“NextGen Aging – Shaping a Smart Future for an Aging Society”

“NextGen Aging – Shaping a Smart Future for an Aging Society”

 

 

 

 

 


“NextGen Aging – Shaping a Smart Future for an Aging Society”


ครั้งแรกของการประชุมนานาชาติที่จะช่วยกำหนดคุณภาพของสังคมผู้สูงวัยในประเทศไทย


การประชุม NextGen Aging ครั้งนี้จะตอบคำถามอย่างตรงประเด็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้แก่


· ความร่วมมือในการหาทางออกให้กับให้ประเทศไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่กำลังเข้าสู่สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์

· นโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในหลากหลายระดับ เช่น การพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ และบทบาทของเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคดิจิตอล

· อัตราการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงวัยของประเทศไทยจะส่งผลต่อการพัฒนาความต้องการ และโครงสร้างพื้นฐานของผู้สูงอายุอย่างไร

 

กรุงเทพฯ – 7 พฤศจิกายน 2561: สถาบันคีนันแห่งเอเชีย ร่วมกับ University of North Carolina’s Kenan-Flagler School of Business and the Gillings School of Global Public Health จัดงานเสวนาระดับโลก “NextGen Aging – Shaping a Smart Future for an Aging Society” ซึ่งเป็นงานประชุมนานาชาติที่มุ่งเพิ่มความรู้และความเข้าใจถึงบทบาทของเทคโนโยลีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ

 

“จากการที่เราสั่งสมประสบการณ์ด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมของประเทศไทยและระดับภูมิภาคมายาวนานกว่า 22 ปี ผนวกกับพันธมิตรที่เข้มแข็งของเราทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ครั้งนี้เรานำความรู้และความเชี่ยวชาญมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือประเทศไทยให้สามารถก้าวผ่านความท้าทายและปัญหาของสถานการณ์การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ จากการศึกษาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าภายในปี 2574 คาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมอุดมไปด้วยผู้สูงอายุ ด้วยจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน การจะแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุนั้น จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มโอกาสและความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในหลากหลายรูปแบบ เช่น การดูแลสุขภาพ และ การบริการด้านการเงิน เป็นต้น การประชุมครั้งนี้ พันธมิตรของเราทั้งในประเทศและต่างประเทศจะมาแบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ด้านการแพทย์ และร่วมกันค้นหาแนวทางใหม่เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุในประเทศไทย” นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการและรองประธานกรรมการของสถาบันคีนันแห่งเอเชีย กล่าวแสดงเจตจำนงของการจัดงานในครั้งนี้

 

ด้วยความร่วมมือของพันธมิตรที่เข้มแข็งทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ และเมืองไทยประกันชีวิต ได้ให้การสนับสนุนการจัดงานเสวนาระดับโลกในครั้งนี้และมีตั้งใจที่จะแบ่งปันความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข การเงิน และความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ของสังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

ด้าน ดร. ปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ “รัฐบาลได้ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดตั้งให้เป็นวาระระดับชาติ เพื่อการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น นโยบายเงินบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ยังมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในหลากหลายด้าน ซึ่งการประชุมครั้งนี้รวบรวมปัจจัยและองค์ประกอบสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีความตั้งใจที่จะปฏิรูปสังคมผู้สูงอายุให้ดีขึ้นผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันทันสมัย”

 

นอกจากนี้ทางด้านสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) โดย นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ กล่าวเสริมว่า “จากสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี 2560 มีจำนวน 11.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.9 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็กและจะมีประชากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปปีละประมาณ 1 ล้านคน ทุกวันนี้ประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุ อายุระหว่าง 40 – 59 ปี ยังคงไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต โดยเฉพาะในมิติด้านสุขภาพ และความมั่นคงทางรายได้เมื่อยามสูงอายุ รวมถึงผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีโรคประจำตัว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในทุกมิติ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของสังคม เช่น อัตราการเกิดที่น้อยลงส่งผลถึงการขาดแคลนวัยแรงงานในอนาคต”

 

ในแง่ของทางเทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย

นพ. บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ กล่าวว่า บริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมระดับโลกครั้งนี้ เพื่อแบ่งปันความรู้และงานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาดูแลผู้สูงอายุ” โดยในแง่ของการเตรียมความพร้อมของ ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ปฯ เราได้เริ่มโครงการ ‘Jin Wellbeing County’ ภายใต้คอนเซปต์เมืองแนวคิดใหม่เพื่อวัยเกษียณ นำนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพแนวใหม่ หุ่นยนต์อัจฉริยะ Alexa Dream with Robots สายรัดข้อมืออัจฉริยะและจิณณ์ แอพพลิเคชั่น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในโครงการ นอกจากนี้ยังมี ‘โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง’ ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการตรวจสุขภาพที่แม่นยำและศูนย์การรักษาโรคเฉพาะทาง สำหรับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ก็ประกอบไปด้วย เครื่องมือ ABI (Ankle-Branchial Index) วัดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเทียบกับอายุ, Body Composition Analyzer ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายParo Robot หุ่นยนต์เพื่อนแก้เหงาผู้สูงอายุ Apple Watch Series 4 สำหรับ monitor และแจ้งเตือนด้านสุขภาพอย่างละเอียด

 

Dr. Noel P. Greis ตำแหน่ง Director of the Center for Digital Enterprise and Innovation จาก UNC’s Kenan-Flagler Business School อธิบายถึงเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่ออนาคตของผู้สูงวัย “นวัตกรรมในยุคปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่จะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการลดข้อจำกัดของพวกเขาหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้มีการนำผลิตภัณฑ์มากมายที่สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถติดต่อและเชื่องโยงกับครอบครัวและเพื่อนได้ ทำให้พวกเขาสามารถอาศัยอยู่ที่บ้านและชุมชนได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังมีสุขภาพที่แข็งแรง เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ได้พัฒนาควบคู่กับระบบมอร์นิเตอร์ตามที่พักอาศัย ไม่ใช่แค่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถอาศัยอยู่ในบ้านของตนเองได้อย่างปลอดภัย แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับสังคมอีกด้วย นวัตกรรมด้านดิจิตอลที่สามารถช่วยตรวจสอบสุขภาพทางไกลได้อย่างเสมือนจริงสามารถช่วยลดต้นทุนการดูแลสุขภาพและช่วยให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านได้นานขึ้น”

 

นาย สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ปรับตัวและกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจภายใต้แนวคิด “Customer @ the Heart” ด้วยนโยบาย “ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric)” และใช้มุมมองการคิดนวัตกรรมประกันชีวิตแบบ Outside In เข้าถึงความต้องการที่แท้จริงและตอบโจทย์ลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มลูกค้าที่มีความใส่ใจรักสุขภาพ (Health Awareness) เป็นหลัก ด้วยการนำเสนอการบริการที่หลากหลาย เช่น บริการ “MTL Global Connect” กรณีลูกค้าเจ็บป่วยต่างแดน สามารถเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องสำรองจ่าย, บริการ “Health at Home” ที่บริษัทฯได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทสตาร์ทอัพของไทย Health at Home ให้บริการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน โดยทีมงานผู้ดูแลที่มีมาตรฐาน พร้อมด้วยระบบ Real-time Analytics เพื่อช่วยให้ครอบครัวของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถติดตามการดูแลรักษาได้ตลอดเวลา