สติสัมปชัญญะ...ขณะประกาศลดค่าเงินบาท ของ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีต รมว.การคลัง

สติสัมปชัญญะ...ขณะประกาศลดค่าเงินบาท ของ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีต รมว.การคลัง

 

 

 

เรื่อง  : สุทธิคุณ    กองทอง   ภาพ :  ชวกรณ์  สะอาดเอี่ยม

 

สติสัมปชัญญะ...ขณะประกาศลดค่าเงินบาท ของ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีต รมว.การคลัง

 

 เมื่อครั้งประเทศไทย ประกาศขอความช่วยเหลือ จากกองทุน การเงิน ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คณะผู้บริหารประเทศ ในพรรคร่วม รัฐบาลขณะนั้น โดยการนำของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี มีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เศรษฐกิจ ของประเทศไทยต้องดีขึ้น แต่ความจริง ไม่ได้เป็นอย่างที่หวังไว้ เศรษฐกิจ ของประเทศไทยล่มสลาย เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้บริษัท นับร้อยแห่งต้องปิดตัวลง หนี้สินทั้งภาครัฐ และเอกชนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากนโยบายประกาศลดค่าเงินบาท รวมทั้งมีคนว่างงานนับแสนคน

 

แม้ว่าวันนี้ประเทศไทยดูเหมือนว่าจะผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจมาได้ แต่ มีผู้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคือ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะที่ดำรงตำแหน่ง ขุนคลังเพื่อต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจนั้น เขาทนกับแรง กดดันจากหลายๆ ด้านไม่ไหว ในที่สุดจึงต้องจำใจประกาศลาออกจากตำแหน่ง

 

"ผมไม่เสียใจ และผมก็ไม่ท้อแท้กับอดีตที่ผ่านมา แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ ก็คิดว่าได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว ที่วันนั้นอยู่ได้ไม่เอนเอียง ไปตามกระแส เนื่องจาก เป็นคนมีสุขภาพจิตดี ทำให้มีเวลาคิดไตร่ตรอง อย่างมีสติ โดยมีความเชื่อว่า หากตัดสินใจแบบนี้แล้ว น่าจะเป็นทางออก ที่ดีให้กับประเทศหรือสังคมได้

 

สิ่งสำคัญมากของการเป็นผู้นำจะต้องกล้าตัดสินใจที่เด็ดขาดไม่เช่นนั้น ลูกน้องหรือคนรอบข้างจะไม่มี ความเชื่อมั่นในความเป็นผู้นำ การตัดสินใจครั้งนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีคนได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ อย่างน้อยผมก็สามารถ พูดได้ว่า ผมไม่เคยทุจริตคอรัปชั่นต่อบ้านเมือง พระท่านสอนเอาไว้ให้คิด ตลอดเวลาว่า ทุกข์ สุข ยิ่งยึดยิ่งห่าง ยิ่งผลักยิ่งมา ชีวิตจึงเป็นความไม่เที่ยง" นี่คือคำยืนยันของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรงการคลัง

 

ดร.อำนวย บอกด้วยว่า ขณะที่ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งก็คิดดีแล้ว การเข้ามาเล่นการเมืองเป็นเพียงการทำงานให้กับประเทศ อย่างหนึ่ง จึงไม่ได้คิดว่าเข้ามาแล้วจะต้องเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว คนเราเมื่อรู้จักพอ ไม่ยึดติดกับอำนาจ หรือแก้วแหวนเงินทอง อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ อยู่แล้วเราก็จะมีความสบาย

 

สำหรับพระเครื่องที่ ดร.อำนวย แขวนไว้เพื่อเตือนสติ เพื่อให้เป็น สิริมงคลกับตัวเอง รวมทั้งไม่ได้หวังเพื่อ ให้เกิดปาฏิหาริย์ใดๆ ประกอบด้วย พระสมเด็จ วัดระฆัง และตะกรุดหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่

 

เหตุผลที่ ดร.อำนวย ไม่หวังพึ่งปาฏิหาริย์จากพระเครื่องนั้น เขาได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นดีหรือไม่ดีขึ้น อยู่กับการกระทำของคนเรามากกว่า หรือที่เรียกว่า กรรมในปัจจุบัน เป็นตัวกำหนดความเป็นไปในอนาคต ถ้าปัจจุบันทำกรรมดี อนาคตก็จะดีด้วย ถ้าทำกรรมไม่ดีอนาคตก็จะไม่ดีไปด้วย"

 

ส่วนเรื่องการทำบุญนั้น ดร.อำนวย บอกว่า ทำตามกำลังศรัทธา และจะเลือก ทำให้กับองค์กร สาธารณกุศล มากกว่าทำบุญกับ พระที่วัด ไม่ว่า จะเป็นประธานมูลนิธิเพื่อ การวิจัยแห่ง ประเทศไทย เป็นการใช้ความรู้และ ประสบการณ์ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ในด้านธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ให้บริการ กับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

 

นอกจากนี้แล้วยังรับเป็นประธานมูลนิธิหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ส่งเสริมสนับสนุนจิตรกร ของไทยให้มีโอกาสได้ใช้ ความสามารถเทียบเท่าสากล และยังบริจาคเงินเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา ทั้งงานทอดผ้าป่าสามัคคีหรืองานทอดกฐิน

 

เขาบอกด้วยว่า แม้ไม่ได้เป็นคนปฏิบัติธรรมนั่งวิปัสสนากรรมฐาน แต่ส่วนตัว ก็มีความศรัทธาในคำสอนของพระเถระ หลายรูปเหมือนกัน อาทิ ท่านพุทธทาส โดยท่านสอนเอาไว้ว่า ธรรมะ คือ ธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ การปฏิบัติตามกฎ ของธรรมชาติ การได้ผลจากการ ปฏิบัติตามกฎ ของ ธรรมชาติ เนื่องจากธรรมชาติของสรรพสิ่งในโลกนี้ มีธรรมชาติ อันหนึ่งที่ว่า เวลาสัตว์ไปทำอะไรเราไม่เคยบอกมันว่าบาป หรือบุญ มันทำตามธรรมชาติ ของสัตว์ แต่ว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่ว่า มีความดี ความชั่ว มีกุศล มีอกุศล ตรงนี้เมื่ออ่านอย่างไตร่ตรอง แล้วก็ยิ่งทำ ให้ฉุกคิด ไม่ได้ว่า คนเราควรทำ อะไรให้กับสังคมได้ไม่น้อยทีเดียว

 

จากข้อความดังกล่าว ได้มีการอธิบาย ให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า มนุษย์มีนามธรรม ที่เป็นคุณค่า สามารถเข้าถึง ที่เรียกว่า "จิตใจสูง" มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีจิตใจสูง โดยจิตใจสูงที่ว่านี้ก็แปลว่า รับคนอื่นได้ ทำเพื่อคนอื่นได้ ซึ่งสัตว์มันจะ ทำเพื่อตัวของมันเอง ส่วนที่เป็นสัตว์ของมนุษย์ก็คือ ความเห็นแก่ตัว ความมีกิเลส แต่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติสองด้าน ซึ่งมนุษย์เราถึงจะเห็น แก่ตัวก็จริง แต่ก็ไม่ได้เห็นแก่ตัวตลอดเวลา ในช่วงที่เราไม่เห็นแก่ตัว จะมีความสุขที่เราทำเพื่อส่วนรวม ประดุจบรรลุนิพพานนั่นเอง และ "นิพพานชิมลอง" ท่านพุทธทาส ยังพูดว่า นิพพานมันอยู่ ที่ปลายจมูก มันไม่ได้อยู่ไกล เพราะฉะนั้นจึงเป็นคุณสมบัติที่มีแต่ มนุษย์เท่านั้น อดีตรมว.การคลัง ได้เสนอแนวคิดการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจท่ามกลาง กระแสวิกฤติของโลกที่เกิดขึ้นมากมาย อยู่ในเวลานี้ว่า คำสอนของ ท่านพุทธทาสยังนำมาปรับใช ้ได้ตลอดเวลา ตัวอย่าง ๓ ข้อที่ท่านเขียน เอาไว้ให้กับคนเราทุกคนได้อ่านเตือนสติตัวเอง นั่นก็คือ

 

๑.ขอให้ศาสนิกเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน เป็นความเจริญ ทางจิตวิญญาณ 
๒.ขอให้มีความร่วมมือทาง ศาสนา และ 
๓.ขอให้มนุษย์ถอนตัว ออกจากวัตถุนิยม เป็นมนุษย์ ที่มีจิตใจสูง รักคนอื่น รักธรรมชาติ จากตรงจุดนี้ ก็จะเกิดความสุขที่แท้จริง ลดตัวให้อยู่ต่ำกว่าที่สูงบ้าง จิตก็เป็นอิสระ มนุษย์ ก็เข้าไปสู่ภพภูมิใหม่ที่สูงขึ้น

"ผมคิดว่าคำสอนเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง และถ้าคนรอบข้าง ได้อ่านแล้วก็จะทำให้ใช้ชีวิตกันอย่างไม่ประมาท ท่านพุทธทาสยัง สอนเอาไว้ในหนังสือนิทานปรัชญาธรรมจากสวนโมกข์ ท่านพุทธทาส ภิกขุ ว่า มนุษย์ควรจะแตกต่างจากสัตว์ หากมนุษย์กับสัตว์เหมือนกันแล้ว จะเรียกว่ามนุษย์ได้อย่างไร มนุษย์ควรจะได้มีการพัฒนาตนเองให้เข้าสู่ ความสมบูรณ์ และเพื่อที่มนุษย์จะได้ไม่ลุ่มหลงโลกเกินไป มนุษย์ควรจะ ได้ถามตนเองว่าเกิดมาทำไม เพียงคำถามง่ายๆ แบบนี้ผมคิดว่าบางคน จะตอบยังต้องคิดหนักอยู่เหมือนกัน ผมจึงเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมว่า คนเราจะมีชีวิตอยู่ในสังคมต้องมีคุณธรรม" ดร.อำนวย กล่าวทิ้งท้าย