กรมวิชาการเกษตร ร่วมมือผู้ทรงคุณวุฒิ จัดประชุมสำรวจความเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข 6 พระราชบัญญัติภายใต้ความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตร ร่วมมือผู้ทรงคุณวุฒิ จัดประชุมสำรวจความเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข 6 พระราชบัญญัติภายใต้ความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร

  

 

กรมวิชาการเกษตร ร่วมมือผู้ทรงคุณวุฒิ จัดประชุมสำรวจความเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข 6 พระราชบัญญัติภายใต้ความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร
 
 
 
29 ตุลาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานเปิดงานโครงการ : การศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของภาคประชาชนต่อการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติภายใต้ความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร โดยมี นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพ และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา , นางสุรางคณา วายุภาพ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ,นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ,นายจิรากร โกศัยเสรี อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร) ,นายชัยศักดิ์ รินเกลื่อน ผอ.สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ,นางสาวธิดากุญ แสนอุดม ผอ.สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมย่อย ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร
 

 

การดำเนินงานเชิงรุกของกรมวิชาการเกษตรที่มององค์รวมของการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ ด้วยการศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของภาคประชาชนเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น หรือสะท้อนข้อห่วงกังวล รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติในเวลาไล่เลี่ยกันครบทั้ง 6 ฉบับ โดย 3 พระราชบัญญัติ ซึ่งได้มีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในวันนี้ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 และพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 ส่วนอีก 3 พระราชบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งได้มีการดำเนินการเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
 
 
วันนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดการขจัดกฎหมายที่ไม่จำเป็น หรือการกิโยตินกฎหมาย และให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและทบทวนกฎหมายให้ทันสมัย ควบคู่กับการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ อันเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาตรการหนึ่ง รวมทั้งต้องทำให้เกิดธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และความเป็นธรรมให้กับประชาชน และด้วยภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรถือเป็นกระทรวงหลักที่ต้องทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) อันมาจากพืชผลการเกษตร และขณะนี้ ทุกประเทศกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ทั้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (Climate Changes) ตลอดจนวิกฤติการณ์ที่เปรียบเสมือนภัยคุกคามใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (Emerging Threats) ทำนองเดียวกับผลกระทบจาก Covid-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งภัยจากสงครามหรือความตึงเครียดในหลายๆ ภูมิภาคจากภูมิรัฐศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความเสี่ยงว่าจะส่งผลกระทบต่อการเกษตรและต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ปรับอาจขาดแคลนหรือมีราคาแพงมากขึ้น เช่น ปุ๋ย และสารเคมีที่จำเป็น อีกทั้งยังคาดหมายได้ต่อไปว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นนั้น อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
 
 
อย่างไรก็ตาม ในการรับฟังความเห็นและการประชุม Focus Group ครั้งนี้ เป็นระยะแรกเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประกอบการยกร่างกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการใดๆ เพื่อประเมินผลกระทบของร่างกฎหมาย และจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในระยะถัดไป รวมทั้งเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนประเทศไทยจะเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับที่สำคัญๆ เช่น อนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (International Convention for the Protection of New Varieties of Plants) UPOV 1991 เป็นต้น