buat Nak that the monks-to-be would be processed around temple, dressing in white, and have to withstand the departure of desire and material world.
              Nong Nooch Garden from Pattaya jointly adds the grandeur to the wax candle tree with an abundance of beautiful flowers to be decorated at the base of the candle tree based on the concept of “Mandala” which, according to Buddhist belief, is the center of universe meaning the resting place of the Lord Buddha. The derivative of this notion also appeared in the architectural aspects of Buddhist temple that a temple would always has four doors, each is correspondent to the compass directions which, in turn, reflect the Buddhist four sublime states of mind including loving kindness, compassion, sympathy and equanimity. In accordance with such belief, the wax candle tree is thus sitting at the center of the circle reaching to four Buddha statues placed in four compass directions, enclosed with flower garden.
              There are also religion-related workshops called “Flower Worshipping: Wisdom of Faith” specially selected for this festival. Visitors can participate in the making of Bu-nga Pad Bohk (Dried Perfumed Flowers in Royal Handled Fan-shaped Sachet). This exquisite handicraft was originally made by people in the royal court with dried perfumed and preserved flowers crafted into the form of a royal long handled fan. The fans are usually offered as auspicious items in worshipping holy spirits and in the rituals as well as used for decoration.
              The making of scented lotus candle is also offered for people who want to make their own candles as the auspicious offerings for the Buddhist statues. Some people love having colored candle according to the colors of their day of birth. Although a variety of scents and shapes are available to choose, the candle in the form of lotus which is the symbol of purity in Buddhism is among the most popular. Lighting candle also represents the power of enlightened wisdom for better living.
              Lotus petal folding that has long been the traditional practice of Buddhists is celebrated in the festival. Folding lotus petal in exquisite style symbolizing the blooming of the lotus and offering to the monks or Buddha statues is a way of worshipping to represent the appreciation of the Buddha’s teaching. Another workshop offers the tip to preserve fresh champak flower to make it lasts longer for worshipping and praying. The local wisdom with witty practice that has passed down from generations to generations is unlocked to show how to preserve flower’s beauty and freshness to last for many years.
            ICONSIAM would like to invite Thai people to support and preserve significant Buddhist traditions by joining “ICONSIAM Prayer Festival: Candle Light for Thai Fortune” from July 3-6, 2020 at Charoennakorn Hall, M Floor of ICONSIAM on Charoen Nakhon Road. The festival is held with the precautionary measure of innovative hygienic and safety practices to boost maximum confidence among participants who wish to make a merit for prosperity in life. Interested people can join the activities with free of charge. For further information, please call 1338 or visit www.iconsiam.com.