Wikibon ฟังธง! งานเข้ารหัสครบวงจรระดับเอนเทอร์ไพรซ์ประหยัดที่สุด

Wikibon ฟังธง! งานเข้ารหัสครบวงจรระดับเอนเทอร์ไพรซ์ประหยัดที่สุด

 

 

 

Wikibon ฟังธง! งานเข้ารหัสครบวงจรระดับเอนเทอร์ไพรซ์ประหยัดที่สุด เร็วที่สุด

ด้วยเซิร์ฟเวอร์โซลูชั่นที่ใช้ชิป Oracle SPARC M7

 

 

 

ปัจจุบันงานเข้ารหัสการใช้งานข้อมูลระหว่างแอพพลิเคชั่นเป็นเรื่องสำคัญของทุกการใช้งานคลาวด์และ IaaS ประเด็นสำคัญอยู่ที่การลดต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบที่จะไม่ถูกลดทอนลง การแปลงรหัสกลับไปมาสร้างปัญหาล่าช้าและไม่ปลอดภัย ทางเลือกสุดท้ายคือการเข้ารหัสข้อมูลแบบสมบูรณ์แบบครบวงจร แต่ต้องบรรลุเป้าหมายให้ได้ด้วยต้นทุนต่ำสุดเช่นกัน

 

 

เว็บไอทีดัง Wikibon ชี้ผลการทดสอบสมรรถนะล่าสุดของระบบการเข้ารหัสเมื่อเทียบกับต้นทุนของเทคโนโลยี ค่าไลเซนส์และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ชิป  SPARC M7 เอาชนะเหนือคู่แข่งทั้งหมด ทั้ง x86 และ POWER8  โดยไม่มีปัญหาการหน่วงระบบหรือความล่าช้าของการใช้งานแอพพลิเคชั่น

 

 

โดยรายงานของ Wikibon ชี้ชัดว่า โซลูชั่นที่ใช้งาน Oracle SPARC M7 มีต้นทุนการดำเนินงานในรอบสามปีประหยัดกว่า โซลูชั่น x86 สามเท่าตัวและประหยัดเหนือกว่าโซลูชั่น POWER8 เท่าตัว ยิ่งไปกว่านั้นชิป SPARC M7 ยังมีคำสั่งการทำงานที่เชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์แบบกับดาต้าเบสออราเคิลทำให้การหน่วงเวลาของการเข้ารหัสที่ใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ออราเคิลแทบจะเป็นศูนย์ ทำให้รักษาความปลอดภัยได้โดย ไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้

 

 

สำหรับบริษัทผู้ใช้งานในไทย โซลูชั่นOracle SPARC M7   เหมาะกับการใช้งานกับระบบคลาวด์ และกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการแบบ Infrastructure as a Service (IaaS) โดยบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย หรือ INET  เปิดให้บริการคลาวด์ในแบบ  SPARC on Cloud  ที่ให้สมรรถนะการทำงานที่เหนือกว่าในแบบเดียวกันนี้

 

 

***ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของผลการศึกษาจาก Wikibon ได้ที่ http://wikibon.com/encrypting-oracle-workloads-becomes-cost-effective-and-mandatory/

# # #