ปตท.สผ.นำ 70 เยาวชนภาคอีสานเรียนรู้คุณค่าป่าจากห้องเรียนธรรมชาติ ในค่าย PTTEP Teenergy ปีที่ 5

ปตท.สผ.นำ 70 เยาวชนภาคอีสานเรียนรู้คุณค่าป่าจากห้องเรียนธรรมชาติ ในค่าย PTTEP Teenergy ปีที่ 5

 

 

 

 

 

ปตท.สผ.นำ 70 เยาวชนภาคอีสานเรียนรู้คุณค่าป่าจากห้องเรียนธรรมชาติ
ในค่าย PTTEP Teenergy ปีที่ 5

 


กรุงเทพฯ – ปตท.สผ. นำเยาวชนภาคอีสานซึมซับคุณค่าผืนป่าจากห้องเรียนธรรมชาติภูฝอยลม และศึกษานวัตกรรมขยะสู่พลังงาน “บ่อก๊าซชีวภาพ” (Biogas) เรียนรู้จากกิจกรรม “ดักมันเพื่อโลก” สร้างนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์ ในค่าย PTTEP Teenergy ปีที่ 5 ค่ายสุดท้ายของปีนี้


PTTEP Teenergy ปีที่ 5 ค่ายภาคอีสาน ซึ่งเป็นค่ายสุดท้ายของปีนี้จัดขึ้นที่โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูฝอยลม จ.อุดรธานี ในวันที่ 19-21 ตุลาคม 2561 โดยนำเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี จากภาคอีสาน จำนวน 70 คน มาร่วมค่ายเพื่อเรียนรู้ความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนธรรมชาติ ซึมซับคุณค่าของป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ และนำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนไปสู่การลงมือปฏิบัติจริงภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนเพื่อโลก - Change for Climate” โดยน้อง ๆ เยาวชนจะได้ศึกษาแนวคิดและวิธีการจัดการของเสียในชุมชนให้เกิดประโยชน์ในโครงการ “ขยะสู่พลังงาน” ที่บ้านทับไฮ ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการจัดทำบ่อก๊าซชีวภาพ (Bio Gas) แก้ไขปัญหาขยะและมลภาวะในชุมชน และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซแอลพีจี อีกทั้ง ยังสามารถนำกากมูลสัตว์ที่เหลือในบ่อก๊าซชีวภาพมาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย


นอกจากนั้น น้อง ๆ ยังจะได้เรียนรู้การสร้างระบบกรองของเสียและดักจับไขมันจากวัสดุธรรมชาติผ่านนวัตกรรมสีเขียว “ดักมันเพื่อโลก” โดยการสร้างระบบกรองของเสียและการดักจับไขมันจากวัสดุธรรมชาติมาใช้กรองน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ก่อนที่จะนำไปทิ้ง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับขึ้นสิ่งแวดล้อม และ น้อง ๆ ยังได้เรียนรู้การสร้างแนวกันไฟบนภูฝอยลม เพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าในช่วงฤดูแล้ง


กิจกรรมต่าง ๆ ในค่าย PTTEP Teenergy ซึ่ง ปตท.สผ. จัดทำขึ้นในทุก ๆ ค่าย ทั้งค่ายภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิดให้กับน้อง ๆ ในการสร้างสรรค์โครงการเพื่อสังคม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชนของตน ซึ่งโครงการที่ได้รับการคัดเลือก ปตท.สผ. จะสนับสนุนทุนในการดำเนินโครงการ ทุนละ 10,000 บาท รวม 100,000 บาทต่อภาค เพื่อให้เยาวชนนำไปจัดทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมในชุมชนของตนเอง ช่วยลดปัญหาของชุมชนตามบริบทของแต่ละพื้นที่


แม้ว่าค่ายทั้ง 4 ภาค ของโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 5 ซึ่งมีเยาวชนมาร่วมค่ายรวม 280 คนทั่วประเทศจากผู้สมัครกว่า 3,000 คนในปี 2561 จะเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ความมุ่งหมายของ ปตท.สผ. ที่ ต้องการปลูกฝังแนวคิดและจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ให้กับเยาวชนยังคงดำเนินต่อไป เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนนักอนุรักษ์ในการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนรวมพลังความคิด และลงมือทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนและสังคมในวงกว้างให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

 

เกี่ยวกับโครงการ PTTEP Teenergy
ปตท.สผ. ได้ริเริ่มโครงการ PTTEP Teenergy ในรูปแบบค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2557 โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานร่วมคัดเลือกเยาวชน จากบทความเกี่ยวกับแรงบันดาลใจและแนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เยาวชนเขียนตามขั้นตอนการรับสมัคร ปัจจุบัน มีเยาวชนที่ผ่านการอบรมในโครงการไปแล้วกว่า 500 คน มีโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เยาวชนนำไปดำเนินการจริงกว่า 20 โครงการ เยาวชนหลายคนกลายเป็นแกนนำของกลุ่มอนุรักษ์ในโรงเรียน ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้ สร้างเครือข่ายอนุรักษ์และจัดกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน สามารสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์อีกกว่า 16,000 คน เพื่อเป็นแนวร่วมอนุรักษ์ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่ชุมชนและประเทศชาติในอนาคต

โครงการ PTTEP Teenergy ดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ 3 ป. คือ ปลูก-ปั้น-เปลี่ยน โดยเชื่อมั่นว่า การปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้นอกห้องเรียน รวมถึงการปั้นเยาวชนให้มีความรู้สู่การหล่อหลอมหัวใจอนุรักษ์ และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีความพร้อมในการทำประโยชน์ให้กับสังคม จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับเยาวชนในการก้าวออกไปทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น ด้วยการรวมพลังความคิดและลงมือทำกิจกรรมหรือโครงการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิด “นวัตกรรมสีเขียว” ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของค่ายไปต่อยอดดำเนินการในพื้นที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
Website: http://www.pttep.com
Facebook: http://www.facebook.com/pttepplc