ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการงวดครึ่งปีแรก ปี 67 กำไร 26,139 ล้านบาท
ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการงวดครึ่งปีแรก ปี 67 กำไร 26,139 ล้านบาท
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 2 ปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง แม้จะมีแรงส่งอยู่บ้างจากการทยอยเบิกจ่ายเงินของภาครัฐ หลังจากที่ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2567 และการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนยังเผชิญแรงกดดันจากด้านต้นทุน ภาระหนี้สิน รวมถึงรายได้ที่ยังฟื้นตัวในกรอบจำกัด สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2567 นั้น แม้เศรษฐกิจไทยอาจประคองการเติบโตได้ตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และการส่งออกที่จะได้อานิสงส์เมื่อเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่คงต้องติดตามผลกระทบต่อภาคธุรกิจจากแนวโน้มต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นตามค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงรายละเอียดและความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในช่วงที่เหลือของปี 2567 ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยต่าง ๆ ธนาคารกสิกรไทยยังคงมุ่งเน้นการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายภายใต้บริบทของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน
ในไตรมาส 2 ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 12,653 ล้านบาท ลดลง 6.18% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน หลัก ๆ จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลง ในขณะที่รายได้สุทธิจากการรับประกันภัยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ จำนวน 21,888 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.67% โดยยังอยู่ภายในกรอบการบริหารจัดการของธนาคาร และได้พิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จำนวน 11,672 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน และรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนอยู่ที่ระดับ 151.87%
รายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 50,429 ล้านบาท โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจำนวน 1,060 ล้านบาท หรือ 2.75% เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ฟื้นตัวช้า และไม่ทั่วถึง ประกอบกับการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันที่เป็นกลุ่มเปราะบางให้สามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากในช่วงก่อน รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงจำนวน 221 ล้านบาท หรือ 2.66% ส่วนหนึ่งจากค่าธรรมเนียมรับจากธุรกิจบัตร และค่าธรรมเนียมรับจากการรับรองตั๋ว อาวัล และค้ำประกัน แม้ว่ารายได้สุทธิจากการรับประกันภัยปรับตัวดีขึ้น ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 21,888 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทางการตลาดและการดำเนินงานตามทิศทางธุรกิจ รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้า และส่วนหนึ่งจากเงินช่วยเหลือแทนความห่วงใยให้แก่พนักงาน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว โดยธนาคารมีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายพนักงานภายใต้องค์รวมของกรอบงบประมาณที่วางไว้ ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 43.40%
สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 57,981 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.36% จากรายได้จากการดำเนินงานสุทธิที่เติบโตสูงกว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เป็นผลจากการที่ธนาคารและบริษัทย่อยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.35% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยังคงเป็นการตั้งสำรองฯ ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง รองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ทำให้กำไรสุทธิจำนวน 26,139 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.26%
รายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 100,581 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.27% จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่มีจำนวน 75,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.18% ตามภาวะตลาด โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.73% ทั้งนี้ ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อในไตรมาส 2 ปี 2567 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันที่เป็นกลุ่มเปราะบางให้สามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเติบโต หลัก ๆ จากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน และค่าธรรมเนียมรับจากการรับรองตั๋ว อาวัล และค้ำประกัน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการลงทุน และรายได้จากการปริวรรตเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 42,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.82% จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มตามปริมาณธุรกิจ และค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,247,540 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปี 2566 จำนวน 36,016 ล้านบาท หรือ 0.84% อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิอยู่ในระดับทรงตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง ประกอบกับการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพสะท้อนการบริหารความสมดุลของความเสี่ยงและผลตอบแทนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.18% ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 19.42%
KASIKORNBANK announced the first half of 2024 net profit of Baht 26,139 Million
Ms. Kattiya Indaravijaya, Chief Executive Officer of KASIKORNBANK, said Thai economic activity in the second quarter of 2024 showed signs of a slow and uneven recovery, despite some momentum from the gradual disbursement of government spending after the 2024 Budget Act came into effect in late April 2024, and the expansion of the tourism sector. Manufacturing production and household spending were challenged by production costs, debt burdens, and incomes that have not fully recovered. For the remainder of 2024, the Thai economic recovery will likely stay on track due to the acceleration of budget disbursement and exports that will benefit from a low base in the same period last year. However, business sector impacts from rising costs, following increases in energy and minimum wage costs, must be monitored together with any clarification of details of the government’s economic stimulus measures for the remainder of 2024.
Amidst the challenges of various factors, KBank continues to focus on 3+1 strategic priorities to deliver sustainable value to all stakeholders in unpredictable economic environment.
In the second quarter of 2024, KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 12,653 million, a decrease of 6.18% compared with the preceding quarter, mainly due to net interest income and net fees and service income decreased, while net premiums earned - net gradually recovered. Other operating expenses of Baht 21,888 million, an increase of 5.67%, remain under cost and productivity management framework of the Bank. KBank set aside expected credit loss (ECL) of Baht 11,672 million, which was in line with the preceding quarter, and in alignment with the on-going prudent approach that ECL was at suitable level, reflecting the current situation and supporting uncertainties of various factors that may affect the economic recovery. Coverage ratio increased from the previous quarter, and was at 151.87%.
Net total operating income was Baht 50,429 million, with a decrease in net interest income of Baht 1,060 million or 2.75%, due to a slow and uneven overall economic recovery along with revamping credit process to increase efficiency in granting quality new loans. Moreover, the Bank reduced interest rate on loans to help current vulnerable customers to recover better and increased interest rate on deposits in the previous period. Net fees and service income decreased by Baht 221 million or 2.66%, due to fees from card business and fees from acceptance, aval and guarantee, although net premiums earned - net gradually recovered. Other operating expenses of Baht 21,888 million, increased from marketing activities aligning with the business direction, IT-related expenses to support the expansion of customers service channels, and one-time employee subsidy measure by managing overall employee expenses within integrated budget management. As a result, cost to income ratio stood at 43.40%.
Operating performance for the six month of 2024, KBank and its subsidiaries reported operating profit before expected credit loss and income tax expense of Baht 57,981 million, an increase of 7.36% from net total operating income that grew higher than other operating expenses as a result of the Bank and its subsidiaries’ continued cost management and productivity improvement. As a result, cost to income ratio stood at 42.35%, a decrease from the same period of 2023. Moreover, expected credit loss (ECL) decreased from the same period of 2023 in alignment with the on-going prudent approach and supporting uncertainties of various factors that may affect the economic recovery. As a result, net profit was amounting to Baht 26,139 million, an increase of 20.26% from the same period of 2023.
Net operating income was Baht 100,581 million, an increase of 6.27%, mainly from net interest income of Baht 75,996 million which increased by 6.18% in line with market conditions. Net interest margin ratio stood at 3.73%. The Bank reduced interest rate on loans in the second quarter of 2024 to help current vulnerable customers to recover better. Net fees and service income grew mainly due to fees from fund management, and fees from acceptance, aval and guarantee. Moreover, investment income and revenue from foreign exchange transactions also increased, partly in line with the recovery of tourism. Other operating expenses of Baht 42,600 million, an increase of 4.82%, from marketing expenses which were in line with business volume, and IT-related expenses to support the expansion of customer service channels.
As of 30 June 2024, KBank and its subsidiaries’ total assets were Baht 4,247,540 million, a slight decrease of Baht 36,016 million or 0.84% over the end of 2023. However, net loans remained stable, which was in line with a slow and uneven overall economic recovery and along with the Bank’s focus on revamping credit process to increase efficiency in granting quality new loans in order to reflect an appropriate risk and return level. NPL gross to total loans was 3.18%, which was slightly lower compared with the previous quarter. In addition, as of 30 June 2024, KASIKORNBANK FINANCIAL CONGLOMERATE’s Capital Adequacy Ratio (CAR) according to the Basel III Accord remained strong at 19.42%.